เมนู

ภัยมีราชภัยเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาทั้งหลาย
จะไม่พึงทรงริบโภคสมบัติของเราหรืออย่างไร ชื่อว่าภัยก็ดี. อธิบายว่า
จิตสะดุ้ง.
กายสั่นเทา (ก็ดี) กายสะทกสะท้าน (ก็ดี) เนื้อหัวใจป่วนปั่น (ก็ดี)
ของบุคคลผู้ถูกพระราชาหรือโจรลงกรรมกรณ์ ด้วยสั่งบังคับว่า เองจงให้ทรัพย์
ดังนี้ ชื่อว่า ฉัมภิตัตตะ (ความหวาดเสียว).
ขนชูชัน คือมีปลายงอนขึ้นข้างบน ในเมื่อมีภัยเกิดขึ้น ชื่อว่า
โลมหังสะ (ขนพองสยองเกล้า.
การรักษาอย่างกวดขัน ทั้งภายในและภายนอก ทั้งกลางคืนและกลางวัน
ชื่อว่า อารักขา (การเฝ้ารักษา).

[บิดาสั่งภรรยาเก่าให้ประเล้าประโลมพระสทินน์สึก]


สองบทว่า เตนหิ วธุ ความว่า เศรษฐีคฤหบดี ครั้นแสดงทรัพย์
แล้ว ก็ไม่สามารถจะประเล้าประโลมบุตรชาย เพื่อให้สึกด้วยตนเองได้ จึง
สำคัญว่า บัดนี้ เครื่องผูกพวกผู้ชาย เช่นกับมาตุคามเป็นไม่มี จึงได้เรียก
ปุราณทุติยิการภรรยา ของพระสุทินน์นั้นมาสั่งว่า เตนหิ วธุ เป็นต้น.
บทว่า ปุราณทุติยิกํ ได้แก่ หญิงคนที่สองซึ่งเป็นคนดั้งเดิม คือ
หญิงคนที่สองในกาลก่อน คือในคราวที่ยังเป็นคฤหัสถ์. อธิบายว่า ได้แก่
ภรรยาผู้เคยเป็นหญิงผู้ร่วมในการเสพสุขที่อาศัยเรือนมาแล้ว.
บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ไม่มีเครื่องผูก (อย่างอื่น) เช่น
กับมาตุคาม.
สองบทว่า ปาเทสุ คเหตฺวา ความว่า ภรรยาเก่าได้จับเท้าทั้งสอง
(ของท่านสุทินน์). บทว่า ปาเทสุ เป็นสัตว์มีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ .
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ภรรยาเก่าได้จับพระสุทินน์นั้นที่เท้าทั้งสอง.