เมนู

หลายบทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ทรงรู้แล้วว่า บัดนี้ กิจคือการอบรมด้วยมรรค เพื่อความเป็นอย่างนี้อีก คือ
เพื่อความเจริญแห่งโสฬสกิจ หรือเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสอย่างนี้ ของเรา
ย่อมไม่มี.
บัดนี้ พระองค์เมื่อจะทรงแสดงการบรรลุญาณ อันเป็นเหตุสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันปัจจเวกขณญาณประคองแล้วอย่างนั้นแก่พราหมณ์
จึงตรัสพระดำรัสว่า อยํ โย เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น ความรู้อันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรคญาณ ชื่อว่า
วิชชา ความไม่รู้อันปกปิดสัจจะ 4 ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั้นแล.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดก่อนใครทั้งหมดด้วยคุณธรรม]


ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า อยํ โข เม พฺราหฺมณ ตติยา อภินิพฺพิทา อโหสิ นี้
มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ความชำแรกครั้งที่ 3 คือ ความออกครั้งที่ 3
ได้แก่ความเกิดเป็นอริยะครั้งที่ 2 นี้แล ได้มีแล้วแก่เรา เพราะได้ทำลาย
กระเปาะฟองคืออวิชชา อันปกปิดสัจจะ 4 ด้วยจะงอยปากคืออาสวักขยญาณ
ดุจความชำแรกออก คือความออกไป ได้แก่ความเกิดในภายหลังในหมู่ไก่
จากกระเปาะฟองไข่นั้นแห่งลูกไก่ เพราะได้ทำลายกระเปาะฟองไข่ ด้วย
จะงอยปาก หรือด้วยปลายเล็บเท้าฉะนั้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสงค์อะไรไว้ ด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้ ?

แก้ว่า ทรงแสดงพระประสงค์นี้ไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ก็
ลูกไก่ตัวนั้น ได้ทำลายกระเปาะฟองไข่แล้ว ออกไปจากกระเปาะฟองไข่นั้น
ย่อมชื่อว่าเกิดครั้งเดียวเท่านั้น ส่วนเราได้ทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชา อัน
ปกปิดขันธ์ที่เราเคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนแล้ว ชื่อว่า เกิดแล้วครั้งแรกทีเดียว
เพราะวิชชาคือบุพเพนิวาสานุสติญาณ ต่อจากนั้นได้ทำลายกระเปาะฟองคือ
อวิชชา อันปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าเกิดแล้วครั้งที่ 2
เพราะวิชชา คือทิพยจักษุญาณ ต่อมาอีก ได้ทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชา
อันปกปิดสัจจะ 4 ชื่อว่าเกิดแล้วครั้งที่ 3 เพราะวิชชาคืออาสวักขยญาณ
เราเป็นผู้ชื่อว่าเกิดแล้ว 3 ครั้ง เพราะวิชชาทั้ง 3 ดังพรรณนามาฉะนี้ และ
ชาติของเรานั้นจึงเป็น อริยะ คือดีงาม บริสุทธิ์.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ทรงประกาศอตีตัง-
สญาณ ด้วยบุพเพนิวาสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ และอนาคตตังสญาณ ด้วย
ทิพยจักษุ พระคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตระทั้งสิ้น ด้วยอาสวักขยญาณ
ครั้นทรงประกาศคุณคือพระสัพพัญญู แม้ทั้งหมดด้วยวิชชา 3 ดังที่กล่าวมา
แล้ว จึงได้ทรงแสดงข้อที่พระองค์เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุดด้วยอริยชาติ
แก่พราหมณ์ ด้วยประการฉะนี้.
(กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ จบ*)
*ได้แปลเพิ่มเติมไว้อย่างในฎีกาสารัตถทีปนี 6 / 141.

เวรัญชพราหมณ์ได้สติรู้สึกตัว


ในคำว่า เอวํ วุตฺเต เวรญฺโช พฺราหฺมโณ นี้ มีอธิบายว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์แก่โลก จะทรงอนุเคราะห์พราหมณ์
ได้ตรัสความที่พระองค์เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาติ แม้ที่ควร
ปกปิด ด้วยธรรมเทศนาอันประกาศวิชชา 3 โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้
เวรัญชพราหมณ์ มีกายและจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยความแผ่ซ่านไปแห่งปีติ รู้ความ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เจริญและประเสริฐที่สุด ด้วยอริยชาตินั้น จึง
ตำหนิตนเองว่า เราได้กล่าวพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐกว่าโลกทั้งหมด ทรง
ประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง ชื่อเช่นนี้ว่า ไม่ทรงทำกรรมมีการกราบไหว้
เป็นต้นแก่ชนเหล่าอื่น เฮ้ย ! น่าติเตียนความไม่รู้อะไรเสียจริง ๆ หนอ ดังนี้
จึงตกลงใจว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดใน
โลก เพราะอรรถว่าเป็นผู้เกิดก่อน ด้วยอริยชาติ ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด
เพราะอรรถว่า ไม่มีผู้เสมอด้วยพระคุณทั้งปวง แล้วได้กราบทูลคำนี้กระพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม เป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม เป็นผู้
ประเสริฐที่สุด ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะชมเชยพระธรรมเทศนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอีก จึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ !
พระดำรัสของพระองค์ น่าชมเชยยิ่งนัก ดังนี้เป็นต้น.

[อรรถาธิบายอภิกกันตศัพท์ลงในอรรถ 4 และ 9 อย่าง]


ในคำว่า อภิกฺกนฺตํ เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- อภิกกันตศัพท์นี้
ย่อมปรากฏในอรรถ คือ ขยะ (ความสิ้นไป) สุนทระ (ความดี) อภิรูปะ
(รูปงาม) และอัพภานุโมทนะ (ความชมเชย).