เมนู

บทว่า ภุตฺตาวึ แปลว่า ผู้เสวยเสร็จแล้ว.
บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ แปลว่า ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร,
คำอธิบายว่า ทรงชักพระหัตถ์ออกแล้ว (ทรงล้างพระหัตถ์แล้ว)

[พราหมณ์ถวายไตรจีวรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์]


สองบทว่า ติจีวเรน อจฺฉาเทสิ ความว่า (พราหมณ์)ได้ถวาย
ไตรจีวรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็คำว่า ติจีวเรน อจฺฉาเทสิ นี้ เป็น
เพียงโวหารพจน์ ก็ในไตรจีวรนั้นผ้าสาฎกแต่ละผืน มีราคาผืนละพันหนึ่ง.
พราหมณ์ได้ถวายไตรจีวรชั้นดีเยี่ยม เช่นกับผ้าแค้นกาสี มีราคาถึงสามพัน
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้.
หลายบทว่า เอกเมกญฺจ ภิกฺขุ เอกเมเกน ทุสฺสยุเคน ความว่า
พราหมณ์ได้ให้ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ครองด้วยผ้าคู่หนึ่ง ๆ . บรรดาผ้าเหล่านั้น
ผ้าสาฎกผืนหนึ่ง ๆ มีราคาห้าร้อย. พราหมณ์ได้ถวายผ้ามีราคาห้าแสน แก่
ภิกษุ 500 รูป ด้วยประการฉะนี้. พราหมณ์ถวายแล้วถึงเท่านี้ยังไม่พอแก่ใจ
ได้แบ่งผ้ากัมพลแดง และผ้าปัตตุณณะ และผ้าห่มมากมามีราคาเจ็ดแปดพัน
ถวายเพื่อประโยชน์แก่บริขาร มีผ้ารัดเข่าผ้าสไบเฉียง ประคดเอวและผ้ากรอง
น้ำเป็นต้นอีก และได้ตวงน้ำมันยาซึ่งหุงตั้งร้อยครั้งพันครั้ง ให้เต็มทะนาน
ถวายน้ำมันมีราคาพันหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การทาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ. จะมี
ประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวมากในปัจจัยสี่. บริขารอะไร ๆ ซึ่งเป็นเครื่องใช้
ของสมณะ ชื่อว่าพราหมณ์มิได้ถวายแล้วมิได้มี แต่ในพระบาลีกล่าวแต่เพียง
จีวรเท่านั้น.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงยังฝนคืออมตธรรมให้ตก
ทำเวรัญชพราหมณ์ผู้เสื่อมสิ้นจากการบริโภครสแห่งอมตะ คือการฟังธรรม

ด้วยถูกมารดลใจให้เคลิบเคลิ้มเสียสามเดือน ผู้ทำการบูชาใหญ่อย่างนั้นแล้ว
พร้อมด้วยบุตรและภรรยาถวายบังคมแล้วนั่ง ให้เป็นผู้มีความดำริเต็มที่ โดย
วันเดียวเท่านั้น จึงยังพราหมณ์ให้เล็งเห็นสมาทานอาจหาญให้รื่นเริงด้วย
ธรรมกถา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป
ฝ่ายพราหมณ์ พร้อมทั้งบุตรและภรรยา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
เจ้าและภิกษุสงฆ์แล้วตามไปส่งเสด็จ พลางกล่าวคำมีอาทิอย่างนี้ว่า พระเจ้าข้า
พระองค์ พึงทำความอนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายแม้อีก แล้วปล่อยให้
น้ำตาไหลกลับมา.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากเมืองเวรัญชาไปประทับที่เมืองไพศาลี]


หลายบทว่า อถโข ภควา เวรญฺชายํ ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา
มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ตามพระอัธยาศัย คือตามความพอ
พระทัยแล้ว ออกจากเมืองเวรัญชา มีพระประสงค์จะทรงละพุทธวิถี ที่จะพึง
เสด็จไป ในกาลเป็นที่เสด็จเที่ยวจาริกในมณฑลใหญ่ จะทรงพาภิกษุสงฆ์
ผู้ลำบากด้วยทุพภิกขโทษ เสด็จไปโดยทางตรง จึงไม่ทรงแวะเมืองทั้งหลาย
มีเมืองโสเรยยะเป็นต้น เสด็จไปยังเมืองปยาคประดิษฐาน ข้ามแม่น้ำคงคาที่
เมืองนั้น แล้วเสด็จไปโดยทิศาภาคทางเมืองพาราณสี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
เสด็จไปโดยทิศาภาคนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตทวสริ. พระองค์ประทับ
อยู่ตามพระอัธยาศัย แม้ในเมืองพาราณสีนั้นแล้ว ได้เสด็จไปยังเมืองโสเรยยะ
เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ เสด็จไปทางเมืองปยาคประดิษฐานแล้วเสด็จ
ข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองปยาคประดิษฐาน ไปโดยทิศภาคทางเมืองพาราณสี.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแรมในเมืองพาราณสีตามพอพระทัย
แล้วทรงหลีกจาริกไป ทางเมืองไพศาลี เมืองเสด็จจาริไปโดยลำดับ ได้ทรง