เมนู

ย่อมปรากฏในอรรถคือส่วน ในประโยคทั้งหลาย มีอาทิว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตเพื่อให้แจกส่วนของที่มีรสเปรี้ยว ส่วนของที่มี
รสหวาน หรือส่วนของที่มีรสขม ด้วยส่วนแห่งวิหาร หรือส่วนแห่งบริเวณ.
ย่อมปรากฏในอรรถคือประเสริฐ ในประโยคทั้งหลาย มีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ทั้งหลาย มีประมาณเพียงไร ไม่มีเท้าก็ดี มี 2 เท้า
ก็ดี ฯลฯ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเราเรียกว่า ประเสริฐกว่าสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้น*.
แต่อัคคะศัพท์นี้ ในอธิการนี้ พึงเห็นว่าลงในอรรถคือเบื้องต้น.
เพราะฉะนั้น ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า ตั้งต้น
แต่วันนี้เป็นต้นไป. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า บทว่า อชฺชคฺเค ก็คือ
อชฺชภาวํ แปลว่า มีในวันนี้ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี.
ท อักษร ทำการต่อบท. มีคำอธิบายว่า ตั้งต้นแต่วันนี้.

[เวรัญชพราหมณ์ไม่กล่าวล่วงเกินพระรัตนตรัยจนตลอดชีวิต]


บทว่า ปาณุเปตํ ความว่า ผู้เข้าถึง (พระรัตนตรัย) ด้วยปราณ
(คือชีวิต). เวรัญชพราหมณ์ กราบทูลว่า ชีวิตของข้าพเจ้ายังเป็นไปอยู่เพียงใด,
ท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำคือทรงทราบ ข้าพเจ้าว่า (เป็นอุบาสก)
ผู้เข้าถึง ผู้ถึงสรณะอันไม่มีศาสดาอื่นด้วยไตรสรณคมน์เพียงนั้น ข้าพเจ้าแล
กล่าวถึงพระพุทธว่า ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมว่า ไม่ใช่พระธรรม หรือ
พระสงฆ์ว่า ไม่ใช่พระสงฆ์ ดังนี้เลย.
* ขุ. อิติวุตฺตก. 25 / 298.

ส่วนในอธิการนี้ พึงทราบอธิบายว่า พราหมณ์ เมื่อกล่าวถึงสรณคมน์
ซ้ำอีกว่า ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ชื่อว่า ประกาศมอบถวายตน (แก่พระ-
รัตนตรัย).

[พราหมณ์ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา]


เวรัญชพราหมณ์ ครั้นมอบถวายตนอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์
จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริษัท จึงกราบทูลว่า และขอท่าน
พระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับการอยู่จำพรรษาที่เมือง
เวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด.
พราหมณ์ กราบทูลความประสงค์ไว้อย่างไร. กราบทูลไว้อย่างนี้ว่า
ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก และขอจงทรงรับ
การอยู่จำพรรษาที่เมืองเวรัญชา ของข้าพเจ้าเถิด คือขอให้ทรงรับการอาศัย
เมืองเวรัญชาอยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์เถิด.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จำพรรษาเมืองเวรัญชา]


หลายบทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน ความว่า ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของพราหมณ์นั้นแล้ว ก็ไม่ทรงยังองค์คือกาย
หรือองค์คือวาจาให้ไหวเลย ทรงไว้ซึ่งพระขันติในภายในนั่นแล ทรงรับ
(คำอาราธนา) โดยพระดุษณีภาพ. ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรับด้วยพระหฤทัยทีเดียว เพื่อทรงอนุเคราะห์พราหมณ์.
หลายบทว่า อถโข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ ภควโต อธิวาสนํ
วิทิตฺวา
ความว่า ครั้งนั้นแล เวรัญชพราหมณ์ คิดว่า ถ้าท่านพระสมณโคดม
ไม่พึงทรงรับ (คำอาราธนา) ของเรา จะพึงทรงคัดค้านด้วยกายหรือด้วยวาจา