เมนู

ทำให้สบายมีผิวดี เป็นผู้ไม่ควรค่อนขอดเป็นต้นเลย และเป็นผู้มีอานุภาพ
ปรากฏในเพราะกรรมแห่งอาจารย์ของตน ย่อมประสบสักการะฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความเกิดขึ้น และความเกิดขึ้นแห่ง
ธรรมเป็นที่ตั้งของอาสวะ อกาลและกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทอย่างนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อแสดงกาลยังไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมเหล่านั้นแล
จึงตรัสคำว่า น ตาว สารปุตฺต อิเธกจฺเจ เป็นต้น. ในคำว่า ตาว
เป็นต้นนั้น บททั้งหลายที่มีอรรถตื้น พึงทราบด้วยอำนาจพระบาลีนั่นแล.
ส่วยการพรรณนาบทที่ไม่ตื้นดังต่อไปนี้ :-

[อธิบายเหตุที่ให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]


ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า รัตตัญญู เพราะอรรถว่า รู้ราตรีนาน คือ
รู้ราตรีเป็นอันมากตั้งแต่วันที่ตนบวชมา, มีอธิบายว่า บวชมานาน. ความ
เป็นหมู่ด้วยพวกภิกษุผู้รู้ราตรีนาน ชื่อว่า รัตตัญญุมหัตตะ. อธิบายว่า
ความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยพวกภิกษุผู้บวชมานาน.
*บัณฑิตพึงทราบว่า สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ
พระอุปเสนวังคันตบุตรบัญญัติ เพราะสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ด้วยภิกษุผู้รู้
ราตรีนาน ในบรรดาความเป็นหมู่ใหญ่เหล่านั้น, จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น
ได้เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีพรรษาหย่อนสิบให้อุปสมบทอยู่ ตนมีพรรษาเดียว
จึงให้สัทธิวิหาริกอุปสมบทบ้าง. ครั้งนั้นแล พระผู้พระภาคเจ้าทรงบัญญัติ
สิขาบทว่า ภิกษุทั้งหลาย ! กุลบุตรอันภิกษุผู้มีพรรษาหย่อนสิบ ไม่พึงให้
อุปสมบท, ภิกษุใดพึงให้อุปสมบท ปรับอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุนั้น1 เมื่อสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบสนามหลวง พ.ศ. 2482-85
1 วิ. มหา. 4 / 109.