เมนู

ทั้งแยกจากท่านพระอานนท์นั้นได้ เพราะท่านพระอานนท์นั้นยังเป็นพระเสขะ
มีกิจจำต้องทำอยู่, ฉะนั้นจึงไม่อาจทำร่วมกับท่านได้, แต่เพราะวังคสัตถุศาสน์
มีสุตตะ เคยยะ เป็นต้น อะไร ๆ ที่พระทศพลแสดงแล้ว ชื่อว่าท่านมิได้รับ
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี, เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจจะเว้น
ท่านได้, ถามว่า ถ้าเมื่อไม่อาจทำอย่างนั้นได้ ถึงแม้ท่านยังเป็นพระเสขะอยู่
พระเถระควรเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมากแก่การสังคายนาพระธรรม
เมื่อมีความจำเป็นต้องเลือกอย่างนั้น เพราะเหตุไร พระเถระจึงไม่เลือกท่าน.
แก้ว่า เพราะจะเว้นคำค่อนขอดของผู้อื่น. ความจริง พระเถระเป็นผู้คุ้นเคย
ในท่านพระอานนท์อย่างยิ่งยวด. จริงอย่างนั้น แม้เมื่อศีรษะหงอกแล้ว ท่าน
พระมหากัสสป ก็ยังเรียนท่านพระอานนท์นั้นโดยใช้กุมารกวาทะว่า เด็กคนนี้
ไม่รู้จักประมาณเสียเลย ดังนี้. อนึ่ง ท่านพระอานนท์นี้ประสูติในศากยสกุล
เป็นพระภาดาของพระตถาคต เป็นโอรสของพระเจ้าอาว์, จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
จะสำคัญในพระมหากัสสปเถระนั้นเหมือนถึงฉันทาคติ จะพึงกล่าวค่อนขอดว่า
พระเถระเว้นภิกษุทั้งหลายผู้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นอเสขะเสียเป็นอันมาก ได้
เลือกเอาพระอานนท์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเป็นเสขะ. พระเถระเมื่อจะเว้นคำ
ค่อนขอดของผู้อื่นนั้นเสีย, คิดว่า การสังคายนาไม่อาจทำโดยเว้นพระอานนท์
เสีย เราจักรับเอาพระอานนท์เข้าด้วย ตามอนุมัติของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น
จึงมิได้เลือกพระอานนท์นั้นเข้าด้วย.
[

ภิกษุทั้งหลายขอให้เลือกพระอานนท์

]
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงพากันวิงวอนพระเถระ เพื่อต้องการให้เลือก
พระอานนท์เสียเองทีเดียว เหมือนอย่างที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า พวก
ภิกษุได้กล่าวคำนี้กะท่านพระมหากัสสปว่า ท่านผู้เจริญ ! ถึงท่านอานนท์นี้

จะยังเป็นเสขะ เป็นผู้ไม่ควรถึงความลำเอียงเพราะความรัก ความชัง ความหลง
ความกลัวก็จริง, ถึงกระนั้นธรรมและวินัย ที่ท่านได้เล่าเรียนในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามีมาก, ท่านผู้เจริญ ! ถ้ากระนั้น ขอพระเถระโปรดเลือก
พระอานนท์เข้าด้วยเถิด1 ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป จึงได้เลือกท่าน
อานนท์เข้าด้วย 2 รวมกับท่านนั้นที่ท่านพระมหากัสสปเลือกตามอนุมัติของ
ภิกษุทั้งหลาย 3 จึงเป็นพระเถระ 500 รูป ด้วยประการฉะนี้.
[

เลือกกรุงราชคฤห์เป็นที่ทำปฐมสังคายนา

]
ครั้งนั้นแล ภิกษุเถระทั้งหลายได้มีความปริวิตกอย่างนี้ ว่า พวกเรา
จะพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย ณ สถานที่ไหนหนอแล ครั้งนั้นแล
ภิกษุเถระทั้งหลายได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า กรุงราชคฤห์แล มีที่โคจรกว้างขวาง
มีเสนาสนะมากมาย, อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
ทำสังคายนาพระธรรมและพระวินัยเถิด, ภิกษุเหล่าอื่นไม่ควรเข้าจำพรรษาใน
กรุงราชคฤห์. 4 ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงปรึกษาตกลงกันดังนั้น.
แก้ว่า เพราะจะมีวิสภาคบุคคลบางคนเข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ แล้วพึงคัดค้าน
ถาวรกรรมของพวกเรานี้เสีย. ครั้นนั้น ท่านพระมหากัสสป จึงสวดประกาศ
ด้วยญัตติทุติยกรรม. ญัตติทุติยธรรม 5 นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าว
ไว้ในสังคีติขันธกะนั้นแล.
[

พระมหาเถระแยกกันเดินทางไปสู่กรุงราชคฤห์

]
ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระ ทราบว่า นับแต่วันที่พระตถาคต
ปรินิพพานมา เมื่อวันสาธุกีฬาและวันบูชาพระธาตุล่วงไปได้อย่างละ 7 วัน
เป็นอันล่วงไปแล้วกึ่งเดือน, บัดนี้ฤดูคิมหันต์ยังเหลืออยู่เดือนครึ่ง ดิถีที่จะเข้า
1-2-3. วิ. จุลฺ. 7/380-381. 4. สํ. นิทาน.16/258. 5.วิ. จุลฺ. 7/381.