เมนู

[พระสารีบุตรทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท]


ถามว่า ในคำว่า อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต มีอะไรเป็น
อนุสนธิ. ตอบว่า คือ ท่านพระสารีบุตร ครั้นได้ฟังเหตุการณ์ดำรงอยู่นาน
แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์อย่างนี้แล้ว ถึงความตกลงใจว่า
การบัญญัติสิกขาบทเท่านั้น เห็นเหตุแห่งความดำรงอยู่ได้นาน เมื่อปรารถนา
ความดำรงอยู่นาน แห่งพรหมจรรย์ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลวิงวอน
ขอการบัญญัติสิกขาบทกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระอุบาลีเถระกล่าว คำว่า
อถโข อายสฺมา สารีปุตฺโต อุฏฺฐายาสนา ฯเปฯ จิรฏฺฐิติก นี้
เพื่อแสดงวิธีทูลวิงวอนของการบัญญัติสิกขาบทนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อทฺธนิยํ คือ ควรแก่กาลนาน มีคำอธิบายว่า มีกาลยาวนาน. คำที่เหลือ
มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านพระสารีบุตร]


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศแก่พระสารีบุตร
นั้นว่า เวลานี้ ยังไม่เป็นกาลแห่งอันบัญญัติสิกขาบทก่อน จึงตรัสว่า อาคเมหิ
ตฺวํ สารีปุตฺต
ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อาคเมหิ ตฺวํ
ความว่า เธอจงรอก่อน มีคำอธิบายว่า เธอจงยับยั้งก่อน. ก็คำนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสซ้ำสองครั้ง ด้วยอำนาจความเอื้อเฟื้อ. ด้วยคำว่า อาคเมหิ
เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามความที่การบัญญัติสิกขาบท เป็นวิสัย
ของพระสาวก เมื่อจะทรงทำให้แจ้งว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นพุทธวิสัย
จึงตรัสคำว่า ตถาคโตว เป็นต้น. ก็ในคำว่า ตถาคโตว นี้ คำว่า ตตฺถ
เป็นสัตตมีวิภัตติ เพ่งถึงการอ้อนวอน ขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท. ในคำว่า

ตถาคโตว นั้น มีโยชนาดังต่อไปนี้ :- ในคำที่เธอกล่าวว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงบัญญัติสิกขาบทนั้น พระตถาคตเท่านั้นจักรู้กาลแห่งอันบัญญัติ
สิกขาบทนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงสมัยมิใช่
กาลก่อน จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว สารีปุตฺต ดังนี้. ในคำว่า น ตาว
สารีปุตฺต
เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยว่า อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่านี้
เพราะเหตุนั้น ธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมทั้งหลายอันอาสวะพึงตั้งอยู่ คือไม่พึงผ่านเลยไป เพราะเหตุนั้น ธรรม
เหล่านั้นจึงชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ, อธิบายว่า อาสวะคือทุกข์ และอาสวะ
คือกิเลส อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและในสัมปรายภพ อาสวะมีการค่อนขอด
ของคนอื่น ความวิปฏิสาร การฆ่าและการจองจำเป็นต้น และอาสวะอันเป็น
ทุกข์พิเศษในอบาย ย่อมตั้งอยู่นั่นเทียว ในวิติกกมธรรมเหล่าใด เพราะ
วีติกกมธรรมเหล่านั้น เป็นเหตุแห่งอาสวะมีอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม
เป็นต้นเหล่านั้น.
* วาจาสำหรับประกอบในคำว่า น ตาว เป็นต้นนี้ ดังนี้ว่า วีตกกมธรรม
ทั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยังไม่มีปรากฏในสงฆ์เสียงใด
พระศาสดาจะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลายเพียงนั้น. ก็ถ้าพึงบัญญัติ
ไซร้ ไม่พึงพ้นจากความค่อนขอดของผู้อื่น จากความคัดค้านของผู้อื่น จาก
โทษคือความติเตียน,

[ข้อที่จะถูกตำหนิในการบัญญัติสิกขาบท]


ถามว่า ไม่พึงพ้นอย่างไร ? ตอบว่า จริงอยู่ สิขาบททั้งปวงมี
อาทิว่า โย ปน ภิกฺขุ เมถุนํ ธมมํ ปฏิสเวยฺย ดังนี้ พึงเป็นสิกขาบท
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2480