เมนู

นี้ ท่านก็กล่าวความหมายแม้นี้ไว้ดังนี้ว่า ชานามิ พุชฺฌามิ (แปลว่า
ย่อมทราบ คือย่อมรู้สึก).
[

อรรถาธิบายคำว่าพระธรรม

]
ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
สภาพที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งบุคคล ผู้ได้บรรลุ
มรรค ผู้ทำให้แจ้งนิโรธแล้ว และผู้ปฏิบัติอยู่ตามคำพร่ำสอน มิได้ตกไปใน
อบาย. ธรรมนั้น โดยอรรถ ได้แก่อริยมรรคและนิพพาน. สมจริงดังพระ-
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมทั้งหลาย
ที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี มีประมาณเพียงไร อริย-
มรรคมีองค์ 8 เราเรียกว่า ประเสริฐกว่าธรรมเหล่านั้น.1 ควรกล่าวให้พิสดาร.
ธรรมนั้น ได้แก่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียว ก็หามิได้ ถึงแม้ปริยัติธรรม
รวมกับอริยผล ก็ชื่อว่าธรรม.
* สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในฉัตตมาณเวกวิมานว่า
ท่านจงเข้าถึงพระธรรม อันเป็นธรรม
คลายความกำหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหว
ไม่มีความเศร้าโศก อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมไพเราะคล่องแคล่ว

อันเราจำแนกดีแล้ว เพื่อเป็นที่พึงเถิด2 ดังนี้.
แท้จริง ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมรรคว่า เป็นธรรม
คลายความกำหนัด ตรัสผลว่า เป็นธรรมไม่หวั่นไหวไม่มีความเศร้าโศก ตรัส
1. ขุ. อิติวุตฺตก. 25 / 29.
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2903
2. ขุ. วิมาน. 26 / 94