เมนู

ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะมีปัญญาหย่อนกำลัง.
แท้จริง ปัญญาของเดียรถีย์เหล่านั้น จัดว่าหย่อนกำลัง เพราะเว้น
จากการกำหนดนามและรูป.

[พระอสีติมหาสาวกระลึกชาติได้แสนกัป]


ก็บรรดาพระสาวกทั้งหลาย พระมาหาสาวก 80 รูป ระลึกได้แสนกัป.
พระอัครสาวกทั้ง 2 องค์ ระลึกได้หนึ่งอสงไชยและแสนกัป. พระปัจเจกพุทธ
ทั้งหลาย ระลึกได้สองอสงไขยและแสนกัป. จริงอยู่ อภินิหารของพระมหา-
สาวก พระอัครสาวกและพระปัจเจกพุทธเหล่านั้น มีประมาณเท่านี้. ส่วน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกำหนด, พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมระลึกได้
ตราบเท่าที่ทรงปรารถนา. แต่พวกเดียรถีย์ ย่อมระลึกได้ตามลำดับขันธ์เท่านั้น
พ้นลำดับ (ขันธ์) ไป ย่อมไม่สามารถจะระลึกได้ ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ.
เพราะว่าการก้าวลงสู่ประเทศ (แห่งญาณ) ที่ตนปรารถนา ย่อมไม่มีแก่เดียรถีย์
เหล่านั้น ผู้เป็นเหมือนคนบอด. พระสาวกทั้งหลาย ย่อมระลึกได้แม้โดย
ประการทั้ง 2. พระปัจเจกพุทธทั้งหลาย ก็เหมือนอย่างนั้น, ส่วนพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมทรงระลึกได้ตลอดสถานที่ ๆ ทรงมุ่งหวังนั้น ๆ ทั้งหมดทีเดียว
ในเบื้องต่ำหรือเบื้องบน ในโกฏิกัปเป็นอันมากด้วยลำดับขันธ์บ้าง ด้วยอำนาจ
จุติและปฏิสนธิบ้าง ด้วยอำนาจการก้าวไปดุจราชสีห์บ้าง.
ในคำว่า อยํ โข เม พฺราหฺมณ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า เม คือ มยา แปลว่า อันเรา. ความรู้แจ้ง ท่านเรียกว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า ทำให้รู้แจ้ง.

ถามว่า ย่อมทำให้รู้แจ้งอะไร ?
แก้ว่า ย่อมให้รู้แจ้ง ซึ่งบุเพนิวาส.
โมหะที่ปกปิดวิชชานั้น ท่านเรียกว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า เป็น
เหตุทำไม่ให้รู้แจ้งซึ่งบุพเพนิวาสนั้นนั่นแล. โมหะนั้นนั่นเอง ท่านเรียกว่า
ตมะ (ความมืด) ในบทว่า ตโม เพราะอรรถว่าปกปิด. วิชชานั้นนั่นเอง
ท่านเรียกว่า อาโลกะ ในบทว่า อาโลโก เพราะอรรถว่าทำแสงสว่าง.
ก็บรรดาบทเหล่านี้ ในบทว่า วิชฺชา อธิคตา นี้ มีอธิบายเท่านี้. คำที่เหลือ
เป็นคำกล่าวสรรเสริญ.
ส่วนในบททั้ง 2 ว่า วิชฺชา อธิคตา อวิชฺชา วิหตา นี้มีโยชนาว่า
วิชชานี้แล เราได้บรรลุแล้ว อวิชชา อันเราผู้ได้บรรลุวิชชานั้น กำจัดได้แล้ว.
อธิบายว่า ให้พินาศแล้ว.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเหตุที่วิชชาเกิดขึ้นแล้ว.
ในบททั้ง 2 (คือ ตโม วิหโต อาโลโก อุปฺปนฺโน) แม้นอกนี้
ก็มีนัยนี้.
ศัพท์ว่า ยถา ในคำว่า ยถาตํ นี้ เป็นนิบาต ลงในความอุปมา.
ศัพท์ว่า ตํ เป็นนิบาต.
(วิชชาเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว) แก่บุคคลผู้ชื่อว่าไม่ประมาท เพราะความ
ไม่อยู่ปราศจากสติ. ผู้ชื่อว่าความเพียรเผากิเลส เพราะยังกิเลสให้เร่าร้อน
ด้วยความเพียร. ผู้ชื่อว่ามีตนส่งไปแล้ว อธิบายว่า ผู้ส่งจิตไปแล้ว เพราะ
เป็นผู้ไม่มีความเยื่อใยในกายและชีวิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว,
วิชชา เกิดขึ้นแล้ว (แก่เรา), ความมืด เรากำจัดได้แล้, และสว่างเกิด
ขึ้นแล้ว (แก่เรา. ผละอันสมควรแก่การประกอบความเพียรเนือง ๆ นั้น เรา
ได้แล้ว เหมือนอย่างอวิชชา อันพระโยคาวจรพึงกำจัด, วิชชาพึงเกิดขึ้น,
ความมืด พึงถูกกำจัด, แสดงสว่าง พึงเกิดขึ้น แก่พระโยคาวจรผู้ไม่ประมาท
ผู้มีความเพียรเผากิเลส ผู้มีตนส่งไปแล้วอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.
หลายบทว่า อยํ โย เม พฺราหฺมณ ปฐมา อภินิพฺพิทา อโหสิ
กุกฺกุฏจฺฉาปกสฺเสว อณฺฑโกสมฺหา
ความว่า พราหมณ์ ! ความชำแรก
ออกครั้งที่หนึ่ง คือความออกไปครั้งที่หนึ่ง ได้แก่ความเกิดเป็นอริยะครั้งที่
หนึ่งนี้แล ได้มีแล้วแก่เรา เพราะทำลายกระเปาะฟอง คืออวิชชา อันปกปิด
ขันธ์ที่เราอยู่อาศัยในภพก่อน ด้วยจะงอยปาก คือบุพเพนิวาสานุสติญาณ
ดุจความชำแรกออก คือความออกไป ได้แก่ความเกิดในภายหลัง ในหมู่ไก่
จากกระเปาะฟองไข่นั้น แห่งลูกไก่ เพราะทำลายกระเปาะฟองไข่ ด้วยจะงอย
ปาก หรือด้วยปลายเล็บเท้าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
กถาว่าด้วยปุพเพนิวาส จบ.

กถาว่าด้วยทิพยจักษุ


หลายบทว่า โส เอวํ ฯ ป ฯ จุตูปปาตญฺญาฌาย ความว่า
(เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณ (ความรู้) ในจุติและอุปบัติ (ของสัตว์
ทั้งหลาย). มีคำอธิบายว่า (เราได้น้อมจิตไปแล้ว) เพื่อญาณที่เป็นเครื่องรู้
ความเคลื่อนและความบังเกิด ของสัตว์ทั้งหลาย.
สองบทว่า จตฺตํ อภินินฺนาเมสึ ความว่า เราได้น้อมบริกรรมจิต
ไป.
ส่วนในคำว่า โส ทิพฺเพน ฯ เป ฯ ปสฺสามิ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
พระมหาสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมไม่มีการทำบริกรรม, จริงอยู่
พระมหาสัตว์เหล่านั้น พอเมื่อน้อมจิตไปเท่านั้น ย่อมเป็นสัตว์ทั้งหลาย
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราบ ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์. กุลบุตรผู้เป็นอาทิกรร-
มิกทั้งหลาย ต้องทำบริกรรมจึงเห็นด้วย. เพราะเหตุนั้น การบริกรรม ด้วย
สามารถแห่งกุลบุตรเหล่านั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย. แต่เมื่อข้าพเจ้า จะกล่าว
การบริกรรมนั้นด้วย จะทำนิทานแห่งพระวินัย ให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวการบริกรรมนั้นไว้. ส่วนนักศึกษาทั้งหลาย ผู้มี
ความต้องการ ควรถือเอาการบริกรรมนั้น ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน
ปกรณ์วิเสสชื่อ วิสุทธิมรรค.* แต่ในนิทานแห่งพระวินัยนี้ ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาไว้เฉพาะบาลีเท่านั้น.
* วิสุทธิมรรค 2 / 251-253.