เมนู

[พ่อค้าม้าถวายข้าวทะนานหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง]


ข้อว่า เตน โข ปน สมเยน อุตฺตราปถกา อสฺสวาณิชา
ฯ เป ฯ อสฺโสสิ โข ภควา อุทุกฺขลสทฺทํ
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตน ความว่า โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัย
เมืองเวรัญชาจำพรรษานั้น พวกพ่อค้าม้า ผู้อยู่ในอุตราปถชนบท หรือผู้
ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะมาจากอุตตราปถชนบท รับ (ซื้อ) เอาม้า 500 ตัว
ในสถานที่เป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลายในอุตตราปถชนบทแล้ว เมื่อปรารถนา
รายได้ (ผลกำไร) 2-3 เท่า ก็ไปยังต่างประเทศ แล้วเข้าพักฤดูฝนอยู่ใน
เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยฝูงม้ามีประมาณ 500 ซึ่งเป็นสินค้าที่ตนจะต้องขาย
เหล่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงต้องพักอยู่เช่นนั้น ?
แก้ว่า เพราะว่าในประเทศนั้น ใคร ๆ ไม่อาจเดินทางไกล ตลอด
4 เดือนในฤดูฝนได้. . . ก็พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น เมื่อจะเข้าพักฤดูฝน จึงได้สั่ง
ให้นายช่างสร้างเรือนพักสำหรับตน และโรงม้าสำหรับพวกม้าไว้ในสถานที่น้ำ
จะท่วมไม่ได้ ในภายนอกพระนครแล้ว กั้นรั้วไว้. สถานที่พักของพวกพ่อค้า
เหล่านั้น ๆ ปรากฏว่า อัสสมัณฑลิกา (คอกม้า) เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ได้ตกแต่งข้าวแดง
แล่งหนึ่ง ๆ สำหรับภิกษุทั้งหลายไว้ที่คอกม้า ดังนี้.
บทว่า ปตฺถปตฺถปุลกํ ได้แก่ ข้าวแดงมีประมาณแล่งหนึ่ง ๆ
สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง ๆ ชื่อว่าแล่งหนึ่ง มีประมาณเท่าทะนานหนึ่ง เพียงพอ
เพื่อเลี้ยงอัตภาพให้เป็นไป สำหรับคนหนึ่ง. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ข้าวสุกแล่งหนึ่งนี้ ไม่เพียงพอเพื่อเลี้ยงอัตภาพให้เป็นไปสำหรับคน
2 คน.*
ข้าวสารเหนียว ที่บุคคลทำให้หมดแกลบแล้วนึ่งให้สุกจึงถือเอา เขา
เรียกชื่อว่า ข้าวแดง. จริงอยู่ ถ้าข้าวสารเหนียวนั้น ยังมีแกลบอยู่ สัตว์จำพวก
ตัวแมลง ย่อมเจาะไชได้ ย่อมไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะฉะนั้น พวกพ่อค้า
เหล่านั้น ได้ทำให้เป็นของควรเก็บไว้ได้นาน แล้วถือเอาข้าวสารเหนียว จึง
เดินทางไกล ด้วยคิดว่า ในสถานที่ใด หญ้าอันเป็นอาหารที่พวกม้ากิน จักเป็น
ของหาได้ยาก ในสถานที่นั้นแล ข้าวสารเหนียวนั้น จักเป็นอาหารของม้า.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกพ่อค้าเหล่านั้น จึงได้ตกแต่งข้าวสาร-
เหนียวนั้นไว้สำหรับภิกษุทั้งหลาย ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- จริงอยู่ พวกมนุษย์ชาวอุตตราปถ-
ชนบทเหล่านั้น จะเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เหมือนอย่างพวก
มนุษย์ชาวทักขิณาปถชนบทหามิได้. ความจริง พวกมนุษย์ชาวอุตตราปถชนบท
เหล่านั้น เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส เป็นพุทธมามกะ ธรรมมามกะ
สังฆมามกะ, พวกพ่อค้าเหล่านั้น ในเวลาเช้า เมื่อเข้าไปยังเมืองด้วยกรณียกิจ
บางอย่างนั่นเอง ได้พบภิกษุ 7-8 รูป ผู้นุ่งห่มเรียบร้อย สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
เที่ยวไปบิณฑบาตแม้ทั่วเมืองก็ไม่ได้วัตถุอะไร ๆ ตั้ง 2-3 วัน ครั้นเห็นแล้ว
พวกพ่อค้าเหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย อาศัยเมืองนี้
อยู่จำพรรษา ฉาตกภัยก็กำลังเป็นไป และท่านเหล่านี้ก็ไม่ได้วัตถุอะไร ๆ
ย่อมลำบากเป็นอย่างยิ่ง ทั้งพวกเราก็เป็นอาคันตุกะ ย่อมไม่อาจตระเตรียม
ข้าวต้ม และข้าวสวยถวายพระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้น ทุกวัน ๆ ได้ แต่ม้าทั้งหลาย
* ขุ. ชา. 27 / 333. ชาตกฏฺฐกถา. 8 / 291

ของพวกเราได้อาหารสองมื้อ คือในเวลาเย็นและเวลาเช้า ไฉนหนอพวกเรา
พึงแบ่งถวายข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ จากอาหารมือเช้าของม้า
ตัวหนึ่ง ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ลำบาก ทั้งม้าก็จัก
พอยังชีวิตให้เป็นไปได้.
พวกพ่อค้าเหล่านั้น จึงไปยังสำนักของภิกษุทั้งหลายเรียนบอกข้อความ
นั่นให้ทราบ แล้วเรียนขอว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จงได้รับข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ แล้วทำให้เป็นอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งฉันเถิด
ดังนี้แล้ว จึงได้ตกแต่งข้าวแดงแล่งหนึ่ง ๆ ไว้ทุกวัน ๆ เพราะเหตุนั้น
ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า พวกพ่อค้าม้าเหล่านั้น ได้ตกแต่งข้าวแดง
แล่งหนึ่ง ๆ สำหรับภิกษุทั้งหลายไว้ที่คอกม้า.
บทว่า ปญฺณตฺตํ แปลว่า ได้ตั้งไว้แล้ว โดยสังเขปอย่างนิตยภัต.

[อรรถาธิบาย ปุพพัณหสมัยศัพท์]


บัดนี้ ควรทราบวินิจฉัยในคำว่า ภิกฺขู ปุพฺพณฺหสมยํ นิวาเสตฺวา
เป็นต้นต่อไป :-
บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ แปลว่า สมัยอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งวัน
อธิบายว่า ในปุพพัณหสมัย. อีกอย่างหนึ่ง สมัยตอนเช้า ชื่อว่า ปุพพัณห-
สมัย ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ขณะหนึ่งในเวลาเช้า. เมื่ออธิบายอย่างนี้
ทุติยาวิภัตติ ย่อมได้ในอรรถแห่งอัจจันตสังโยค.
บทว่า นิวาเสตฺวา แปลว่า นุ่งห่มแล้ว. บทว่า นิวาเสตฺวา
นั่นพึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการผลัดเปลี่ยนการนุ่งห่มในวิหาร. ในกาลก่อน
แต่เวลาเที่ยวบิณฑบาตนั้น ภิกษุเหล่านั้น จะไม่ได้นุ่งห่ม ก็หามิได้เลย.