เมนู

[กถาว่าด้วยปุพเพนิวาสญาณ]


ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเอเทศแห่งคุณทั้งหลาย ที่
จตุตถฌานเป็นเหตุอำนวยให้เหล่านั้น จึงตรัสว่า เอวํ สมาหิเต จิตฺเต
ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า โส เอวํ เป็นต้นเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โส คือ โส อหํ แปลว่า เรานั้น. บทว่า เอวํ นั่นเป็น
บทแสดงลำดับแห่งจตุตถฌาน. มีอธิบายว่า เราได้เฉพาะจตุตถฌาน ด้วย
ลำดับนี้.
บทว่า สมาหิเต ความว่า (เมื่อจิตของเรา) ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิ
ในจตุตถฌานนี้.
ส่วนในคำว่า ปริสุทฺเธ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ อันอุเบกขาให้
เกิดแล้ว. มีคำอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า ผุดผ่อง คือใสสว่าง เพราะความเป็น
ธรรมชาติบริสุทธิ์นั่นเอง.
ชื่อว่า ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะความที่กิเลสเพียงดังเนินมีราคะ
เป็นต้น อันมรรคกำจัดแล้ว เพราะฆ่าซึ่งปัจจัยมีสุขเป็นต้นเสียได้. ชื่อว่า
มีอุปกิเลสปราศไปแล้ว เพราะความไม่มีกิเลสเพียงดังเนินนั่นเอง. จริงอยู่
จิตย่อมเศร้าหมอง เพราะกิเลสเพียงดังเนิน.
ชื่อว่า เป็นธรรมชาติอ่อน เพราะอบรมดีแล้ว มีคำอธิบายว่า ถึงความ
ชำนาญ. แท้จริง จิตที่เป็นไปอยู่อำนาจ ท่านเรียกว่า มุทุ (อ่อน). อนึ่ง
ชื่อว่าควรแก่การงาน เพราะความเป็นจิตอ่อนนั่นเอง มีคำอธิบายว่า เหมาะแก่

การงาน คือควรประกอบในการงาน. จริงอยู่ จิตที่อ่อน ย่อมเป็นของควร
แก่การงาน ดุจทองคำที่ไล่มลทินออกดีแล้ว ฉะนั้น. ก็จิตแม้ทั้ง 2 (คือจิตอ่อน
และจิตที่ควรแก่การงาน) นั้นจะมีได้ ก็เพราะเป็นจิตที่ได้รับอบรมดีแล้วนั่นแล
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เรายังไม่
เล็งเห็นแม้ธรรมอย่างหนึ่งอื่น ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของอ่อน
และควรแก่การงานเหมือนจิตนี้เลย นะภิกษุทั้งหลาย* !
ชื่อว่า ตั้งมั่นแล้ว เพราะตั้งอยู่ในธรรมทั้งหลายมีความบริสุทธิ์เป็นต้น
เหล่านั้น ชื่อว่าถึงความไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นจิตตั้งมั่นนั่นเอง มีอธิบาย
ว่า เป็นจิตไม่หวั่นไหว คือหมดความหวั่นไหว. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตั้งมั่นแล้ว
เพราะความเป็นจิตตั้งอยู่แล้วในอำนาจของตน โดยความเป็นจิตอ่อนและควร
แก่การงาน. ชื่อว่า ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นจิตอันธรรมทั้งหลาย
มีศรัทธาเป็นต้น ประคองไว้แล้ว.

[จิตประกอบด้วยธรรม 6 อย่าง เป็นจิตไม่หวั่นไหว]


จริงอยู่ จิตอันศรัทธาประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะอสัท-
ธิยะ ( ความไม่มีศรัทธา) อันวิริยะประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ
โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) อันสติประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะ
ความประมาท (ความเลินเล่อ) อันสมาธิประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะอุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) อันปัญญาประคองไว้แล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะอวิชชา (ความไม่รู้) ที่ถึงความสว่าง ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะความมืด
คือกิเลส จิตอันธรรม 6 อย่างเหล่านี้ประคองไว้แล้ว เป็นจิตถึงความไม่-
หวั่นไหว. จิตที่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ดังพรรณนามาแล้วนี้ ย่อมเป็น
* องฺ. เอก. 20 / 11.