เมนู

ง่าย ไฉนหนอ ! เราจะพึงปลงผมและหนวด ครองคือนุ่งห่มผ้ากาสาวะ เพราะ
เป็นของย้อมแล้วด้วยรสแห่งน้ำฝาด อันเป็นของสมควรแก่บรรพชิต ผู้ประ-
พฤติพรหมจรรย์ แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ก็เพราะกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่
เรือน ท่านเรียกว่า อคาริยะ ในบทว่า อนคาริยํ นี้. และกสิกรรมพา-
ณิชยกรรมเป็นต้นนั้น ย่อมไม่มีในบรรพชา เพราะเหตุนั้น บรรพชาบัณฑิต
พึงรู้ว่า อนคาริยา. ซึ่งการบรรพชาที่ไม่มีเรือนนั้น.
บทว่า ปพฺพเชยฺยํ แปลว่า พึงเข้าถึง.

[สุทินน์กลันทบุตรทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า]


หลายบทว่า อจิรวุฏฺฐิตาย ปริสาย เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
ความว่า สุทินน์ เมื่อบริษัทยังไม่ลุกไป ก็ยังไม่ได้ทูลขอบรรพชากะพระผู้มี-
พระภาคเจ้า. เพราะเหตุไร ? เพราะในบริษัทนั้น ญาติสาโลหิต มิตรและ
อำมาตย์ของสุทินน์นั้น มีอยู่มาก, พวกญาติเป็นต้นเหล่านั้น จะพึงพูดว่า
ท่านเป็นบุตรน้อยคนเดียวของมารดาบิดา, ท่านไม่ได้เพื่อจะบวช ดังนี้แล้ว
พึงจับแม้ที่แขนฉุดออกไป, ในเวลานั้น สุทินน์ คิดว่า อันตราย จักมีแก่
บรรพชา จึงลุกขึ้นเดินไปได้หน่อยหนึ่ง พร้อมกับบริษัทนั่นเอง แล้วหวน
กลับมาอีก ด้วยการอ้างเลศแห่งสรีรกิจบางอย่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วทูลของบรรพชา. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ครั้ง
นั้นแล สุทินน์กลันทบุตร เมื่อบริษัทลุกไปแล้วไม่นานนักก็เข้าเฝ้า โดยทางที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่, ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า นั่งอยู่ ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. สุทินน์กลันทบุตร นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ด้วยอาการใด ๆ ข้าพระพุทธเจ้า จึงจะรู้ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
อันบุคคลผู้ยังอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดเกลาแล้ว เป็นของทำไม่ได้ง่าย, ข้าพระ
พุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสวะ ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต, ของพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด
พระเจ้าข้า !1
ก็เพราะจำเดิมแต่ราหุลกุมารบรรพชามา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรง
บวชให้บุตรผู้ที่มารดาบิดาไม่อนุญาต. เพราะฉะนั้น จึงตรัสถามสุทินน์นั้นว่า
ดูก่อนสุทินน์ ! ก็เธออันมารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
แล้วหรือ ?.2
เบื้องหน้าแต่พระพุทธดำรัสนี้ไป บัณฑิตพึงทราบเนื้อความไปตาม
แนวพระบาลีนั่นแล อย่างนี้ในบทว่า ตํ กรณียํ ตีเรตฺวา3 นี้. (สุทินน์
กลันทบุตรนั้น) ให้กรณียกิจนั้นเสร็จลง ด้วยการทอดทิ้งธุระนั่นเอง. จริงอยู่
น้ำใจของสุทินน์กลันทบุตร ผู้มีฉันทะแรงกล้าในการบรรพชา หาได้น้อมไป
ในธุระกิจทั้งหลายมีประกอบการซื้อขายสินค้า การให้กู้ยืมและทวงหนี้เป็นต้น
หรือในการเล่นกีฬานักขัตฤกษ์ไม่.

[มารดาบิดาไม่อนุญาตให้สุทินน์บวช]


ก็ในบทว่า อมฺม ตาต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- สุทินน์กลันทบุตร
เรียกมารดาว่า อมฺม แม่ (และ) เรียกบิดาว่า ตาต พ่อ.
สองบทว่า ตฺวํ โขสิ ตัดบทเป็น ตฺวํ โข อสิ แปลว่า (ลูก
สุทินน์) เจ้าเท่านั้นแล เป็น....
1-2-3. วิ. มหา. 1/20.