เมนู

[พระพุทธเจ้ารับสั่งภิกษุบวชให้สุทินน์กลันทบุตร]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ซึ่งยืนเฝ้าอยู่ในที่ใกล้มาว่า ดูก่อนภิกษุ ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้
สุทินน์บรรพชาและอุปสมบทเถิด.
ภิกษุรูปนั้น ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า!
แล้ว ได้สุทินน์กลันทบุตร ที่พระชินเจ้าทรงประทานเป็นสัทธิวิหาริก ให้
บรรพชาและอุปสมบทแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า
สุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว*
อนึ่ง ยกเว้นในอธิการว่าด้วยท่านสุทินน์ได้รับบรรพชาอุปสมบทนี้เสีย
การบรรพชาและอุปสมบท พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาทั้งปวง. ส่วนข้าพเจ้าจักกล่าว (บรรพชาและอุปสมบทนั้น)ในขันธกะ
ด้วยอำนาจแห่งพระบาลีตามที่ตั้งไว้แล้วนั้นแล และหาใช่จักกล่าวแต่บรรพชา
และอุปสมบทในขันธกะอย่างเดียวเท่านั้นไม่ คำแม้อื่นใด ที่ควรกล่าวใน
ขันธกะก็ดี ในคัมภีร์บริวารก็ดี อันพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้แล้วใน
วิภังค์ ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นไว้ในที่นั้น ๆ แล ทั้งหมด. แท้จริง เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวตามที่อธิบายมาอย่างนี้ การพรรณนา ย่อมเป็นอันข้าพเจ้าทำแล้วโดย
ลำดับแห่งพระบาลีทีเดียว. เพราะเหตุนี้ นักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ
ด้วยการวินิจฉัยนั้น ๆ ตรวจดูวินัยสังวรรณนานี้ โดยลำดับพระบาลีนั้นแล
ก็จักรู้การวินิจฉัยที่ยังเหลือได้ดี ฉะนี้แล.
บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน คือท่านสุทินน์นั้น เป็นผู้อุปสมบทแล้ว
ไม่นาน มีคำอธิบายว่า โดยกาลไม่นานนัก แต่อุปสมบทมานั่นเอง.
* วิ. มหา. 1/25.

บทว่า เอวรูเป คือมีส่วนอย่างนี้ ได้แก่ มีชาติอย่างนี้.
บทว่า ธุตคุเณ ได้แก่ คุณอันเป็นเครื่องกำจัดกิเลส.
สองบทว่า สมาทาย วตฺตติ ความว่า (ท่านสุทินน์นั้น) สมาทาน
คือรับเอา ประพฤติ เที่ยวไป อยู่.
สองบทว่า อารญฺญิโก โหติ ความว่า ห้ามเสนาสนะแดนบ้าน
เสียแล้ว เป็นผู้ชอบอยู่ป่าเป็นวัตร ด้วยอำนาจสมาทานอารัญญิกธุดงค์.
บทว่า ปิณฺฑปาติโก ความว่า ห้ามภัต 14 อย่าง ด้วยการห้าม
อติเรกลาภเสียแล้ว เป็นผู้ชอบเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ด้วยอำนาจสมาทาน
บิณฑปาติยธุดงค์.
บทว่า ปํสุกูลิโก ความว่า ห้ามคฤหบดีจีวรเสียแล้ว เป็นผู้ชอบ
ทรงผ้าบังสกุลเป็นวัตร ด้วยอำนาจสมาทานปังสุกูลิกธุดงค์.
บทว่า สปทานจาริโก ความว่า ห้ามการเที่ยวโลเลเสียแล้ว เป็น
ผู้ชอบเที่ยวตามลำดับตรอกเป็นวัตร คือเข้าไปเพื่อภิกษาตามลำดับเรือน ด้วย
อำนาจสมาทานสปทานจาริยธุดงค์.
บทว่า วชฺชิคามํ ความว่า (ท่านสุทินน์นั้นเข้าอาศัย) หมู่บ้านชาว
วัชชีหรือหมู่บ้านในแคว้นวัชชี.

[ญาติของท่านสุทินน์ที่เมืองไพศาลีมีสมบัติมาก]


ในคำเป็นต้นว่า อฑฺฒา มหทฺธนา มีวินิจฉัยดังนี้:- (ญาติทั้งหลาย
ของเราในเมืองไพศาลี) ชื่อว่าเป็นผู้มั่งคั่ง เพราะมีเครื่องอุปโภคและอุปกรณ์
แห่งเครื่องบริโภคมาก. มีคำอธิบายว่า จริงอยู่ เครื่องอุปโภค และอุปกรณ์
แห่งเครื่องอุปโภค ของญาติเหล่านั้น ๆ มีมาก คือมีหนาแน่น ทั้งเป็นวัตถุ
มีสาระ.