เมนู

ศัพท์ว่า ทานิ ที่มีอยู่ในคำว่า โสทานิ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาต.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า โส ปน ตฺวํ ที่แปลว่า ก็คุณนั้น (ดูซูบผอม).
หลายบทว่า กจฺจิ โน ตฺวํ คือ กจฺจิ นุ ตฺวํ ที่แปลว่า คุณ
(จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์) หรือหนอ?
บทว่า อนภิรโต แปลว่า ผู้มีความกระสัน, อธิบายว่า ผู้ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะคัดค้าน ความไม่ยินดีนั้นนั่น
แล จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ! ความจริง ไม่ใช่ว่าผมจะไม่ยินดี
(ประพฤติพรหมจรรย์). อธิบายว่า ก็ผมยินดีทีเดียวในการเจริญกุศลธรรม
อันยิ่ง.
หลายบทว่า อตฺถิ เม ปาปกมฺมํ กตํ ความว่า บาปกรรมอย่างหนึ่ง
ที่ผมทำไว้ มีอยู่ คือผมได้รับอยู่ ได้แก่มีปรากฏแก่ผมอยู่เป็นนิตยกาล ดุจมี
อยู่เฉพาะหน้าฉะนั้น.
ถัดจากนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะประกาศ (เปิดเผย) บาปกรรม
ที่ตนทำแล้วนั้น (แก่เหล่าภิกษุสหาย) จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ปุราณทุต-
ยิกาย
ดังนี้.

[พวกภิกษุสหายเห็นด้วยว่ากรรมนั้นให้เกิดความรำคาญได้]


หลายบทว่า อลํ หิ เต อาวุโส สุทนฺน กุกฺกุจฺจาย ความว่า
อาวุโส สุทินน์! บาปกรรมนั่นของคุณ พอที่ คือสามารถจะให้คุณรำคาญได้.
มีคำอธิบายว่า เป็นของสามารถจะให้เกิดความรำคาญได้.
ในคำว่า ยํ ตฺวํ เป็นต้น พึงทราบการเชื่อมความดังนี้ว่า คุณจัก
ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความชั่วใด, ความชั่วนั้นของคุณพอ
ที่จะให้คุณรำคาญได้.