เมนู

บวชนั่น เป็นภาระที่หนัก, ผู้บวชจะต้องถือบาตรเดินเที่ยวบิณฑบาตทุกวัน ๆ,
พรหมจรรย์ มีการนอนหนเดียว ฉันหนเดียว เป็นกิจที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง, และ
สุทินน์นี้ เป็นผู้ละเอียดอ่อน เป็นชาติชนชาวเมือง, เขา เมื่อไม่สามารถจะ
ประพฤติพรหมจรรย์นั้นได้ ก็จักกลับมาที่เรือนนี้อีกที่เดียว, เอาเถิด พวก
เรา จักขอให้มารดาบิดาของเขาอนุญาตให้บวช. สหายเหล่านั้น ก็ได้ทำเหมือน
อย่างนั้นแล้ว.

[มารดาบิดาอนุญาตให้สุทินน์บุตรชายบวช]


ฝ่ายมารดาบิดา ก็ได้อนุญาตให้เขาบวช. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุ-
บาลีเถระ จึงได้กล่าวไว้ว่า อถโข สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส สหายกา
เยน สุทินฺนสฺส กลนฺทปุตฺตสฺส มาตาปิตโร ฯเปฯ อนุญฺญาโตสิ มา-
ตาปิตูหิ อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชฺชาย.
1
บทว่า หฏโฐ แปลว่า ผู้ยินดีแล้ว
บทว่า อุทคฺโค แปลว่า ผู้มีกายและจิตฟูขึ้นด้วยอำนาจปีติ.
บทว่า กติปาหํ แปลว่า สิ้นวันเล็กน้อย.
สองบทว่า พลํ คาเหตฺวา ความว่า สุทินน์กลันทบุตรนั้นเมื่อบริ-
โภคโภชนาหารที่สบาย และบริหารร่างกายด้วยกิจมีการอบและอาบน้ำเป็นต้น
ให้เกิดกำลังกายแล้ว ไหว้มารดาบิดา ลาเครือญาติผู้มีหน้าเต็มด้วยน้ำตา แล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า ! ขอองค์ได้โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวช
เถิด พระพุทธเจ้าข้า !2
1. วิ. มหา. 1/24. 2. วิ. มหา 1/25

[พระพุทธเจ้ารับสั่งภิกษุบวชให้สุทินน์กลันทบุตร]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร ซึ่งยืนเฝ้าอยู่ในที่ใกล้มาว่า ดูก่อนภิกษุ ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้
สุทินน์บรรพชาและอุปสมบทเถิด.
ภิกษุรูปนั้น ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า!
แล้ว ได้สุทินน์กลันทบุตร ที่พระชินเจ้าทรงประทานเป็นสัทธิวิหาริก ให้
บรรพชาและอุปสมบทแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า
สุทินน์กลันทบุตรได้รับบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว*
อนึ่ง ยกเว้นในอธิการว่าด้วยท่านสุทินน์ได้รับบรรพชาอุปสมบทนี้เสีย
การบรรพชาและอุปสมบท พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาทั้งปวง. ส่วนข้าพเจ้าจักกล่าว (บรรพชาและอุปสมบทนั้น)ในขันธกะ
ด้วยอำนาจแห่งพระบาลีตามที่ตั้งไว้แล้วนั้นแล และหาใช่จักกล่าวแต่บรรพชา
และอุปสมบทในขันธกะอย่างเดียวเท่านั้นไม่ คำแม้อื่นใด ที่ควรกล่าวใน
ขันธกะก็ดี ในคัมภีร์บริวารก็ดี อันพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้แล้วใน
วิภังค์ ข้าพเจ้าจักกล่าวคำนั้นไว้ในที่นั้น ๆ แล ทั้งหมด. แท้จริง เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวตามที่อธิบายมาอย่างนี้ การพรรณนา ย่อมเป็นอันข้าพเจ้าทำแล้วโดย
ลำดับแห่งพระบาลีทีเดียว. เพราะเหตุนี้ นักศึกษาทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ
ด้วยการวินิจฉัยนั้น ๆ ตรวจดูวินัยสังวรรณนานี้ โดยลำดับพระบาลีนั้นแล
ก็จักรู้การวินิจฉัยที่ยังเหลือได้ดี ฉะนี้แล.
บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน คือท่านสุทินน์นั้น เป็นผู้อุปสมบทแล้ว
ไม่นาน มีคำอธิบายว่า โดยกาลไม่นานนัก แต่อุปสมบทมานั่นเอง.
* วิ. มหา. 1/25.