เมนู

พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรงแสดงไม่. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
ของพวกเรา ก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้ตลอดเวลาเพียง 20 พรรษา ใน
ปฐมโพธิกาลเท่านั้น.

[เหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทำอุโบสถและปาฏิโมกข์]


ต่อมาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งอยู่ที่ปราสาทของ
มิคารมารดา ในบุพพาราม ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย !
ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่แสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย !
ต่อแต่นี้ไปพวกเธอเท่านั้น พึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์, ภิกษุทั้งหลาย !
มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่พระตถาคตจะพึงทำอุโบสถ พึงแสดงปาฏิโมกข์ ใน
บริษัท ผู้ไม่บริสุทธิ์*.
ตั้งแต่นั้นมาพวกภิกษุก็แสดงอาณาปาฏิโมกข์. อาณาปาฏิโมกข์นี้เป็น
ของอันพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ มีพระวิปัสสีเป็นต้น ไม่ทรงยกขึ้นแสดงแก่
ภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนุทฺทิฏฺฐํ
ปาฏิโมกฺขํ.

[เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน]


คำว่า เตสํ พุทฺธานํ ความว่า แห่งพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์
มีพระวิปัสสีเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อนฺตรธาเนน คือ เพราะขันธ์อันตรธาน
ไป, มีอธิบายว่า เพราะปรินิพพาน. บทว่า พุทฺธานุพุทฺธานํ ความว่า
และเพราะความอันตรธานไปแห่งขันธ์ ของเหล่าพระสาวกผู้ได้ตรัสรู้ตาม
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น คือพระสาวกผู้ยังทันเห็นพระศาสดา. คำว่า เย เต
ปจฺฉิมา สาวกา ความว่า เหล่าปัจฉิมสาวกผู้บวชในสำนัก ของพวกสาวก
* วิ. จุลฺล. 7 /292.

ผู้ทันเห็นพระศาสดา, บทว่า นานานามา ความว่า มีชื่อต่าง ๆ กัน ด้วย
อำนาจชื่อมีอาทิว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต สังฆรักขิต. บทว่า นานาโคตฺตา
ความว่า มีโคตรต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจโคตรมีอาทิว่า โคตมะ โมคคัลลานะ.
บทว่า นานาชจฺจา คือมีชาติต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจชาติมีอาทิว่า กษัตริย์
พราหมณ์. สองบทว่า นานากุลา ปพฺพชิตา ความว่า ออกบวชจากตระกูล
ต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจตระกูลกษัตริย์เป็นต้น หรือด้วยอำนาจตระกูลมีตระกูล
สูงตระกูลต่ำ ตระกูลมีโภคะโอฬาร และไม่โอฬารเป็นต้น. คำว่า เต ตํ
พฺรหฺมจริยํ ความว่า เพราะปัจฉิมสาวกเหล่านั้น ทำในใจว่า พวกเรามีชื่อ
เดียวกัน มีโคตรเดียวกัน มีชาติเดียวกัน บวชจากตระกูลเดียวกัน ศาสนา
เป็นแบบแผนประเพณีของพวกเรา จึงช่วยกันรักษาพรหมจรรย์ทำให้เป็นภาระ
ของตน บริหารพระปริยัติธรรมไว้ให้นาน แต่ปัจฉิมสาวกเหล่านี้ ไม่เป็น
เช่นนั้น เพราะฉะนั้น พวกเธอจึงเบียดเบียนกัน ถือความเห็นขัดแย้งกัน
ทำย่อหย่อนด้วยถือเสียว่า พระเถระโน้นจักรู้ พระเถระโน้นจักทราบ พึงยัง
พรหมจรรย์นั้นให้อันตรธานไปพลันทีเดียว คือไม่ยกขึ้นสู่การสังคายนารักษา
ไว้. คำว่า เสยฺยถาปิ เป็นการแสดงไขเนื้อความนั้นโดยข้ออุปมา บทว่า
วิกีรติ แปลว่า ย่อมพัดกระจาย. บทว่า วิธมติ แปลว่า ย่อมพัดไปสู่ที่อื่น.
บทว่า วิทฺธํเสติ แปลว่า ย่อมพัดออกไปจากที่ตั้งอยู่. คำว่า ยถาตํ
สุตฺเตน อสงฺคติตฺตา ความว่า ลมย่อมพัดกระจายไปเหมือนพัดดอกไม้
เรี่ยราย เพราะไม่ได้ร้อย เพราะไม่ได้ผูกด้วยด้ายฉะนั้น. มีคำอธิบายว่า
(ดอกไม้ทั้งหลาย) ที่มิได้ควบคุมด้วยด้าย ย่อมถูกลมพัดกระจัดกระจายไป
ฉันใด ย่อมเรี่ยรายไปฉันนั้น. คำว่า เอวเมว โข เป็นการยังข้ออุปไมยให้
ถึงพร้อม. บทว่า อนฺตรธาเปสํ ความว่า (พวกสาวกภายหลัง) เมื่อไม่

สงเคราะห์ (คือสังคายนาเป็นหมวดหมู่) ด้วยวัคคสังคหะและปัณณาสสังคหะ
เป็นต้น ถือเอาแต่พรหมจรรย์กล่าวคือปริยัติธรรมที่ตนชอบใจเท่านั้น ส่วน
ที่เหลือก็ปล่อยให้พินาศไป คือนำไปสู่ความไม่ปรากฏ.
ข้อว่า กิลาสุโน จ เต ภควนฺโต อเหสํ สาวกานํ เจตสา
เจโต ปริจฺจ โอทิตํ
มีความว่า ดูก่อนสารีบุตร ! อีกอย่างหนึ่งพระพุทธเจ้า
เหล่านั้น ทรงไม่ใฝ่พระหฤทัย เพื่อจะทรงกะ คือกำหนดใจของพวกสาวกด้วย
พระหฤทัยของพระองค์ แล้วทรงสั่งสอน คือทรงทราบจิตของผู้อื่นแล้ว ทรง
แสดการแนะนำพร่ำสอน โดยไม่เป็นภาระหนัก โดยไม่ชักช้า. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ภูตปุพฺพํ สารีปุตฺต ดังนี้ เพื่อประกาศ
ความที่ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงไม่ใฝ่พระหฤทัย. บทว่า ภึสนเก คือ น่า
พึงกลัว ได้แก่ ให้เกิดความน่าสยดสยอง. คำว่า เอวํ วตกฺเกถ ความว่า
พวกเธอจงตรึกกุศลวิตก 3 มีเนกขัมมวิตกเป็นต้น. คำว่า มา เอวํ วิตกฺกยิตฺถ
ความว่า พวกเธออย่าได้ตรึกอกุศลวิตก 3 มีกามวิตกเป็นต้น. คำว่า เอวํ
มนสิ กโรถ
ความว่า พวกเธอจงกระทำไว้ในใจว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ไม่สวยไม่งาม. ข้อว่า มา เอวํ มนสากตฺถ ความว่า พวกเธอ
อย่ากระทำในใจว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา สวยงาม. คำว่า อิทํ ปชหถ
คือจงละอกุศล. คำว่า อทํ อุปสมฺปชฺช วิหรถ ความว่า พวกเธอจงเข้าถึง
กลับได้ คือให้กุศลสำเร็จอยู่เถิด. ข้อว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ
วิมุจฺจึสุ คือหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น. จริงอยู่ จิตของพระสาวกเหล่านั้น
หลุดพ้นจากอาสวะเหล่าใด จิตเหล่านั้นหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่นอาสวะ
เหล่านั้น.* ก็อาสวะทั้งหลายดับไปอยู่ด้วยความดับ คือความไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า
* สารตฺถทีปนี. 1 / 698 แนะให้แปลว่า จริงอยู่ จิตทั้งหลายของพระสาวกเหล่านั้น อันอาสวะ
เหล่าใดหลุดพ้นไปแล้ว อาสวะเหล่านั้นชื่อว่าหลุดพ้นไปแล้ว เพราะไม่ยึดถือจิตเหล่านั้นด้วย
สามารถแห่งอารมณ์.

หลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ถือมั่น*. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสุ.
ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นผู้มีจิตเบิกบาน
เหมือนปทุมวันอันต้องแสงพระอาทิตย์ฉะนั้น.
ในข้อว่า ตตฺร สุทํ สารีปุตฺต ภึสนกสฺส วนสณฺฑสฺส
ภึสนกตสฺมึ โหติ
นี้ คำว่า ตตฺร เป็นคำกล่าวเพ่งถึงคำต้น. คำว่า สุทํ
เป็นนิบาตลงในอรรถเพียงทำบทให้เต็ม. บทว่า สารีปุตฺต เป็นอาลปนะ.
ก็ในคำว่า ตตฺร สุทํ เป็นต้นนี้ มีอรรถโยชนาดังต่อไปนี้ :- บทว่า ตตฺร
ความว่าแห่งไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ภิสนกะ
ในพระดำรัสที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อญฺญตรสฺมึ ภึสนเก วนสณฺเฑ.
อธิบายว่า ภาวะอันน่าพึงกลัว ชื่อว่า ความน่าสยดสยองมีในภาวะน่าสยดสยอง
คือในการทำให้หวาดกลัว. ถามว่า เป็นอย่างไร ? ตอบว่า เป็นอย่างนี้คือ
ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้นโดยมาก โลมชาติย่อม
ชูชัน. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ตตฺร เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.
ศัพท์ว่า สุ เป็นนิบาต ดุจในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า กึสุ นาม เต
โภนฺโต สมณพฺราหฺมณา
แปลว่า สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ชื่อ
อย่างไรซิ. บทว่า อิทํ บัณฑิตพึงเห็นว่า เป็นคำแสดงความหมายตามที่
ประสงค์ดุจทำให้เห็นได้ชัด. คำว่า สุ อิทํ สนธิเข้าเป็น สุทํ. พึงทราบว่า
ลบอิอักษรด้วยอำนาจแห่งสนธิ เหมือนในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า จกฺขุน-
ทฺริยํ อิตฺถินฺทฺริยํ อนญฺญตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยํ กึสูธ วิตฺตํ
แปลว่า
* โยชนาปาฐ 1 / 196 เป็น อนุปาทนิโรเธน ปน อนุปปาทสงฺขาดนิโรธวเสน นิรุชฌมาเน
อาสเว อตฺตานิ วิมุจฺจึสุ แปลว่า ก็จิตทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว เพราะไม่ยึดถือ
อาสวะทั้งหลายที่ดับไปอยู่ด้วยความดับ กล่าวคือ ความไม่เกิดขึ้นอีก.

อินทรีย์ คือจักษุ อินทรีย์ คือหญิง อินทรีย์ คือความตั้งใจว่า จักรู้พระ-
อรหัตที่ยังไม่รู้ อะไรซิ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจในโลกนี้. ก็ในคำนี้มีอรรถ
โยชนาดังต่อไปนี้ : - ดูก่อนสารีบุตร ! ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัว
นั้นเป็นถิ่นน่าสยดสยอง จึงมีคำพูดกันดังนี้แล, บทว่า ภึสนกตสฺมึ ความว่า
ในเพราะไพรสณฑ์เป็นถิ่นที่น่ากลัว. พึงเห็นว่าลบตะอักษรไปตัวหนึ่ง. อนึ่ง
พระบาลีว่า ภึสนกตฺตสฺมึ ดังนี้ก็มี. อนึ่ง ในเมื่อควรจะกล่าวเป็นอิตถีลิงค์ว่า
ภึสนกตาย ท่านก็ทำให้เป็นลิงควิปัลลาส. ก็ในคำว่า ภึสนกตสฺมึ นี้เป็น
สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งนิมิต. เพาะฉะนั้น พึงเห็นสัมพันธ์อย่างนี้ว่า
คำนี้แลย่อมมีในเพราะความที่ไพรสณฑ์น่าพึงกลัว เป็นถิ่นที่มีความสยดสยอง
เป็นนิมิต คือมีคำพูดนี้แล เพราะมีความสยดสยองเป็นเหตุ เพราะมีความ
สยดสยองเป็นปัจจัย ข้อว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์
นั้น โดยมาก โลมชาติย่อมชูชัน ความว่า ขนเป็นอันมากกว่ามาก ย่อมชูชัน
คือตั้งปลายขึ้นเป็นเช่นกับเข็มและเป็นเช่นกับหนาม จำนวนน้อยไม่ชูชัน อนึ่ง
โลมชาติของสัตว์จำนวนมากกว่ามากย่อมชูชัน แต่ของคนผู้กล้าหาญยิ่งน้อยคน
ย่อมไม่ชูชัน.
บัดนี้ คำมีว่า อยํ โข สารีปุตฺต เหตุ เป็นต้น เป็นคำกล่าวย้ำ.
ส่วนคำที่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ ในพระบาลีนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบตามลำดับแห่งพระบาลีนั้นแล. แต่พระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ไม่ดำรงอยู่นาน บัณฑิตพึงทราบว่า พระองค์
ตรัสด้วยอำนาจแห่งยุคของคน.

[ความต่างกันแห่งอายุกาลของพระวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น]


จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีโดยการนับปี มีพระชนมายุแปด-
หมื่นปี แม้พวกสาวกที่พร้อมหน้าของพระองค์ ก็อายุประมาณเท่านั้นปีเหมือน
กัน. พรหมจรรย์ (ศาสนา) สืบต่อด้วยสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ซึ่ง
เป็นองค์สุดท้ายเขาทั้งหมด ตั้งอยู่ได้ตลอดแสนหกหมื่นปี ด้วยประการอย่างนี้.
แต่โดยอำนาจแห่งยุคคน พรหมจรรย์ได้ตั้งอยู่ต่อมา ด้วยความสืบต่อกันแห่งยุค
ตลอดยุคคน 2 ยุคเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ไม่ดำรงอยู่นาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านามว่าสิขี มีพระชนมายุเจ็ดหมื่น
ปี แม้พวกสาวกพร้อมหน้าของพระองค์ ก็มีอายุประมาณเท่านั้นเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสภู มีพระชนมายุหกหมื่นปี แม้วกสาวก
อยู่พร้อมหน้าของพระองค์ ก็มีอายุประมาณเท่านั้นปีเหมือนกัน. พรหมจรรย์
(ศาสนา) สืบต่อด้วยสาวกองค์สุดท้ายเขาทั้งหมด แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนาว่าสิขีและเวสภูแม้นั้นตั้งอยู่ต่อมาได้ประมาณแสนสี่หมื่นปี และประมาณ
แสนสองหมื่นปี. แต่ว่าโดยอำนาจแห่งยุคคน พรหมจรรย์ตั้งอยู่ต่อมาได้ด้วย
การสืบต่อแห่งยุค ตลอดยุคคน 2 ยุคเท่ากัน ๆ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดำรงอยู่ไม่นาน.
ท่านพระสารีบุตร ฟังเหตุแห่งการดำรงอยู่ไม่นานแห่งพรหมจรรย์ของ
พระพุทธเจ้า 3 พระองค์อย่างนี้แล้ว มีความประสงค์จะฟังเหตุแห่งการดำรงอยู่
ได้นาน แห่งพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์นอกนี้ จึงได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าอีก โดยนัย มีอาทิว่า ก็ อะไรเป็นเหตุ พระเจ้าข้า !.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงพยากรณ์แก่ท่าน. คำพยากรณ์นั้นแม้ทั้งหมด
พึงทราบด้วยอำนาจนัยที่ตรงกันข้ามจากที่กล่าวแล้ว. และแม้ในความดำรงอยู่