เมนู

ภิกษุทั้งหลาย. ให้ท่านพระอุบาลี.
ถามว่า พระอานนท์ไม่สามารถหรือ ?
แก้ว่า ไม่สามารถหามิได้. ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง ทรงอาศัยวินัยปริยัติ จึงตั้งท่านพระอุบาลีไว้ใน
เอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาภิกษุทั้งหลาย สาวกของเราผู้ทรงวินัย
อุบาลีเป็นเลิศดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงปรึกษากันว่า พวกเราจะถาม
พระอุบาลีเถระสังคายนาพระวินัย ดังนี้ ลำดับนั้นพระเถระก็ได้สมมติตนเอง
เพื่อต้องการถามพระวินัย. ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็ได้สมมติตนเพื่อประโยชน์
แก่การวิสัชนา.
[

คำสมมติตนปุจฉาวิสัชนาพระวินัย

]
ในการสมมตินั้น มีพระบาลีดังต่อไปนี้ : -
ครั้นนั้นแล ท่านพระมหากัสสป เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้
ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี.1
ฝ่ายพระอุบาลีก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าผู้อันท่านพระมหา-
กัสสปถามแล้วพึงวิสัชนา 2 พระวินัย.
[

ปุจฉาและวิสัชนาพระวินัย

]
ท่านพระอุบาลีครั้นสมมติตนอย่างนั้นแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวร
เฉวียงบ่า ไหว้ภิกษุเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมาสน์จับพัดวีชนี อันวิจิตร
1-2 วิ. จุลฺ. 7 / 380.

ด้วยงา. คราวนั้นพระมหากัสสปนั่งบนเถรอาสน์ แล้วถามพระวินัยกะท่าน
พระอุบาลีว่า ท่านอุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ
ที่ไหน ?
พระอุบาลี. ที่เมืองเวสาลี ขอรับ.
พระมหากัสสป. ทรงปรารภใคร ?
พระอุบาลี. ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร.
พระมหากัสสป. ทรงปรารภในเพราะเรื่องอะไร ?
พระอุบาลี. ในเพราะเรื่องเมถุนธรรม.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอุบาลีถึงวัตถุบ้าง
นิทานบ้าง บุคคลบ้าง บัญญัติบ้าง อนุบัญญัติบ้าง อาบัติบ้าง อนาบัติบ้าง
แห่งปฐมปาราชิก.* เหมือนอย่างว่าท่านพระมหากัสสป ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ
ถามถึงอนาบัติบ้าง แห่งปฐมปาราชิกฉันใด ก็ถามถึงวัตถุบ้าง ฯลฯ อนาบัติ
บ้าง แห่งทุติยปาราชิกฉันนั้น. . . แห่งตติยปาราชิกฉันนั้น. . . ถามถึงวัตถุบ้าง
ฯลฯ อนาบัติบ้าง แห่งจตุตถปาราชิกก็ฉันนั้น. พระอุบาลีเถระอันพระมหา-
กัสสปถามแล้ว ๆ ก็ได้วิสัชนาแล้ว.
[

รวมรวมพระวินัยของภิกษุไว้เป็นหมวด ๆ

]
ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย ยกปาราชิก 4 เหล่านี้ขึ้นสู่สังคหะ
(การสังคายนา) ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ แล้วได้ตั้งสังฆาทิเสส 13 ไว้ว่า
เตรสกัณฑ์ ตั้ง 2 สิกขาบทไว้ว่า อนิยต ตั้ง 30 สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิย -
ปาจิตตีย์ ตั้ง 92 สิกขาบทไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง 4 สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ
ตั้ง 75 สิกขาบทไว้ว่า เสขิยะ ( และ) ตั้งธรรม 7 ประการไว้ว่า อธิกรณ-
สมถะ ดังนี้.
* วิ. จุลฺ. 7 / 382-383.