เมนู

ประมวลพระพุทธวจนะแม้ทั้งหมด ทั้งที่ร้อยกรองในปฐมสังคายนา ทั้งที่
ร้อยกรองในภายหลัง เป็นปาฏิโมกข์ 2 ฝ่าย วิภังค์ 2 ขันธกะ 22 บริวาร
16 ชื่อวินัยปิฎก. พระพุทธวจนะนี้คือ ทีฆนิกายเป็นที่รวบรวมพระสูตร
34 สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร
152 สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกาย เป็นที่รวบรวมพระสูตร
7,762 สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกาย เป็นที่รวบรวม
พระสูตร 9,557 สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกาย 15 ประเภท
ด้วยอำนาจแห่งขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมาน-
วัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน
พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ชื่อสุตตันตปิฎก. พระพุทธพจน์นี้คือธัมมสังคิณี วิภังค์
ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน ชื่ออภิธรรมปิฎก.
[

อรรถาธิบายคำว่าวินัย

]
ในพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมนั้น
พระวินัย อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง
พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย
ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย
และวาจา.

จริงอยู่ ในพระวินัยนี้ มีนัยต่าง ๆ คือ มีปาฏิโมกขุทเทศ 5 ประการ
กองอาบัติ 7 มีปาราชิกเป็นต้น มาติกาและนัยมีวิภังค์เป็นต้นเป็นประเภท
และนัยคืออนุบัญญัติเป็นพิเศษ คือมีนัยอันกระทำให้มั่นและกระทำให้หย่อน
เป็นประโยชน์. อนึ่ง พระวินัยนี้ย่อมฝึกกายและวาจา เพราะห้ามซึ่งอัชฌาจาร

ทางกายและทางวาจา. เพราะฉะนั้น พระวินัยนี้ ท่านจังกล่าวว่า วินัย เพราะ
มีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกายและวาจา. ด้วยเหตุนั้น เพื่อ
ความเป็นผู้ฉลาดในอรรถาธิบายคำแห่งวินัยนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์
นี้ไว้ว่า
พระวินัยนี้ อันบัณฑิตผู้รู้อรรถแห่ง
พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า วินัย เพราะมีนัย
ต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกกาย
และวาจา ดังนี้.

[

อรรถาธิบายคำว่าสูตร

]
ส่วนพระสูตรนอกนี้
ท่านกล่าวว่า สูตร เพราะบ่งถึง
ประโยชน์ เพราะมีอรรถอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเผล็ดประโยชน์
เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะป้องกันด้วยดี
และเพราะมีส่วนเสมอด้วยเส้นด้าย.

จริงอยู่ พระสูตรนั้น ย่อมบ่งถึงประโยชน์ต่างด้วยประโยชน์มีประโยชน์
ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ประโยชน์ทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสดีแล้ว ในพระสูตรนี้ เพราะตรัสโดยอนุโลมแก่อัธยาศัยแห่งเวไนย. อนึ่ง
พระสูตรนี้ ย่อมเผล็ดประโยชน์ ท่านอธิบายว่า ย่อมเผล็ดผลดุจข้าวกล้าฉะนั้น.
อนึ่ง พระสูตรนี้ย่อมหลั่งประโยชน์เหล่านั้น ท่านอธิบายว่า ย่อมรินดุจแม่โค