เมนู

เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย


หลายบทว่า เตน โข ปน สมเยน เวรณฺชา ทุพฺภิกฺขา โหต
ความว่า โดยสมัยที่เวรัญชพราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมือง
เวรัญชาจำพรรษานั้น เมืองเวรัญชา เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก.
บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้โดยยาก. ก็ความมีภิกษา
หาได้ยากนั้น ย่อมมีในถิ่นที่พวกมนุษย์ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ในเวลา
ที่ข้าวกล้าสมบูรณ์ดีก็ตาม ในเวลาปุพพัณณะและอปรัณณะมีราคาถูกก็ตาม
(มีราคาตกต่ำ). แต่ในเมืองเวรัญชา หาได้เป็นอย่างนั้นไม่ โดยที่แท้ ได้มี
เพราะโทษคือความอดยาก เหตุที่มีข้าวกล้าเสียหาย เพราะฉะนั้น ท่านพระ
อุบาลีเถระ เมื่อจะแสดงความข้อนั้น จึงกล่าว่า ทฺวีหิติกา ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า ทฺวีหิติกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า ทฺวีหิติกา ได้แก่ ความพยายามที่เป็นไปแล้ว 2 อย่าง.
ความเคลื่อนไหว ชื่อว่า อีหิตะ (ความพยายาม). ความพยายามนี้เป็นไปแล้ว
2 อย่างคือ จิตตอิริยา (ความเคลื่อนไหวแห่งจิต) 1 จิตตอีหา (ความ
พากเพียรแห่งจิต) 1.
ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเคลื่อนไหวแห่งจิต
ที่เป็นไปแล้ว 2 อย่างนี้ คือ พวกเราขอวัตถุอะไร ๆ อยู่ในที่นี้จักได้หรือจัก
ไม่ได้หนอแล อีกอย่างหนึ่ง พวกเราจักอาจเพื่อเป็นอยู่หรือจักไม่อาจหนอแล.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ทฺวีหิติกา แปลว่า เป็นผู้อยู่อย่างฝืดเคือง.
จริงอยู่ บททั้งหลายเป็นต้นคือ อีหิตํ (ความพยายาม) อีหา (ความพรากเพียร)

อิริยนํ (ความเคลื่อนไหว) ปวตฺตนํ (ความเป็นไป) ชีวิตํ (ความเป็นอยู่)
มีใจความอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น ในบทว่า ทฺวีหิติกา นี้ จึงมีใจความ
เฉพาะบทดังนี้ คือ ความพยายามความเป็นทุกข์ ย่อมเป็นไปในเมือง
เวรัญชานี้ เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า ทฺวีหิติกา.
บทว่า เสตฏฺฐิกา ความว่า เมืองเวรัญชา ชื่อว่ามีกระดูกคนตาย
ขาวเกลื่อน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ที่เมืองเวรัญชานี้มีกระดูกขาวเกลื่อน.
มีอธิบายว่า ซากศพของพวกมนุษย์กำพร้า ผู้ขอแม้ตลอดวันก็ไม่ได้อะไร ๆ
ตายแล้ว มีกระดูกสีเหมือนเห็ดหัวงูเกลื่อนกลาดอยู่ในที่นั้น ๆ . ปาฐะว่า
เสตัฏฏิกา ดังนี้บ้าง. ความหมายแห่งปาฐะนั้นว่า โรคตายขาว มีอยู่ในเมือง
เวรัญชานี้ เหตุนั้นเมืองเวรัญชานี้ จึงชื่อว่า มีโรคตายขาว. ความอาดูร คือ
ความเสียดแทงเพราะความเจ็บไข้ ชื่อว่า อัฏฏิ. ก็ในเมืองเวรัญชานั้น ใน
เวลาที่ข้ากล้ามีท้องมาน รวงข้าวสาลีก็ดี รวงข้าวเหนียวและข้าวละมานก็ดี
มีสีขาว ๆ ถูกโรคตายขาวนั่นเองทำให้เสีย ก็ขาดน้ำนม ไม่มีเมล็ดข้าวสารงอก
ออกมา (คือตกเป็นรวงออกมา) เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานี้ ท่านจึงเรียกว่า
เสตัฏฏิกา (เมืองมีโรคข้าวกล้าตายขาว).

[เมืองเวรัญชามีปันส่วนซื้ออาหารเลี้ยงชีพ]


ในเวลาหว่าน ข้าวกล้าที่ประชาชนแม้ผสมพันธุ์หว่านไว้ดีแล้ว ย่อม
สำเร็จเป็นสลากเท่านั้น ในเมืองเวรัญชานั้น เพราะเหตุนั้น เมืองเวรัญชานั้น
จึงชื่อว่า มีข้าวกล้าที่หว่านสำเร็จเป็นสลาก. อีกอย่างหนึ่ง ประชาชน
ทั้งหลาย ย่อมให้ชีวิตเป็นไปในเมืองเวรัญชานั้นด้วยสลาก (คือการแจงบัตร)
เพราะฉะนั้น เมืองเวรัญชานั้น จึงชื่อว่า มีชีวิตเป็นไปได้ด้วนสลาก.