เมนู

กถาว่าด้วยทิพยจักษุ


หลายบทว่า โส เอวํ ฯ ป ฯ จุตูปปาตญฺญาฌาย ความว่า
(เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณ (ความรู้) ในจุติและอุปบัติ (ของสัตว์
ทั้งหลาย). มีคำอธิบายว่า (เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณที่เป็นเครื่องรู้
ความเคลื่อนและความบังเกิด ของสัตว์ทั้งหลาย.
สองบทว่า จตฺตํ อภินินฺนาเมสึ ความว่า เราได้น้อมบริกรรมจิต
ไป.
ส่วนในคำว่า โส ทิพฺเพน ฯ เป ฯ ปสฺสามิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมไม่มีการทำบริกรรม, จริงอยู่
พระมหาสัตว์เหล่านั้น พอเมื่อน้อมจิตไปเท่านั้น ย่อมเป็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราบ ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์. กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรร-
มิกทั้งหลาย ต้องทำบริกรรมจึงเห็นด้วย. เพราะเหตุนั้น การบริกรรม ด้วย
สามารถแห่งกุลบุตรเหล่านั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย. แต่เมื่อข้าพเจ้า จะกล่าว
การบริกรรมนั้นด้วย จะทำนิทานแห่งพระวินัย ให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวการบริกรรมนั้นไว้. ส่วนนักศึกษาทั้งหลาย ผู้มี
ความต้องการ ควรถือเอาการบริกรรมนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน
ปกรณ์วิเสสชื่อ วิสุทธิมรรค.* แต่ในนิทานแห่งพระวินัยนี้ ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาไว้เฉพาะบาลีเท่านั้น.
* วิสุทธิมรรค 2 / 251-253.