เมนู

ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระอนุพยัญชนะ 80 หรือแก่
พระรัศมี ที่ซ่านออกข้างละวาได้. จริงอยู่ รัศมีแม้แห่งพระจันทร์ พระอาทิตย์
เทวดาและพรหม พอไปถึงประเทศแห่งพระอนุพยัญชนะและพระรัศมีที่ซ่าน
ออกข้างละวา ของพระตถาคตแล้ว ก็หมดอานุภาพไป 1,
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำอันตรายแก่พระสัพพัญญุตญาณ ของพระ
พุทธเจ้าทั้งหลายได้ 1 (รวมเป็น 4 อย่าง ด้วยประการฉะนี้).
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้ง
พระสงฆ์สาวกเสวยและฉันภิกษา ที่มารทำอันตรายไม่ได้ในคราวนั้น.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสิ่งที่เป็นประโยชน์]


ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเสวยอยู่อย่างนั้น วันหนึ่ง (ได้ทรง
สดับเสียงครกแล).
หลายบทว่า อสฺโสสี โข ภควา อุทุกฺขลสทฺทํ ความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า ได้ทรงสดับเสียงครก ที่เกิดเพราะสากกระทบ (ครก) ของพวก
ภิกษุผู้โขลกตำข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ อยู่. พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย
กล่าวคำเป็นต้น ซึ่งมีต่อจากคำนั้นไปอย่างนี้ว่า พระตถาคตทั้งหลาย แม้
ทรงทราบอยู่ ดังนี้ ก็เพื่อแสดงการเฉลยพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามข้างหน้าว่า ดูก่อนอานนท์ ! นั้นเสียงครกหรือหนอแล ?
ในคำเหล่านั้น มีการพรรณนาโดยสังเขปดังต่อไปนี้ :-
ธรรมดาว่า พระตถาคตทั้งหลาย แม้เมื่อทรงทราบอยู่ ถ้าเหตุแห่ง
การถามเช่นนั้น มีอยู่ไซร้ จึงตรัสถาม, แต่ถ้าเหตุแห่งการถามเช่นนั้น ไม่มี
ไซร้, ถึงทราบอยู่ ก็ไม่ตรัสถาม. ก็เพราะขึ้นชื่อว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่ทรงทราบ ไม่มี, เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวคำว่า แม้เมื่อไม่รู้.

หลายบทว่า กาลํ วิทิตฺวา ปุจฺฉนฺติ ความว่า ถ้าเวลาแห่งการ
ตรัสถามนั้น ๆ มีอยู่ไซร้, ทรงทราบกาลนั้นแล้ว จึงตรัสถาม ถ้าเวลา
แห่งการตรัสถามนั้น ไม่มีไซร้, ทรงทราบกาลแม้อย่างนั้นแล้ว ก็ไม่ตรัสถาม.
อนึ่ง พระตถาคตทั้งหลาย แม้เมื่อจะตรัสถามอย่างนั้น ย่อมตรัสถามแต่คำที่
ประกอบด้วยประโยชน์ คือ ย่อมตรัสถามเฉพาะแต่คำที่อิงอาศัยประโยชน์
อิงอาศัยเหตุเท่านั้น หาตรัสถามคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่. เพราะ
เหตุไร ? เพราะพระตถาคตทั้งหลาย ทรงขจัดคำที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
เสียได้ด้วยมรรคชื่อว่าเสตุ. มรรคท่านเรียกวา เสตุ. มีคำอธิบายไว้ว่า การขจัด
คือ การตัดขาดด้วยดี ซึ่งคำเช่นนั้นด้วยมรรคนั่นเอง.
บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงถึงพระดำรัส ที่อิงอาศัย
ประโยชน์ซึ่งพระตถาคตทั้งหลายตรัสถามนั้น ในบทว่า อตฺถสญฺหิตํ นี้
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ทฺวีหิ อากาเรหิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาเรหิ คือ ด้วยเหตุทั้งหลาย.
สองบทว่า ธมฺมํ วา เทเสสฺสาม ความว่า เราจักแสดงพระสูตร
ที่ประกอบด้วยอัตถุปปัตติเหตุ (คือเรื่องที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า) หรือชาดกที่
ประกอบด้วยเหตุแห่งบุรพจริต (คือความประพฤติในชาติก่อน)
หลายบทว่า สาวกานํ วา สิกฺขาปทํ ปญฺญาเปสฺสาม ความว่า
หรือเราจักทำโทษที่ล่วงเกินให้ปรากฏ ด้วยการถามนั้น แล้วจักบัญญัติสิขาบท
คือตั้งข้อบังคับหนักหรือเบาไว้แก่สาวกทั้งหลาย.
ในคำว่า อถโข ภควา ฯ เป ฯ เอตมตฺถํ อาโรเจสิ นี้ หามี
คำอะไร ๆ ที่ควรกล่าวไว้ไม่. เพราะว่า ท่านพระอานนท์เมื่อทูลบอกการได้
ข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ความเป็นผู้มีความประพฤติเบา และเปลื้องจากการหุงต้ม

ให้สุกเอง ของพวกภิกษุ ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล เรียกว่า ได้
ทูลบอกข้อความนั่นแล้ว.

[พวกภิกษุจำพรรษาเมืองเวรัญชาชำนะความอดอยากได้]


ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำให้ท่านพระอานนท์รื่นเริง
จึงได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดีละ ดีละ อานนท์ ! ก็แลครั้นทรงประทานสาธุการ
แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมยอมรับเอาอาการอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการทั้ง 2
จึงได้ตรัสรู้ ดูก่อนอานนท์ ! พวกเธอเป็นสัตบุรุษ ชนะวิเศษแล้ว. พวก
เพื่อนสพรหมจารีชั้นหลัง จักดูหมิ่นข้าวสาลีและข้าวสุกที่ระคนด้วยเนื้อ.
ในคำว่า ตุมฺเหหิ เป็นต้นนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- (พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า) ดูก่อนอานนท์ ! ในคราวทุพภิกขภัย คือ ในคราวที่มี
ก้อนข้าวอันหาได้ยากอย่างนี้ พวกท่านเป็นสัตบุรุษชนะวิเศษแล้ว ด้วยความ
เป็นผู้ประพฤติเบานี้ และด้วยธรรมอันเป็นเครื่องขูดเกลานี้.
ถามว่า พวกเธอชนะอะไร ?
แก้ว่า ชนะทุพภิกขภัยได้ ชนะความโลภได้ ชนะความประพฤติ
ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนาได้.
ถามว่า ชนะอย่างไร ?
แก้ว่า แม้ภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมไม่มีความคิด หรือความคับแค้นใจว่า
เมืองเวรัญชานี้ มีภิกษาหาได้ยาก แต่บ้านและนิคมในระหว่างโดยรอย (แห่ง
เมืองเวรัญชานี้) มีข้าวกล้าโน้มลงด้วยความหนักคือผล คือว่ามีภิกษาดี มี
ก้อนข้าวหาได้โดยง่าย เอาเถิดพวกเราไปที่บ้านและนิคมนั้นแล้ว จึงจักฉัน,
แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะทรงรับเอาพวกเราอยู่ในเมืองนี้