เมนู

บทว่า ปตฺตจีวรมาทาย ความว่า เอามือทั้ง 2 อุ้มบาตร เอาจีวร
คล้องกาย อธิบายว่า รับไว้ คือพาดไว้. จริงอยู่ พวกภิกษุเมื่อถือเอา
(บาตรและจีวร) ด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ท่านก็เรียกว่า ถือเอา เหมือนกัน.
เหมือนในประโยคว่า พอถือเอาได้เท่านั้น ก็หลีกไป ดังนี้.
สองบทว่า ปิณฺฑํ อลภมานา ความว่า เทียวไปทั่วทั้งเมืองเวรัญชา
อย่าว่าแต่ก้อนข้าวเลย ไม่ได้โดยที่สุดแม้เพียงคำว่านิมนต์ โปรดสัตว์ข้างหน้า
เถิด.

[พวกภิกษุได้ข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ นำไปจัดการฉันเอง]


หลายบทว่า ปตฺถปตฺถปุลกํ อารามํ หริตฺวา ความว่า ถือเอา
ข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ที่ตนได้ในที่ที่ไปแล้ว ๆ นำไปยังอาราม.
หลายบทว่า อุทุกฺขเล โกฏฺเฏตฺวา ปริภุญฺชนฺติ ความว่า
ใคร ๆ ผู้ที่จะเป็นกัปปิยการกรับเอาข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ นั้น ไปหุงต้มเป็น
ข้าวต้มหรือข้าวสวย ถวายแก่พระเถระเหล่านั้น ย่อมไม่มี. การหุงต้มแม้เอง
ย่อมไม่เป็นสมณสารูป ทั้งไม่สมควร. ภิกษุเหล่านั้นรวมเป็นพวก ๆ พวกละ
8 รูปบ้าง พวกละ 10 รูปบ้าง ปรึกษากันว่า ความเป็นผู้มีความประพฤติเบา
และเปลื้องจากการหุงต้มให้สุกเอง จัดมีแก่พวกเรา ด้วยวิธีอย่างนี้ ดังนี้
จึงโขลกตำในครกแล้วเอาน้ำชุบส่วนของตน ๆ ให้ชุ่มแล้วก็ฉัน ครั้นเธอ
เหล่านั้นฉันแล้วก็เป็นผู้มีขวนขวายน้อย บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ด้วยประการ
ฉะนี้.

[พ่อค้าม้าถวายข้าวแดงแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า]


ส่วนพวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ก็ถวายข้าวแดงแล่งหนึ่ง และเนยใส น้ำผึ้ง
และน้ำตาลกรวดที่ควรแก่ข้าวแดงนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์

นำเอาข้าวแดงนั้นมาบดที่ศิลา. ข้าวแดงนั้นอันบุรุษบัณฑิตผู้มีบุญทำแล้ว ย่อม
เป็นที่ชอบใจทีเดียว. คราวนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นบดข้าวแดงนั้น ก็ปรุง
ด้วยเครื่องปรุงมีเนยใสเป็นต้น น้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ขณะนั้น พวกเทวดา ได้แทรกทิพโยชาลงในข้าวแดงที่ปรุงนี้. พระผู้มี
พระภาคเจ้า ก็เสวยพระกระยาหารที่บดถวายนั้น ครั้นเสวยแล้วก็ทรงยังกาล
ให้ผ่านไปด้วยผลสมาบัติ จำเนียรกาลตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เสด็จเที่ยวทรงบาตร.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว 20 ปี ไม่มีผู้อุปัฏฐากประจำ]


ถามว่า ก็คราวนั้น พระอานนทเถระ ยังไม่ได้เป็นผู้อุปัฏฐากของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ ?
แก้ว่า ยังไม่ได้เป็น ทั้งท่านก็ไม่ได้รับตำแหน่งผู้อุปัฏฐากเลย.
ความจริง ในครั้งปฐมโพธิกาล ชื่อว่าภิกษุผู้อุปัฏฐากประจำ ของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ในภายใน 20 พรรษา ย่อมไม่มี. บางคราว พระนาคสมาลเถระ
อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า, บางคราว พระนาคิตเถระ, บางคราว พระ-
เมฆิยเถระ, บางคราว พระอุปวาณเถระ, บางคราว พระสาคตเถระ,
บางคราว พระเถระผู้เป็นโอรสของเจ้าลิจฉวี ชื่อสุนักขัตตะ อุปัฏฐากพระผู้มี
พระภาคเจ้า. พระเถระเหล่านั้นอุปัฏฐากตามความพอใจของตนแล้ว ก็หลีกไป
ในเวลาที่ตนปรารถนา (จะหลีกไป). พระอานนทเถระ เมื่อท่านเหล่านั้น
อุปัฏฐากอยู่ ก็เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย เมื่อท่านเหล่านั้นหลีกไปแล้ว ก็ทำ
วัตรปฏิบัติเสียเอง ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงใฝ่พระทัยอยู่ว่า พระญาติ
ผู้ใหญ่ของเรา ไม่ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อุปัฏฐากก่อน แม้ก็จริง ถึงกระนั้น
พระอานนท์นี้แหละ เป็นผู้สมควรในฐานะทั้งหลายเห็นปานนี้ ดังนั้น จึงทรง
นิ่งเงียบไว้ เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ท่านพระอานนท์