เมนู

ภัยมีราชภัยเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาทั้งหลาย
จะไม่พึงทรงริบโภคสมบัติของเราหรืออย่างไร ชื่อว่าภัยก็ดี. อธิบายว่า
จิตสะดุ้ง.
กายสั่นเทา (ก็ดี) กายสะทกสะท้าน (ก็ดี) เนื้อหัวใจป่วนปั่น (ก็ดี)
ของบุคคลผู้ถูกพระราชาหรือโจรลงกรรมกรณ์ ด้วยสั่งบังคับว่า เองจงให้ทรัพย์
ดังนี้ ชื่อว่า ฉัมภิตัตตะ (ความหวาดเสียว).
ขนชูชัน คือมีปลายงอนขึ้นข้างบน ในเมื่อมีภัยเกิดขึ้น ชื่อว่า
โลมหังสะ (ขนพองสยองเกล้า.
การรักษาอย่างกวดขัน ทั้งภายในและภายนอก ทั้งกลางคืนและกลางวัน
ชื่อว่า อารักขา (การเฝ้ารักษา).

[บิดาสั่งภรรยาเก่าให้ประเล้าประโลมพระสทินน์สึก]


สองบทว่า เตนหิ วธุ ความว่า เศรษฐีคฤหบดี ครั้นแสดงทรัพย์
แล้ว ก็ไม่สามารถจะประเล้าประโลมบุตรชาย เพื่อให้สึกด้วยตนเองได้ จึง
สำคัญว่า บัดนี้ เครื่องผูกพวกผู้ชาย เช่นกับมาตุคามเป็นไม่มี จึงได้เรียก
ปุราณทุติยิการภรรยา ของพระสุทินน์นั้นมาสั่งว่า เตนหิ วธุ เป็นต้น.
บทว่า ปุราณทุติยิกํ ได้แก่ หญิงคนที่สองซึ่งเป็นคนดั้งเดิม คือ
หญิงคนที่สองในกาลก่อน คือในคราวที่ยังเป็นคฤหัสถ์. อธิบายว่า ได้แก่
ภรรยาผู้เคยเป็นหญิงผู้ร่วมในการเสพสุขที่อาศัยเรือนมาแล้ว.
บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ไม่มีเครื่องผูก (อย่างอื่น) เช่น
กับมาตุคาม.
สองบทว่า ปาเทสุ คเหตฺวา ความว่า ภรรยาเก่าได้จับเท้าทั้งสอง
(ของท่านสุทินน์). บทว่า ปาเทสุ เป็นสัตว์มีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ .
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ภรรยาเก่าได้จับพระสุทินน์นั้นที่เท้าทั้งสอง.

ถามว่า เพราะเหตุไร ภรรยาเก่า จึงได้กล่าวกะพระสุทินน์ อย่างนี้ว่า
ข้าแต่ลูกนาย ! นางเทพอัปสร (ผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์)
เหล่านั้น ชื่อเช่นไร1 ?
แก้ว่า เพราะได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น หมู่ชนผู้ไม่รู้จักคุณแห่งบรรพชา
ครั้นเห็นขัตติยกุมารบ้าง พราหมณกุมารบ้าง เศรษฐีบุตรบ้าง มากมาย ซึ่ง
พากันละมหาสมบัติแล้วออกบวช จึงสนทนากันขึ้นว่า เพราะเหตุไร ขัตติยะ-
กุมารเป็นต้นเหล่านั้นจึงออกบวช คราวนั้น ชนเหล่าอื่นก็พูดกันว่า
ขัตติยกุมารเป็นต้นเหล่านั้นออกบวช เพราะเหตุแห่งนางเทพอัปสรทั้งหลาย
ผู้เป็นเทพนาฏกา. ถ้อยคำนั้นเป็นอันชนเหล่านั้นได้ให้แผ่กระจายไปแล้ว.
ภรรยาเก่าของท่านสุทินน์นี้ ได้ถือเอาถ้อยคำนั้น จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
พระเถระ เมื่อจะคัดค้านถ้อยคำของภรรยาเก่านั้น จึงได้กล่าวว่า
น โข อหํ ภคินิ เป็นต้น แปลว่า น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์
เพราะเหตุแห่งนางเทพอัปสรเลย2.
บทว่า สมุทาจรติ ความว่า ย่อมเรียก คือย่อมกล่าว
หลายบทว่า ตตฺเถว มุจฺฉิตา ปปตา ความว่า ภรรยาเก่าเห็น
ท่านสุทินน์นั้นเรียกตนด้วยวาทะน้องหญิง จึงคิดอยู่ในใจว่า บัดนี้ ท่านสุทินน์นี้
ไม่ต้องการเรา, ได้สำคัญเราผู้เป็นภรรยาจริง ๆ เหมือนเด็กหญิงผู้นอนอยู่ใน
ท้องมารดาเดียวกันกับตน ก็เกิดความโศกเป็นกำลัง แล้วสลบล้มลงฟุบอยู่ใน
ที่ตรงนั้นนั่นเอง.
หลายบทว่า มา โน วิเหฐยิตฺถ ความว่า ท่านสุทินน์กล่าวกะ
โยมบิดาว่า คุณโยม อย่าชี้บอกทรัพย์และส่งมาคุคามมาเบียดเบียนรูปเลย,
จริงอยู่ วาจานั่นทำความลำบากให้แก่พวกบรรพชิต.
1-2. วิ. มหา. 1/30.

[มารดาขอร้องให้พระสุทินน์เพาะพืชพันธุ์ไว้]


มารดาของท่านสุทินน์ ได้เชื้อเชิญท่านสุทินน์ไว้ในความอภิรมย์ด้วย
ความว่า ถ้าเช่นนั้น ดังนี้ ที่มีอยู่ในบทนี้ว่า พ่อสุทินน์ ! ถ้าเช่นนั้น พ่อ
จงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง คือมารดาได้พูดว่า ถ้าพ่อยังยินดีจะประพฤติพรหมจรรย์
ไซร้. ขอพ่อจงประพฤติ นั่ง ปรินิพพานอยู่บนอากาศเถิด, แต่ว่า พ่อจงให้
บุตรชายคนหนึ่งผู้จะเป็นพืชพันธุ์สำหรับดำรงสกุลของเราไว้.
หลายบทว่า มา โน อปุตฺตกํ สาปเตยฺยํ สิจฺฉวโย อติหราเปสุํ
ความว่า มารดาของท่านสุทินน์พูดว่า เพราะเหตุที่พวกเราอยู่ในรัชสมัยแห่ง
เจ้าลิจฉวีผู้เป็นคณราชย์, โดยกาลล่วงลับไปแห่งบิดาของพ่อ เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
จะสั่งให้ริบทรัพย์มฤดกนี้ คือทรัพย์สมบัติของพวกเรา ซึ่งมีมากมายอย่างนี้
อันหาบุตรมิได้ คือที่เว้นจากบุตร ผู้จะรักษาทรัพย์ของตระกูลไว้ นำไปสู่
ภายในพระราชวังของพระองค์เสีย, ฉะนั้น, เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น อย่าได้สั่งให้ริบ
คือจงอย่าสั่งให้ริบทรัพย์สมบัตินั้นไปเลย.
ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านสุทินน์ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า คุณโยมแม่ !
เฉพาะเรื่องนี้แล รูปอาจทำได้ ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ท่านสุทินน์นั้น คิดว่า เราเท่านั้นจักเป็นเจ้าของ
ทรัพย์มฤดกของมารดาเป็นต้นเหล่านั้น, คนอื่นย่อมไม่มี, มารดาเป็นต้นแม้
เหล่านั้น ก็จักตามผูกพันเราเป็นนิตย์ เพื่อต้องการให้รักษาทรัพย์มฤดก,
เพราะเหตุนี้ ครั้นได้บุตรชายแล้วก็จักงดเว้น (การตามผูกพันเรา), ต่อ
แต่นั้น เราก็จักได้บำเพ็ญสมณธรรมตามสบาย, เมื่อ (ท่าน) เล็งเห็นนัยนี้อยู่
จึงได้กล่าวอย่างนั้น.