เมนู

นมหลั่งน้ำนมฉะนั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมป้องกัน ท่านอธิบายว่า ย่อมรักษา
ด้วยดี ซึ่งประโยชน์เหล่านั้น. อนึ่ง พระสูตรนี้มีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย.
เหมือนอย่างว่าเส้นบรรทัด ย่อมเป็นประมาณของช่างไม้ฉันใด แม้พระสูตรนี้
ก็ย่อมเป็นประมาณแห่งวิญญูชนฉันนั้น. อนึ่ง เหมือนดอกไม้ที่เขาคุมไว้ด้วย
เส้นด้ายอันลมให้เรี่ยรายกระจัดกระจายไม่ได้ฉันใด ประโยชน์ทั้งหลายที่ทรง
ประมวลไว้ด้วยพระสูตรนี้ย่อมไม่เรี่ยราย ไม่กระจัดกระจายฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น
เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งพระสูตรนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ไว้ว่า
พระสูตรท่านกล่าวว่า สูตร เพราะ
บ่งถึงประโยชน์ เพราะมีอรรถอันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ดประ-
โยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกัน
ด้วยดี และเพราะมีส่วนเสมอด้วยด้าย ดังนี้.

[

อรรถาธิบายคำว่าอภิธรรม

]
ส่วนพระอภิธรรมนอกนี้
ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลาย ที่มีความ
เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา
แล้ว ที่บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอธิธรรมนี้
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม.

ก็อภิศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถว่าเจริญ ว่ามีความกำหนดหมาย
ว่าอันบุคคลบูชาแล้ว ว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว และว่ายิ่ง. จริงอย่างนั้น

อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ
แก่เรา1 ดังนี้. มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี
เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว 2 ดังนี้. มาในอรรถว่าอัน
บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว
เป็นจอมมนุษย์3 เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ
เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย4 ท่าน
อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน
กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง5 ดังนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ 6 ภิกษุมีจิตประกอบ
ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง 7 อยู่. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ
เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์
เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี
สัททารมณ์ก็ดี 8 อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า
เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม9. ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ
เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี
เวทนา10มี. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนับเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
อัปปมาณธรรม 11 อนุตตรธรรม12 ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน
อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
1. ส. มหา. 19/114. 2. ม. มู. 12/36. 3. ขุ. สุ. 25/444 4. วิ. มหา.
4/142. 5. ขุ, วิมาน. 26/13. 6, อภิ. สํ. 34/44. 7. อภิ. วิ. 35/369.
8. อภิ. วิ. 35/369. 9. อภิ. สํ. 34/3 10. อภิ. สํ. 34/9. 11. อภิ. สํ. 34/1
12. อภิ. สํ. 34/7

ด้วยเหตุที่ธรรมทั้งหลายที่มีความ
เจริญ ที่มีความกำหนดหมาย ที่บุคคลบูชา
แล้ว บัณฑิตกำหนดตัด และที่ยิ่ง อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระอภิ-
ธรรมนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อภิธรรม.

ส่วนปิฎกศัพท์ใด เป็นศัพท์ที่ไม่พิเศษในพระวินัย พระสูตรและ
พระอภิธรรรมนี้ ปิฎกศัพท์นั้น
อันบัณฑิตทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎก
กล่าวว่า ปิฏก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ
ศัพท์ทั้ง 3 มีวินัยเป็นต้น บัณฑิตพึงให้
ประชุมลงด้วยปิฎกศัพท์นั้น แล้วพึงทราบ.

[

ปิฎกเปรียบเหมือนตะกร้า

]
จริงอยู่ แม้ปริยัติ ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า อย่าเชื่อ
โดยการอ้างตำรา1. แม้ภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่า ปิฎก ในคำ
เป็นต้นว่าลำดับนั้น บุรุษถือจอบและตะกร้ามา2. เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
ทั้งหลายผู้รู้อรรถแห่งปิฎกกล่าวว่า ปิฎก โดยอรรถว่าปริยัติและภาชนะ.
บัดนี้ พึงทราบอรรถแห่งบาทคาถาว่า เตน สโมธาเนตฺวา ตโยปิ
วินยาทโย เญยฺยา
โดยนัยอย่างนี้ ศัพท์แม้ทั้ง 3 มีวินัยเป็นต้นเหล่านั้น
อันบัณฑิตพึงย่อเข้าเป็นสมาสกับด้วยปิฎกศัพท์ซึ่งมีอรรถเป็น 2 อย่าง นี้นั้น
แล้ว พึงทราบอย่างนี้ว่า วินัยนั้นด้วยชื่อว่าปิฎกด้วย เพราะเป็นปริยัติ และ
เพราะเป็นภาชนะแห่งเนื้อความนั้น ๆ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วินัยปิฎก, สูตรนั้นด้วย
1. องฺ จตุกฺก. 21/257 2. สํ. นิทาน. 16/106.