เมนู

สุข เป็นปัจจัยแห่งโสมนัส, โสมนัส เป็นปัจจัยแห่งราคะ, ทุกข์ เป็นปัจจัย
แห่งโทมนัส, โทมนัส เป็นปัจจัยแห่งโทสะ, และราคะโทสะพร้อมทั้งปัจจัย
เป็นอันจตุตถฌานนั้นกำจัดแล้ว เพราะสังหารความสุขเป็นต้นเสียได้ เพราะ
เหตุนั้น ราคะและโทสะ จึงมีอยู่ในที่ไกลยิ่ง ฉะนี้แล.

[อรรถาธิบายอุเบกขาในจตุตถฌาน]


บทว่า อทุกฺขมสุขํ ความว่า ชื่อว่า อทุกข์ เพราะไม่มีทุกข์
ชื่อว่า อสุข เพราะไม่มีสุข. ในคำว่า ชื่อว่า อทุกฺขมสุขํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงเวทนาที่ 3 อันเป็นปฏิปักษ์ต่อทุกข์และสุขด้วยพระดำรัสนี้ หาทรง
แสดงเพียงสักว่าความไม่มีแห่งทุกข์และสุขไม่. อทุกข์และอสุข ชื่อว่าเวทนา
ที่ 3 ท่านเรียกว่า อุเบกขา บ้าง. อุเบกขานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มีการ
เสวยอารมณ์ที่ผิดแปลกจากอารมณ์ที่ น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาเป็น
ลักษณะ มีความเป็นกลาง เป็นรส มีอารมณ์ไม่แจ่มแจ้งเป็นเครื่องปรากฏ
มีความดับสุขเป็นปทัฏฐาน.
บทว่า อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธึ ความว่า มีสติเป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์
อันอุเบกขาให้เกิดแล้ว. จริงอยู่ ในฌานนี้ สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยดี
และความบริสุทธิ์แห่งสตินั้น อันอุเบกขาทำแล้ว หาใช่ธรรมดาอย่างอื่นทำไม่,
เพราะเหตุนั้น ฌานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์อัน
อุเบกขาให้เกิดแล้ว ดังนี้. แม้ในคัมภีร์วิภังค์ พระองค์ก็ได้ตรัสไว้ว่า สตินี้
ย่อมเป็นธรรมชาติเปิดเผย บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว เพราะอุเบกขานี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงเรียกว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.* ก็ความบริสุทธิ์แห่งสติในจตุตถฌานนั้น
ย่อมมีเพราะอุเบกขาใด, อุเบกขานั้น โดยอรรถพึงทราบว่า มีความเป็นกลาง
* อภิ. วิ. 35 / 352.

ในธรรมนั้น ๆ อนึ่ง ในจตุตถฌานนี้ สติเท่านั้น เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขานั้นอย่างเดียวก็หามิได้. อีกอย่างหนึ่งแล แม้สัมปยุตตธรรม
ทั้งหมด ก็บริสุทธิ์เพราะอุเบกขานั้น (เหมือนกัน). แต่เทศนา พระองค์
ตรัสไว้โดยยกสติขึ้นเป็นประธาน.
บรรดาธรรมในจตุตถฌานนั้น อุเบกขานี้ มีอยู่ในฌานทั้ง 3 แม้ใน
หนหลัง ก็จริง ถึงกระนั้น จันทเลขา กล่าวคือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขาแม้นี้
ถึงแม้มีอยู่ในความต่างแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติ
ไม่บริสุทธิ์ เพราะถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้นครอบงำไว้ และ
เพราะไม่ได้ราตรีกล่าวคืออุเบกขาเวทนา ที่เป็นสภาคกัน เปรียบเหมือนจันท-
เลขา (ดวงจันทร์) ถึงแม้มีอยู่ในกลางวัน ก็ชื่อว่าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ไม่ผ่องใส
เพราะถูกรัศมีพระอาทิตย์ครอบงำในกลางวัน หรือเพราะไม่ได้กลางคืนที่เป็น
สภาคกัน โดยความเป็นของที่มีอุปการะแก่ตน โดยความเป็นของสวยงาม
ฉะนั้น. ก็เมื่อตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นไม่บริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้น
แม้ที่เกิดร่วมกัน ก็เป็นธรรมชาติไม่บริสุทธิ์แท้ เหมือนรัศมีแห่งดวงจันทร์
ที่ไม่บริสุทธิ์ในกลางวันฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ฌานแม้อย่างหนึ่งในบรรดา
ปฐมฌานเป็นต้นเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ตรัสว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขา ส่วนในจตุตถฌานนี้ ดวงจันทร์กล่าวคือตัตรมัชฌัตตุเปกขานี้ เป็น
ธรรมชาติบริสุทธิ์อย่างยิ่ง เพราะไม่ถูกเดชแห่งธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็น
ครอบงำ และเพราะได้กลางคืน คืออุเบกขาเวทนาที่เป็นสภาคกัน. เพราะ
ความที่ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้น
แม้ที่เกิดร่วมกันก็เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ดุจรัศมีแห่งดวงจันทร์ที่
บริสุทธิ์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น จตุตถฌานนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.

บทว่า จตุตฺถํ คือเป็นที่ 4 ตามลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้
ชื่อว่าที่ 4 เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ 4.

[ตติยฌานมีองค์ 5 จตุตถฌานมีองค์ 3]


ในคำว่า ฌานํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้คือ :- ตติยฌานมีองค์ 5 ด้วย
องค์ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้นฉันใด จตุตถฌานนี้ ก็มีองค์ 3 ด้วยองค์ทั้งหลาย
มีอุเบกขาเป็นต้นฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อุเบกขา
(ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์
เดียว) ชื่อว่า ฌาน1 ดังนี้. อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทาง
ตรง จตุตถฌานนี้ เว้นองค์คือสติเสีย เพราะถือเอาองค์คืออุเบกขาเวทนานั่นแล
จึงประกอบด้วยองค์ 2 เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ฌาน
ประด้วยองค์ 2 คือ อุเบกขา และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น
เป็นไฉน** ? คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
กถาว่าด้วยจตุตถฌาน จบ.

[อรรถาธิบายฌาน 4 ของบุคคล 5 ประเภท]


ฌาน 4 อย่างเหล่านี้ ดังพรรณนามานี้ ของบุคคลบางพวก มีความ
ที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์ ของคนบางพวกเป็นบาทแห่งวิปัสสนา
ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งอภิญญา ของคนบางพวก เป็นบาทแห่งนิโรธ
ของคนบางพวก มีการก้าวลงสู่ภพเป็นประโยชน์.
บรรดาบุคคล 5 ประเภทเหล่านั้น ฌานทั้ง 4 ของพระขีณาสพทั้งหลาย
มีความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นประโยชน์. จริงอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้น
1. อภิ. วิ. 35 / 352 2. อภิ. วิ. 35 / 257.