เมนู

บทว่า ธมนิสณฺฐตคตฺโต ได้แก่ ผู้มีตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น
นั่นเอง เพราะความเป็นผู้มีเนื้อและโลหิตสิ้นไป.
บทว่า อนฺโตมโน ได้แก้ ผู้มีความคิดตั้งอยู่ภายในนั่นเอง (ผู้มีเรื่อง
ในใจ) ด้วยอำนาจความระทมถึง. อนึ่ง สัตวโลกแม้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้มี
ใจอยู่ในภายในนั่นเอง (คิดอยู่แต่ในใจ) ด้วยอำนาจความเป็นไป อาศัยหทัย-
วัตถุ.
บทว่า ลีนมโน ได้แก่ ผู้ทอดทิ้งธุระ คือผู้ไม่มีความขวนขวายใน
อุเทศ ปริปุจฉา กรรมฐาน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และการบำเพ็ญวัตร
และระเบียบวัตร. ชื่อว่า ผู้มีใจหดหู่ เพราะอรรถว่า ใจของผู้นั้นหดหู่ คือ
งอกลับด้วยอำนาจความเกียจคร้านโดยแท้ทีเดียว.
บทว่า ทุกฺขี ได้แก่ ผู้มีทุกข์ เพราะทุกข์ทางใจ.
บทว่า ทุมฺมโน ได้แก่ ผู้มีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว หรือผู้มีใจ
ผิดรูป เพราะความเป็นผู้ถูกโทมนัสครอบงำ.
บทว่า ปชฺฌายี ความว่า ท่านพระสุทินน์ คิดถึงความชั่วที่ตนทำ
แล้วนั้น ๆ ด้วยอำนาจความเดือดร้อน (ซบเซา) ดุจลาตัวที่เขาคัดออกจากภาระ
แล้ว ( ซบเซาอยู่) ฉะนั้น.

[พวกภิกษุสหายถามท่านพระสุทินน์ถึงความซูบผอม]


สองบทว่า สหายกา ภิกฺขู ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ถามถึงความ
ผาสุก ที่เป็นผู้คุ้นเคยของท่านพระสุทินน์ เห็นพระสุทินน์นั้น ผู้เป็นแล้ว
อย่างนั้น ซึ่งปล่อยให้วันคืนผ่านไปอยู่ ด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือการ
คลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ จึงได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสุทินน์นั้น.
บทว่า ปินินฺทฺริโย ความว่า ผู้มีอินทรีย์มีจักษุเป็นต้นเต็มเปี่ยม
เพราะโอกาสซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งประสาทสมบูรณ์.

ศัพท์ว่า ทานิ ที่มีอยู่ในคำว่า โสทานิ ตฺวํ นี้ เป็นนิบาต.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า โส ปน ตฺวํ ที่แปลว่า ก็คุณนั้น (ดูซูบผอม).
หลายบทว่า กจฺจิ โน ตฺวํ คือ กจฺจิ นุ ตฺวํ ที่แปลว่า คุณ
(จะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์) หรือหนอ?
บทว่า อนภิรโต แปลว่า ผู้มีความกระสัน, อธิบายว่า ผู้ปรารถนา
ความเป็นคฤหัสถ์.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะคัดค้าน ความไม่ยินดีนั้นนั่น
แล จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ! ความจริง ไม่ใช่ว่าผมจะไม่ยินดี
(ประพฤติพรหมจรรย์). อธิบายว่า ก็ผมยินดีทีเดียวในการเจริญกุศลธรรม
อันยิ่ง.
หลายบทว่า อตฺถิ เม ปาปกมฺมํ กตํ ความว่า บาปกรรมอย่างหนึ่ง
ที่ผมทำไว้ มีอยู่ คือผมได้รับอยู่ ได้แก่มีปรากฏแก่ผมอยู่เป็นนิตยกาล ดุจมี
อยู่เฉพาะหน้าฉะนั้น.
ถัดจากนั้น ท่านพระสุทินน์ เมื่อจะประกาศ (เปิดเผย) บาปกรรม
ที่ตนทำแล้วนั้น (แก่เหล่าภิกษุสหาย) จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ปุราณทุต-
ยิกาย
ดังนี้.

[พวกภิกษุสหายเห็นด้วยว่ากรรมนั้นให้เกิดความรำคาญได้]


หลายบทว่า อลํ หิ เต อาวุโส สุทนฺน กุกฺกุจฺจาย ความว่า
อาวุโส สุทินน์! บาปกรรมนั่นของคุณ พอที่ คือสามารถจะให้คุณรำคาญได้.
มีคำอธิบายว่า เป็นของสามารถจะให้เกิดความรำคาญได้.
ในคำว่า ยํ ตฺวํ เป็นต้น พึงทราบการเชื่อมความดังนี้ว่า คุณจัก
ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความชั่วใด, ความชั่วนั้นของคุณพอ
ที่จะให้คุณรำคาญได้.