เมนู

กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ


จริงอยู่ ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ มีความแปลกกันดังต่อไปนี้แล.
ในกถาว่าด้วยปุพเพนิวาส ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า เพราะทำลายกระเปาะฟอง
คืออวิชชา อันปกปิดขันธ์ที่ตนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน ด้วยจะงอยปากคือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดังนี้ ฉันใด ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ ก็ควร
กล่าวว่า เพราะทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชาอันปกปิดความจุติและอุปบัติ
(ของสัตว์ทั้งหลาย) ด้วยจะงอยปากคือจุตูปปาตญาณ ดังนี้ ฉันนั้น.
ในคำว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต นี้ ควรทราบจิตในจตุตถฌาณ
อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา (ต่อไป).
สองบทว่า อาสวานํ ขยญฺญาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่.
อรหัตมรรคญาณ. จริงอยู่ อรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะทำอาสวะให้พินาศไป. ก็ญาณนี้ ในอรหัตมรรค
นั้น ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความที่ญาณ
นั้นเป็นธรรมนับเนื่องแล้ว ในมรรคนั้น ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า จิตฺตํ อภินินฺนาเมสึ ความว่า เราได้น้อมวิปัสสนาจิต
ไปเฉพาะแล้ว.
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิทํ ทุกฺขํ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
เราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งทุกขสัจแม้ทั้งหมด ตามความ
เป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้
ไม่มีทุกข์ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ และเราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งตัณหา
อันยังทุกข์นั้นให้เกิด ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่