เมนู

กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ


จริงอยู่ ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ มีความแปลกกันดังต่อไปนี้แล.
ในกถาว่าด้วยปุพเพนิวาส ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า เพราะทำลายกระเปาะฟอง
คืออวิชชา อันปกปิดขันธ์ที่ตนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน ด้วยจะงอยปากคือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดังนี้ ฉันใด ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ ก็ควร
กล่าวว่า เพราะทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชาอันปกปิดความจุติและอุปบัติ
(ของสัตว์ทั้งหลาย) ด้วยจะงอยปากคือจุตูปปาตญาณ ดังนี้ ฉันนั้น.
ในคำว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต นี้ ควรทราบจิตในจตุตถฌาณ
อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา (ต่อไป).
สองบทว่า อาสวานํ ขยญฺญาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่.
อรหัตมรรคญาณ. จริงอยู่ อรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะทำอาสวะให้พินาศไป. ก็ญาณนี้ ในอรหัตมรรค
นั้น ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความที่ญาณ
นั้นเป็นธรรมนับเนื่องแล้ว ในมรรคนั้น ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า จิตฺตํ อภินินฺนาเมสึ ความว่า เราได้น้อมวิปัสสนาจิต
ไปเฉพาะแล้ว.
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิทํ ทุกฺขํ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
เราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งทุกขสัจแม้ทั้งหมด ตามความ
เป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้
ไม่มีทุกข์ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ และเราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งตัณหา
อันยังทุกข์นั้นให้เกิด ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่

เป็นจริงว่า นี้ ทุกขสมุทัย แม้ทุกข์และตัณหาทั้ง 2 นั้น ไปถึงสถานที่ใด
ย่อมดับไป เราก็ได้รู้ คือได้ทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งสถานที่นั้น คือ
พระนิพพาน อันเป็นไปไม่ได้แห่งทุกข์และตัณหานั้น ตามความเป็นจริง
ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ และเราก็ได้รู้ คือ
ได้ทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งอริยมรรค อันเป็นเหตุให้บรรลุทุกขนิโรธ
นั้น ตามเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ-
คามินีปฏิปทา ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะทั้งหลาย โดยสรุปอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงด้วยอำนาจกิเลสโดยบรรยาย จึงตรัสคำมีอาทิว่า
อิเม อาสวา ดังนี้.
หลายบทว่า ตสฺส เม เอวํ ชานโต เอวํ ปสฺสโต ความว่า
เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสมรรค
อันถึงที่สุดพร้อมกับวิปัสสนาไว้ (ในบทเหล่านั้น).
บทว่า กามาสวา แปลว่า จากกามาสวะ. พระองค์ทรงแสดงขณะ
แห่งผลไว้ด้วยคำว่า หลุดพ้นแล้ว นี้ แท้จริง จิตย่อมหลุดพ้น ในขณะแห่ง
มรรค ในขณะแห่งผลจัดว่าหลุดพ้นแล้ว ทรงแสดงปัจจเวกขณญาณไว้ด้วย
คำนี้ว่า เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ดังนี้ ทรงแสดง
ภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ด้วยคำเป็นต้นว่า ชาติสิ้นแล้ว จริงอยู่ พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อทรงพิจารณาอยู่ด้วยพระญาณนั้น ก็ได้ทรงรู้แล้วซึ่งทุกขสัจ
เป็นต้นว่า ชาติสิ้นแล้ว
ถามว่า ก็ชาติไหนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า สิ้นแล้ว และ
พระองค์ทรงรู้ชาตินั้นได้อย่างไร ?

ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป :- ชาติที่เป็นอดีต ของพระองค์ชื่อว่ายัง
ไม่สิ้นไปก่อน (ด้วยมรรคภาวนา) เพราะชาตินั้นสิ้นไปแล้ว ในกาลก่อน.
ชาติที่เป็นอนาคตของพระองค์ ชื่อว่ายังไม่สิ้นไป เพราะไม่มีความพยายาม
ในอนาคต, ชาติที่เป็นปัจจุบันของพระองค์ ก็ชื่อว่ายังไม่สิ้นไป เพราะชาติ
ยังมีอยู่, ส่วนชาติใด อันต่างโดยประเภทคือขันธ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5
อบรมมรรค ชาตินั้นจัดว่าสิ้นไปแล้วเพราะถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา
เหตุมีมรรคอันได้อบรมแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ครั้นทรง
พิจารณาถึงกิเลสที่พระองค์ทรงละด้วยมรรคภาวนาแล้ว ทรงทราบว่า เมื่อไม่มี
กิเลส กรรมแม้ยังมีอยู่ ก็ไม่มีปฏิสนธิต่อไป จึงชื่อว่าได้ทรงรู้ชาตินั้นแล้ว.
บทว่า วุสิตํ ความว่า (พรหมจรรย์) อันเราอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว.
อธิบายว่า อันเรากระทำ ประพฤติ ให้เสร็จสิ้นแล้ว.
บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่มรรคพรหมจรรย์. จริงอยู่ พระเสขบุคคล
7 จำพวก รวมกับกัลยาณปุถุชน ที่ชื่อว่า ย่อมอยู่อบรมพรหมจรรย์. พระ-
ขีณาสพมีการอยู่พรหมจรรย์จบแล้ว. เพาะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
ทรงพิจารณาถึงพรหมจริยวาส ของพระองค์ ก็ได้ทรงรู้แล้วว่า พรหมจรรย์
อันเราอยู่จบแล้ว.
สองบทว่า กตํ กรณียํ ความว่า กิจแม้ 16 อย่าง เราให้จบลง
แล้วด้วยอำนาจแห่งการกำหนดรู้ การละ การกระทำให้แจ้ง และการอบรม
ให้เจริญ ด้วยมรรค 4. จริงอยู่ ในสัจจะทั้ง 4. จริงอยู่ พระเสขบุคคล 7 จำพวก
มีกัลยาณปุถุชนเป็นต้น ยังทำกิจนั้นอยู่. พระขีณาสพมีกิจที่ควรทำ อันตน
ทำสำเร็จแล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงพิจารณาถึงกิจที่
ควรทำของพระองค์ ก็ได้ทรงรู้ว่า กิจที่ควรทำเราทำเสร็จแล้ว.

หลายบทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ทรงรู้แล้วว่า บัดนี้ กิจคือการอบรมด้วยมรรค เพื่อความเป็นอย่างนี้อีก คือ
เพื่อความเจริญแห่งโสฬสกิจ หรือเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสอย่างนี้ ของเรา
ย่อมไม่มี.
บัดนี้ พระองค์เมื่อจะทรงแสดงการบรรลุญาณ อันเป็นเหตุสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายนั้น อันปัจจเวกขณญาณประคองแล้วอย่างนั้นแก่พราหมณ์
จึงตรัสพระดำรัสว่า อยํ โย เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น ความรู้อันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรคญาณ ชื่อว่า
วิชชา ความไม่รู้อันปกปิดสัจจะ 4 ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั้นแล.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดก่อนใครทั้งหมดด้วยคุณธรรม]


ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า อยํ โข เม พฺราหฺมณ ตติยา อภินิพฺพิทา อโหสิ นี้
มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ความชำแรกครั้งที่ 3 คือ ความออกครั้งที่ 3
ได้แก่ความเกิดเป็นอริยะครั้งที่ 2 นี้แล ได้มีแล้วแก่เรา เพราะได้ทำลาย
กระเปาะฟองคืออวิชชา อันปกปิดสัจจะ 4 ด้วยจะงอยปากคืออาสวักขยญาณ
ดุจความชำแรกออก คือความออกไป ได้แก่ความเกิดในภายหลังในหมู่ไก่
จากกระเปาะฟองไข่นั้นแห่งลูกไก่ เพราะได้ทำลายกระเปาะฟองไข่ ด้วย
จะงอยปาก หรือด้วยปลายเล็บเท้าฉะนั้น.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสงค์อะไรไว้ ด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้ ?