เมนู

อริยุปวาทเข้าด้วยวจีทุจริตศัพท์นั่นเอง และมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วยมโนทุจริตศัพท์
เช่นกันแล้ว การกล่าวถึงกรรมทั้ง 2 เหล่านี้ซ้ำอีก พึงทราบว่า มีการแสดง
ถึงข้อที่กรรมทั้ง 2 นั้นมีโทษมากเป็นประโยชน์. จริงอยู่ อริยุปวาท มีโทษ
มากเช่นกับอนันตริยกรรม. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
สารีบุตร ! เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อม
ด้วยปัญญาพึงได้ลิ้มอรหัตผล ในภพปัจจุบันนี้แล แม้ฉันใด, ดูก่อนสารีบุตร !
เรากล่าวข้ออุปไมยนี้ ฉันนั้น บุคคลนั้น ไม่ละวาจานั้นเสีย ไม่ละความคิด
นั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสียแล้ว ต้องถูกโยนลงในนรก (เพราะอริยุปวาท)
เหมือนถูกนายนิรยบาลนำมาโยนลงในนรกฉะนั้น.1 ก็กรรมอย่างอื่น ชื่อว่า
มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิย่อมไม่มี. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ซึ่งมีโทษ
มากกว่าเหมือนอย่างมิจฉาทิฏฐินี้เลย ภิกษุทั้งหลาย ! โทษทั้งหมดมีมิจฉาทิฏฐิ
เป็นอย่างยิ่ง2 ดังนี้.
สองบทว่า กายสฺส เภทา ความว่า เพราะสละอุปาทินนกขันธ์เสีย
(ขันธ์ที่ยังมีกิเลสเข้าไปยึดครองอยู่).
บทว่า ปรมฺมรณา ความว่า แต่การถือเอาขันธ์ที่เกิดขึ้นในลำดับ
แห่งการสละนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สองบทว่า กายสฺส เภทา คือ เพราะความ
ขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา คือ ต่อจากจุติจิต.
[

อรรถาธิบายคำว่านรกได้ชื่อว่าอบายเป็นต้น

]
คำทั้งหมดมีอาทิอย่างนี้ว่า อปายํ เป็นไวพจน์แห่งคำว่า นิรยะ,
จริงอยู่ นิรยะ ชื่อว่า อบาย เพราะไปปราศจากความเจริญ ที่สมมติว่าเป็นบุญ
อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์และนิพพาน หรือเพราะไม่มีความเจริญขึ้นแห่งความสุข.
1 ม. มู. 12 / 145. 2. องฺ. ติก. 20 / 4.

ที่ชื่อว่า ทุคติ เพราะอรรถว่า มีคติแห่งทุกข์เป็นที่พึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า ทุคติ เพราะอรรถว่า มีคติที่เกิดเพราะกรรมที่ชั่วร้ายเพราะมีโทษมาก.
ที่ชื่อว่า วินิบาต เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่พวกสัตว์ผู้ชอบทำชั่ว
ตกไปไว้อำนาจ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินิบาต เพราอรรถว่า เป็นสถานที่
ที่พวกสัตว์ผู้กำลังพินาศ มีอวัยวะใหญ่น้อยแตกกระจายตกไปอยู่.
ที่ชื่อว่า นิรยะ เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่ไม่มีความเจริญที่รู้กัน
ว่าความยินดี อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
ด้วยอบายศัพท์. จริงอยู่ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานจัดเป็นอบาย เพราะปราศจาก
สูตติ แต่ไม่จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นสถานที่เกิดแห่งสัตว์ทั้งหลายมีพญานาค
เป็นต้น ผู้มีศักดามาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเปตวิสัย ด้วยทุคติศัพท์.
จริงอยู่ เปตวิสัยนั้นจัดเป็นอบายด้วย เป็นทุคติด้วย เพราะปราศไปจากทุคติ
และเพราะเป็นคติแห่งทุกข์, แต่ไม่เป็นวินิบาต เพราะไม่มีความตกไป เช่น
กับพวกอสูร. แท้จริง แม้วิมานทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเปรตผู้มีฤทธิ์มาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอสุรกาย ด้วยวินิปาตศัพท์. ความจริงอสุรกาย
นั้น ท่านเรียกว่า เป็นอบายด้วย เป็นทุติด้วย เพราะอรรถตามที่กล่าวมาแล้ว
และว่าเป็นวินิบาต เพราะเป็นผู้มีความตกไปจากความเกิดขึ้นแห่งสมบัติทั้งปวง,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงนิรยะนั่นแล ซึ่งมีออเนกประการมือวจีเป็นต้น
ด้วยนิรยศัพท์.
บทว่า อุปปนฺนา แปลว่า เข้าถึงแล้ว อธิบายว่า เกิดขึ้นแล้วใน
นรกนั้น. ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาว) พึงทราบโดยบรรยายที่แปลกกันจากที่กล่าว
แล้ว. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :- แม้คติแห่งมนุษย์ ท่านก็สงเคราะห์เอา
ด้วนสุคติศัพท์ ในศุกลปักษ์นี้. เทวคติเท่านั้นท่านสงเคราะห์เข้าด้วยสัคคศัพท์.

ใน 3 บทว่า สุคตึ สคฺคํ โลกํ นั้น มีใจความเฉพาะคำดังนี้คือ :-
ชื่อว่า สุคติ เพราะอรรถว่า เป็นคติดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะอรรถว่า
เลิศด้วยดี ด้วยอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น. สุคติและสวรรค์ทั้งหมดนั้น
ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า พินาศและแตกสลายไป.
วิชชาคือทิพยจักษุญาณ ชื่อว่า วิชชา. อวิชชา อันเป็นเครื่อง
ปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
กถาว่าด้วยทิพยจักษุจบ

กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ


จริงอยู่ ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ มีความแปลกกันดังต่อไปนี้แล.
ในกถาว่าด้วยปุพเพนิวาส ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วว่า เพราะทำลายกระเปาะฟอง
คืออวิชชา อันปกปิดขันธ์ที่ตนเคยอยู่แล้วในกาลก่อน ด้วยจะงอยปากคือ
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดังนี้ ฉันใด ในกถาว่าด้วยทิพยจักษุญาณนี้ ก็ควร
กล่าวว่า เพราะทำลายกระเปาะฟองคืออวิชชาอันปกปิดความจุติและอุปบัติ
(ของสัตว์ทั้งหลาย) ด้วยจะงอยปากคือจุตูปปาตญาณ ดังนี้ ฉันนั้น.
ในคำว่า โส เอวํ สมาหิเต จิตฺเต นี้ ควรทราบจิตในจตุตถฌาณ
อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา (ต่อไป).
สองบทว่า อาสวานํ ขยญฺญาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่.
อรหัตมรรคญาณ. จริงอยู่ อรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะทำอาสวะให้พินาศไป. ก็ญาณนี้ ในอรหัตมรรค
นั้น ท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความที่ญาณ
นั้นเป็นธรรมนับเนื่องแล้ว ในมรรคนั้น ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า จิตฺตํ อภินินฺนาเมสึ ความว่า เราได้น้อมวิปัสสนาจิต
ไปเฉพาะแล้ว.
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิทํ ทุกฺขํ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
เราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งทุกขสัจแม้ทั้งหมด ตามความ
เป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงว่า ทุกข์มีประมาณเท่านี้
ไม่มีทุกข์ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ และเราได้รู้ คือทราบ ได้แก่แทงตลอดแล้ว ซึ่งตัณหา
อันยังทุกข์นั้นให้เกิด ตามความเป็นจริง ด้วยการแทงตลอดลักษณะตามที่