เมนู

พระเถระ. ขอถวายพระพรมหาบพิตร ! ขอพระองค์โปรดเกล้า ฯ
ให้สร้างสถานที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนา.
ราชา. จะให้ข้าพเจ้าสร้าง ณ ที่ไหน เจ้าข้า ?
เถระ. ควรสร้างที่ประตูถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต ขอถวาย
พระพร.
[

พระราชารับสั่งให้ประดับถ้ำดุจวิมานพรหม

]
พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับสั่งว่า ได้ เจ้าข้า ! ดังนี้ แล้วรับสั่งให้สร้าง
มณฑปที่มีเครื่องประดับอันเป็นสาระซึ่งควรทัศนา เช่นกับสถานที่อันวิสสุกรรม
เทพบุตรนิรมิตไว้ มีฝาเสาและบันไดอันนายช่างจำแนกไว้ดี วิจิตรด้วยมาลา-
กรรมและลดากรรมนานาชนิด ราวกะว่าจะครอบงำเสียซึ่งสมบัติแห่งราชมณ-
เฑียรของพระมหากษัตริย์ ดุจประหนึ่งว่าจะเยาะเย้ยสิริแห่งเทพวิมาน ปาน
ประหนึ่งว่าเป็นสถานที่อาศัยอยู่แห่งสิริ ดุจท่าเป็นที่ประชุมชั้นเอกของเหล่าวิหค
คือนัยนาแห่งเทพดาและมนุษย์ และประดุจสถานที่รื่นรมย์ในโลกอันเขา
ประมวลจัดสรรไว้ ตกแต่งมณฑปนั้นให้เป็นเช่นกับวิมานพรหมมีเพดานงดงาม
รุ่งเรืองดุจสลัดอยู่ซึ่งพวงดอกกุสุมที่ห้อยย้อยนานาชนิด วิจิตรด้วยเครื่องบูชา
ดอกไม้ต่าง ๆ มีการงานอันควรทำที่พื้นทำสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว ประหนึ่งว่ามี
พื้นที่บุด้วยแก้วมณีอันวิจิตรด้วยรัตนะฉะนั้น ภายในมหามณฑปนั้นทรงรับสั่ง
ให้ปูเครื่องลาดอันเป็นกัปปิยะ 500 ซึ่งคำนวณค่ามิได้ สำหรับภิกษุ 500 รูป
แล้วให้ปูเถรอาสน์พิงข้างด้านทิศทักษิณ ผินหน้าไปทางทิศอุดร ในท่ามกลาง
มณฑปให้ตั้งธรรมาสน์อันควรเป็นที่ประทับนั่ง ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ผินหน้าไปทางทิศบูรพาและทรงวางพัดวีชนีอันวิจิตรด้วยงาไว้บนธรรมาสน์นั่น

แล้วรับสั่งให้เผดียงแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ! กิจของข้าพเจ้าสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
[

พวกภิกษุเตือนพระอานนท์มิให้ประมาท

]
พวกภิกษุได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า อาวุโส ! การประชุมจะมีใน
วันพรุ่งนี้ แต่ท่านยังเป็นเสขะบุคคลอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านไม่ควรไปสู่
ที่ประชุม ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ดังนี้.
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ดำริว่า การประชุมจะมีในวันพรุ่งนี้
ก็ข้อที่เรายังเป็นเสขะอยู่ จะพึงไปสู่ที่ประชุมนั้นไม่สมควรแก่เราแล แล้วได้
ยับยั้งอยู่ด้วยกายคตาสติตลอดราตรีเป็นอันมากทีเดียว ในเวลาราตรีใกล้รุ่ง
ลงจากที่จงกรมแล้ว เข้าไปยังวิหาร คิดว่า จักพักนอน ได้เอนกายลง. เท้า
ทั้งสองพ้นจากพื้น แต่ศีรษะไม่ทันถึงหมอน ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะ
ทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความจริง ท่านพระอานนท์นี้ยับยั้งอยู่แล้วใน
ภายนอกด้วยการจงกรม เมื่อไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ จึงคิดว่า
พระผู้มีพระเจ้าได้ตรัสคำนี้แก่เรามิใช่หรือว่า อานนท์ ! เธอเป็นผู้ได้ทำบุญ
ไว้แล้ว จงหมั่นประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้หาอาสวะมิได้โดยฉับพลัน*
อันธรรมดาว่าโทษแห่งพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี เราปรารภ
ความเพียรมากเกินไป เพราะเหตุนั้น จิตของเราจึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
เอาเถิด ! เราจะประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ ดังนี้ จึงลงจากที่จงกรม
ยืนล้างเท้าในที่ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่วิหารนั่งบนเตียง ดำริว่า จักพักผ่อนสัก
หน่อยหนึ่ง ได้เอนกายลงบนเตียง. เท้าทั้งสองพ้นจากพื้น ศีรษะยังไม่ถึงหมอน
ในระหว่างนี้ จิตก็พ้นจากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน. ความเป็น
* ที. มหา. 10 / 167.