เมนู

เรื่องปัญหาของพระสารีบุตร


บัดนี้ ท่านพระอุบาลี เมื่อจะแสดงการที่พระสารีบุตรเถระเกิดความ
รำพึง ที่ปฏิสังยุตด้วยสิกขาบท เพื่อแสดงนิทานตั้งต้นแต่เค้าเดิม แห่งการ
ทรงบัญญัติพระวินัย จึงได้กล่าวคำมีอาทิ อถโข อายสฺมโต สารึปุตฺตสฺส
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคตสฺส แปลว่า ไปแล้วในที่สงัด.
บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส แปลว่า หลีกเร้นอยู่ คือถึงความเป็นผู้
โดดเดี่ยว.
บทว่า กตเมสานํ ความว่า บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระ-
วิปัสสีเป็นต้น ที่ล่วงไปแล้ว ของพระพุทธเจ้าพระองค์ไหน ? พรหมจรรย์
ชื่อว่าดำรงอยู่นาน เพราะอรรถว่า พรหมจรรย์นั้นดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
หรือมีการดำรงอยู่นาน. คำที่ยังเหลือในบทว่า อถโข อายสฺมโต เป้นต้นนี้
มีใจความเฉพาะบทตื้นทั้งนั้น.
ถามว่า ก็พระเถระ ไม่สามารถจะวินิจฉัยความปริวิตกของตนนี้
ด้วยตนเองหรือ ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- พระเถระ ทั้งสามารถ ทั้งไม่สามารถ.
จริงอยู่ พระสารีบุตรเถระนี้ ย่อมสามารถวินิจฉัยเหตุมีประมาณเท่านี้ได้ คือ
ธรรมดาศาสนาของพรพุทธเจ้าเหล่านี้ดำรงอยู่ไม่ได้นาน, ของพระพุทธเจ้า
เหล่านี้ ดำรงอยู่ได้นาน แต่ท่านไม่สามารถจะวินิจฉัยเหตุนี้ว่า ศาสนาดำรงอยู่
ไม่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดำรงอยู่ได้นาน เพราะเหตุนี้ ดังนี้.

ส่วนพระมหาปทุมเถระ กล่าวไว้ว่า เหตุการณ์แม้นั่น ก็เป็นของ
ไม่หนักแก่พระอัครสาวก ผู้ได้บรรลุที่สุดยอดแห่งปัญญา 16 อย่างเลย, ส่วน
การที่พระอัครสาวก ผู้อยู่ในสถานที่เดียวกันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำการ
วินิจฉัยเสียเอง ก็เป็นเช่นกับการทิ้งตราชั่งแล้วกลับชั่งด้วยมือ ; เพราะเหตุนั้น
พระเถระจึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียทีเดียว. ถัดจากนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาคำทูลถามของพระเถระนั้น จึงตรัสพระดำรัส
มีอาทิว่า ภควโต จ สารีปุตฺต วิปสฺสิสฺส ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น.
พระเถระ เมื่อจะทูลถามถึงเหตุการณ์ต่อไปอีก จึงได้กราบทูลคำมี
อาทิว่า โก นุ โข ภนฺเต เหตุ (ที่แปลว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุ พระเจ้าข้า!)
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข ภนฺเต เป็นคำทูลถามถึง
เหตุการณ์. ใจความแห่งบทนั้นว่า เหตุเป็นไฉนหนอแล พระเจ้าข้า !
คำทั้งสองนี้คือ เหตุ ปจฺจโย เป็นชื่อแห่การณ์ จริงอยู่ การณ์
ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นเครื่องไหลออก คือเป็นไปแห่งผลของการณ์นั้น.
เพราะผลอาศัยการณ์นั้นแล้วจึงดำเนิน คือจึงเป็นไปได้ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
ปัจจัย. บทแม้ทั้งสองนี้ในที่นั้น ๆ แม้เป็นอันเดียวกันโดยใจความถ้อยคำ ดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น. คำที่เหลือในคำว่า โก นุ โข เป็นต้นนี้ ก็มีเนื้อความ
ตื้นทั้งนั้น.

[พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพราะบริษัทมีมากหรือน้อยก็หาไม่]


ก็เพื่อแสดงเหตุและปัจจัยนั้น ในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สารีปุตฺต วิปสฺสี.