เมนู

ให้สุกเอง ของพวกภิกษุ ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล เรียกว่า ได้
ทูลบอกข้อความนั่นแล้ว.

[พวกภิกษุจำพรรษาเมืองเวรัญชาชำนะความอดอยากได้]


ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำให้ท่านพระอานนท์รื่นเริง
จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดีละ ดีละ อานนท์ ! ก็แลครั้นทรงประทานสาธุการ
แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมยอมรับเอาอาการอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการทั้ง 2
จึงได้ตรัสรู้ ดูก่อนอานนท์ ! พวกเธอเป็นสัตบุรุษ ชนะวิเศษแล้ว. พวก
เพื่อนสพรหมจารีชั้นหลัง จักดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุกที่ระคนด้วยเนื้อ.
ในคำว่า ตุมฺเหหิ เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- (พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า) ดูก่อนอานนท์ ! ในคราวทุพภิกขภัย คือ ในคราวที่มี
ก้อนข้าวอันหาได้ยากอย่างนี้ พวกท่านเป็นสัตบุรุษชนะวิเศษแล้ว ด้วยความ
เป็นผู้ประพฤติเบานี้ และด้วยธรรมอันเป็นเครื่องขูดเกลานี้.
ถามว่า พวกเธอชนะอะไร ?
แก้ว่า ชนะทุพภิกขภัยได้ ชนะความโลภได้ ชนะความประพฤติ
ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาได้.
ถามว่า ชนะอย่างไร ?
แก้ว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมไม่มีความคิด หรือความคับแค้นใจว่า
เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก แต่บ้านและนิคมในระหว่างโดยรอย (แห่ง
เมืองเวรัญชานี้) มีข้าวกล้าโน้มลงด้วยความหนักคือผล คือว่ามีภิกษาดี มี
ก้อนข้าวหาได้โดยง่าย เอาเถิดพวกเราไปที่บ้านและนิคมนั้นแล้ว จึงจักฉัน,
แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะทรงรับเอาพวกเราอยู่ในเมืองนี้

ทีเดียว ดังนี้. ทุพภิกขภัยอันภิกษุเหล่านั้นชนะได้แล้ว คือครอบงำได้แล้ว
ได้แก่ให้เป็นไปในอำนาจตนแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ก่อน.
ถามว่า ชนะความโลภได้อย่างไร ?
แก้ว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ได้ทำให้ราตรีขาดด้วยอำนาจแห่งความ
โลภว่า เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก, ส่วนบ้านและนิคมในระหว่าง
โดยรอบ (แห่งเมืองเวรัญชานี้) มีข้าวกล้าโน้มลงด้วยความหนัก คือผล ได้แก่
มีภิกษาดี มีก้อนข้าวหาได้โดยง่าย เอาเถิด พวกเราจักพากันไปฉันที่บ้านและ
นิคมนั้น หรือไม่ได้ทำให้พรรษาขาด ด้วยคิดว่า พวกเราจะเข้าจำพรรษา
ในบ้านและนิคมนั้น ในพรรษาหลังดังนี้, ความโลภอันภิกษุเหล่านั้นชนะ
ได้แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
ถามว่า ชนะความประพฤติ ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาได้อย่างไร ?
แก้ว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่ได้ให้ความปรารถนาเห็นปานนี้เกิดขึ้น
เลยว่า เมืองเวรัญชานี้ ภิกษาหาได้ยาก และมนุษย์ทั้งหลายนี้ ย่อมไม่สำคัญ
พวกเรา แม้ผู้พักอยู่ตั้ง 2-4 เดือน ในคุณอะไรเลย ไฉนหนอ ! พวกเรา
ทำการค้าคุณธรรม (อวดอุตริมนุสธรรม) คือ ประกาศซึ่งกันและกัน แก่
มนุษย์ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปโน้น ได้ปฐมฌาน ฯลฯ รูปโน้นได้
อภิญญา 6 ดังนี้ แล้วปรนปรือท้อง ภายหลัง จึงค่อยอธิษฐานศีล ดังนี้,
ความประพฤติด้วยอำนาจแห่งความปรารถนา อันภิกษุเหล่านั้นชนะได้แล้ว
คือ ครอบงำได้แล้ว เป็นไปในอำนาจของตนแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.
ส่วนในอนาคต เพื่อพรหมจารีชั้นหลัง นั่งอยู่ในวิหารแล้ว แม้ได้
(ภัตตาหาร) โดยความยากลำบากเพียงเล็กน้อย ก็จะดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุก

ที่ระคนด้วยเนื้อ คือ จักทำให้เป็นของดูหมิ่น น่าติเตียน โดยนัยเป็นต้นว่า
ข้าวสุกนี้อะไรกัน ? เป็นท้องเล็น แฉะไป ไม่เค็ม เค็มจัด ไม่เปรี้ยว
เปรี้ยวจัด จะประโยชน์อะไรด้วยข้าวสุกนี้ ? ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง (พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิบายไว้ว่า) ขึ้นชื่อว่า
ชนบทจะมีภิกษาหาได้ยากตลอดกาล ก็หามิได้ คือ บางคราว ก็มีภิกษาหา
ได้ยาก บางคราว ก็มีภิกษาหาได้ง่าย ในกาลใด ชนบทนี้นั้น จักมีภิกษา
หาได้ง่าย ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายเสื่อมใสต่อข้อปฏิบัตินี้ ของพวกท่าน
ผู้เป็นสัตบุรุษแล้ว จักสำคัญข้าวสาลีวิกัติ และข้าวสุกที่ระคนด้วยเนื้อ อันมี
ประการหลายอย่าง โดยประเภทมีข้าวต้มและของขบฉันเป็นต้น ที่ตนพึงถวาย
แก่ภิกษุทั้งหลาย, ปัจฉิมชนตาชน กล่าวคือ เพื่อนสพรหมจารี ของพวกท่าน
นั่งอยู่ในระหว่างพวกท่านแล้ว เสวยอยู่ซึ่งสักการะ ที่อาศัยพวกท่านเกิดขึ้น
แล้วนั่นแล จักดูเหมือน และจะทำความดูถูก อันมีการเสวยสักการะนั้นเป็น
ปัจจัย.
ถามว่า จักทำความดูถูกอย่างไร ?
แก้ว่า จักทำความดูถูกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงหุงต้ม
ภัตมีประมาณเท่านี้เล่า ? ภาชนะของพวกท่าน ซึ่งเป็นที่ที่พวกท่านจะพึงใส่
ของ ๆ ตนเก็บไว้ ไม่มีหรือ ?

มหาโมคคัลลานสีหนาทกถา


ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า อถโข อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน
มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อายสฺมา นี้ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก, บทนี้เป็นเรื่องแห่ง
ความเคารพ และความยำเกรงโดยฐานครู.
บทว่า มหาโมคฺคลฺลาโน ความว่า พระเถระนั้นชื่อว่า มหา
โดยความเป็นผู้มีคุณใหญ่ และชื่อว่า โมคคัลลานะ โดยโคตร เพราะเหตุนั้น
พระเถระนั้น จึงชื่อว่า มหาโมคคัลลานะ.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูล
คำนี้ (กะพระผู้มีพระภาคเจ้า) คือแสดงคำเป็นต้น ที่ตนควรกราบทูลในบัดนี้
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บัดนี้ (เมืองเวรัญชามีภิกษาหาได้ยาก) ดังนี้.

[ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลขออนุญาตพลิกแผ่นดิน]


ถามว่า ท่านมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูล (คำนี้) เพราะเหตุไร ?
แห่งสาวกบารมีญาณ ทั้งพระศาสดา ก็ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เพราะความที่ท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก. พระเถระนั้นอาศัยความที่ตนเป็นผู้มีฤทธิ์
มากนั้น จึงดำริว่า เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก และภิกษุทั้งหลาย
ก็ย่อมลำบาก, ถ้าไฉนหนอ เราจะพลิกแผ่นดิน แล้วให้ภิกษุทั้งหลายฉันง้วน
ดิน. คราวนั้นท่านได้มีความรำพึงดังนี้ว่า ก็ถ้าว่า เมื่อเราอยู่ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่ทูลขอกะพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพึงทำอย่างนั้นไซร้