เมนู

[เรื่องภิกษุหนุ่มกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้าชั้นสูง]


ก็เพื่อประกาศข้อที่การด่าเป็นกรรมที่หนักนั้น พระโบราณาจารย์
ทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้มาเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่ง และภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาต
ในบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง. ท่านทั้ง 2 นั้น ได้ข้าวยาคูร้อนประมาณกระบวนหนึ่ง
ในเรือนหลังแรกนั่นเอง. แต่พระเถระเกิดลมเสียดท้องขึ้น. ท่านคิดว่า ข้าว
ยาคูนี้ เป็นของสบายแก่เรา เราจะดื่มข้าวยาคูนั้นก่อนที่มันจะเย็นเสีย ท่าน
จึงได้นั่งดื่มข้าวยาคูนั้นบนขอนไม้ ซึ่งพวกมนุษย์เข็นมาไว้ เพื่อต้องการทำ
ธรณีประตู. ภิกษุหนุ่มนอกนี้ ได้รังเกียจพระเถระนั้น ด้วยคิดว่า พระเถระ
แก่รูปนี้หิวจัดหนอ กระทำให้เราได้รับความอับอาย. พระเถระเที่ยวไปในบ้าน
แล้วกลับไปยังวิหาร ได้พูดกะภิกษุหนุ่มว่า อาวุโส ที่พึ่งในพระศาสนานี้
ของคุณมีอยู่หรือ ?
ภิกษุหนุ่ม เรียนว่า มีอยู่ ขอรับ ! กระผมเป็นพระโสดาบัน.
พระเถระ พูดเตือนว่า อาวุโส ! ถ้ากระนั้น คุณไม่ได้ทำความพยามยาม
เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ ?* เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าว
ใส่ร้ายแล้ว. ภิกษุหนุ่มรูปนั้น ได้ให้พระเถระนั้นอดโทษแล้ว เพราะเหตุนั้น
กรรมนั้นของภิกษุหนุ่มรูปนั้น ก็ได้กลับเป็นปกติเดิมแล้ว.
* ในวิสุทธิมรรค ภาค 2 / 270- มีดังนี้คือ เตนหาวุโส อุปริมคฺคตฺถาย วายามํ มาอกาสีติ.
กสฺมา ภนฺเตติ. ขีณาสโว ตยา อุปวทิโตติ. แปลว่า พระเถระ พูดเตือนว่า อาวุโส ถ้ากระนั้น
คุณไม่ได้ทำความพยายาม เพื่อต้องการมรรคเบื้องสูงขึ้นไปหรือ ? ภิกษุ นุ่นเรียนว่า เพราะ
เหตุไร ขอรับ ? พระเถระพูดว่า เพราะพระขีณาสพ คุณได้กล่าวใส่ร้ายแล้ว กสฺมา ภนฺเตติ
ในสามนต์นี้ น่าจะตกไป.

[วิธีขอขมาเพื่อให้อดโทษให้ในการด่าใส่ร้าย]


เพราะฉะนั้น ผู้ใดแม้อื่น กล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้า ผู้นั้นไปแล้ว
ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้, ก็พึงให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า กระผมได้
กล่าวคำนี้และคำนี้กะพระคุณเจ้าแล้ว ขอพระคุณเจ้าได้อดโทษนั้นให้กระผม
ด้วยเถิด ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ไหว้ท่านแล้วนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี
พึงขอให้ท่านอดโทษให้ ด้วยเรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมได้กล่าว
คำนี้และคำนี้กะท่านแล้ว ขอท่านจงอดโทษนั้นให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ถ้าท่าน
ไม่ยอมอดโทษให้ หรือท่านหลีกไปยังทิศ (อื่น) เสีย พึงไปยังสำนักของภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ในวิหารนั้น. ถ้าท่านแก่กว่าตนไซร้ พึงยืนขอขมาโทษทีเดียว
ถ้าท่านอ่อนกว่าตนไซร้ ก็พึงนั่งกระโหย่งประคองอัญชลี ให้ท่านช่วยอดโทษ
ให้ พึงกราบเรียนให้ท่านอดโทษอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! กระผมได้
กล่าวคำนี้ และคำนี้กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้นแล้ว ขอท่านผู้มีอายุรูปนั้น จงอด
โทษให้แก่กระผมด้วยเถิด ถ้าพระอริยเจ้านั้นปรินิพพานแล้วไซร้, ควรไป
ยังสถานที่ตั้งเตียงที่ท่านปรินิพาน แม้ไปจนถึงป่าช้าแล้ว พึงให้อดโทษให้
เมื่อตนได้กระทำแล้วอย่างนี้ กรรมคือการใส่ร้ายนั้น ก็ไม่เป็นทั้งสัคคาวรณ์
มัคคาวรณ์ (ไม่ห้ามทั้งสวรรค์ทั้งมรรค) ย่อมกลับเป็นปกติเดิมทีเดียว.

[การกล่าวใส่ร้ายพระอริยเจ้ามีโทษเช่นกับอนันตริยกรรม]


บทว่า มิจฺฉาทิฏฐิกา แปลว่า มีความเห็นวิปริต.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกมฺมสมาทานา ความว่า ก็คนเหล่าใด ให้ชน
แม้เหล่าอื่นสมาทาน บรรดากรรมมีกายกรรมเป็นต้น ซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นมูล.
คนเหล่านั้น ชื่อว่ามีกรรมนานาชนิดอันตนสมาทานถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจ
มิจฉาทิฏฐิ. ก็บรรดาอริยุปวาทและมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น แม้เมื่อท่านสงเคราะห์