เมนู

อนึ่ง แม่โคทั้งหลายนั่นเอง ในกาลบางครั้ง ย่อมตั้งครรภ์ได้เพราะ
กลิ่นของโคตัวผู้. การตั้งครรภ์ ย่อมมีได้เพราะกลิ่น ด้วยอาการอย่างนี้.
ส่วนในเรื่องนี้ ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์นี้ ย่อมตั้งครรภ์เพราะ
อัชฌาจาร ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า
มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน 1 มารดาที่ระดู 1 สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ปรากฏ 1.
เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย 3 ประการอย่างนี้ ความก้าวลงแห่งสัตว์
ผู้เกิดในครรภ์ จึงมีได้.

[เทพเจ้าประกาศความชั่วของพระสุทินน์]


หลายบทว่า ภุมฺมา เทวา สทฺทมนุสฺสาเวสุํ ความว่า ชื่อว่า
ความลับของชนผู้กระทำกรรมชั่ว ย่อมไม่มีในโลก2 , จริงอยู่ ตนของชนผู้
กระทำความชั่วนั้น ย่อมรู้ความชั่ว (ที่ตนทำ) นั้น ก่อนกว่าคนอื่นทั้งหมด,
ต่อจากนั้น อารักขเทพเข้าทั้งหลายย่อมรู้, ภายหลังต่อมาเทพเจ้าแม้เหล่าอื่น
ผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ก็ย่อมรู้, เพราะเหตุนั้น ภุมมเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้อาศัย
อยู่ในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผู้รู้จิตของบุคคลอื่น พบเห็นอัชฌาจารนั้นของ
ท่านพระสุทินน์นั้น ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นไป คือได้เปล่งเสียงออก
โดยอาการที่เทพเจ้าแม้เหล่าอื่นจะได้ยิน.
ถามว่า ได้ยินว่า อย่างไร?
แก้ว่า ได้ยินดังนี้ ท่านผู้เจริญ ! โอ ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด หาโทษ
มิได้, (แต่) พระสุทินน์กลันทบุตร ก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว.
ใจความแห่งคำว่า ไม่มีเสนียด เป็นต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดยนัยดังที่
ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในเวรัญชกัณฑ์นั่นแล
1. ม. มู. 12/247.ปปัญจสูทนี. 2/417-8. 2. ขุ. ชา. 27/131. ชาตกัฎฐ 4/248.
3. วิ.มหา. 1/32.

อนึ่ง ในคำว่า ภุมฺมานํ เทวานํ สทฺทํ สุตฺวา จาตุมฺมหา-
ราชิการ
นี้ พึงทราบลำดับดังนี้ว่า อากาสัฏฐเทพเจ้าทั้งหลายได้สดับเสียง
เหล่าภุมมเทพเจ้าแล้ว, เทพเจ้าชั้นจาตุมหาราชทั้งหลาย ได้สดับเสียงเหล่า
อากาสัฏฐเทพเจ้าแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า พฺรหฺมกายิกา ความว่า พรหมแม้ทั้งหมด ยกเว้นเหล่า
อสัญญีสัตว์และเหล่ารูปาวจรสัตว์เสีย พึงทราบว่า ได้สดับแล้ว และครั้น
ได้สดับแล้ว ก็ได้กระจายเสียงให้บันลือลั่นแล้ว.
หลายบทว่า อิติห เตน ขเณน ความว่า ชั่วขณะเดียวแห่งอัชฌาจาร
ของท่านพระสุทินน์นั้น ด้วยอาการอย่างนี้.
สองบทว่า เตน มุหุตฺเตน ความว่า ชั่วครู่เดียวแห่งอัชฌาจาร
นั่นเอง.
สองบทว่า ยาว พฺรหมฺโลกา ความว่า ( เสียงได้กระฉ่อนขึ้นไป
แล้ว ) จนถึงพรหมโลกขั้นอกนิฏฐะ.
บทว่า อพฺภุคฺคญฺฉิ แปลว่า ได้กระฉ่อนขึ้นไปแล้ว คือได้ตั้งขึ้น
แล้ว. ความก็ว่า ได้มีเสียงระเบ็งเซ้งแซ่เป็นอันเดียวกันแล้ว.

[บุตรชายของท่านพระสุทินน์มีชื่อว่าพีชกะ]


สองบทว่า ปุตฺตํ วิชายิ ความว่า ภรรยาเก่าของท่านพระสุทินน์
ได้ให้ปัจฉิมภวิกสัตว์ ผู้เช่นกับพิมพ์ทองเกิดแล้ว.
หลายบทว่า พีชโกติ นามํ อกํสุ ความว่า พวกสหายของท่าน
พระสุทินน์ไม่ยอมให้ตั้งชื่อเป็นอย่างอื่น คือได้พากันตั้งชื่อว่า ''พีชกะ'' (เจ้า
พืชก์) โดยลงความเห็นกันว่า "ทารกนั้นจงมีชื่อว่า" เจ้าพืชก์" เท่านั้น,