เมนู

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแก่สุทินน์ ผู้เป็น
ภัพกุลบุตร (กุลบุตรผู้ควรตรัสรู้) ผู้อันปุพเพกตปุญญตาตักเตือนอยู่.
ถามว่า ความรำพึงนี้ ได้มีแล้วอย่างไร ?
แก้ว่า ได้มีว่า ไฉนหนอ เราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺนูน นั้นเป็นบทแสดงถึงความรำพึง.
ได้ยินว่า สุทินน์นั้น ได้เกิดความรำพึงขึ้นอย่างนี้ว่า บริษัทนี้มีจิต
ดิ่งลงเป็นหนึ่ง ฟังธรรมใดอยู่, โอหนอ ! แม้เราก็พึงฟังธรรมนั้น.
หากจะมีอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ในคำว่า ครั้งนั้นแล สุทินน์กลันทบุตร
เข้าไปโดยทางบริษัทนั้น นี้ เพราะเหตุไร ท่านพระอุบาลีเถระ จึงไม่กล่าว
ไว้ว่า เข้าไปเฝ้าโดยทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แต่กลับกล่าวว่า
เข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่ ?
เฉลยว่า จริงอยู่ บริษัทหมู่ใหญ่ มีเหล่าชนผู้หรูหรา นั่งห้อมล้อม
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว, สุทินน์กลันทบุตรนี้ มาภายหลังเขา ไม่สามารถ
จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในบริษัทนั้นได้, แต่ก็สามารถจะเข้าไปนั่ง
ในที่แห่งหนึ่งใกล้บริษัทได้, เพราะฉะนั้น สุทินน์กลันทบุตรนั้น ก็เข้าไปหา
บริษัทนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงได้กล่าวว่า ครั้งนั้นแล
สุทินน์กลันทบุตรเข้าไปโดยทางที่บริษัทนั้นอยู่*.

[สุทินน์กลันทบุตรได้ฟังธรรมแล้วคิดจะบวช]


หลายบทว่า เอกมนฺตํ นิสินฺนสฺส โข สุทินฺนสฺส กลนฺท-
ปุตฺตสฺส เอตทโหสิ
ความว่า ความรำพึงนี้ หาได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
ผู้สักว่านั่งแล้วเท่านั้นไม่, โดยที่แท้ ก็ความรำพึงนั้น ได้มีแก่สุทินน์กลันทบุตร
* วิ. มหา. 1/19.