เมนู

7. วิปัสสนุเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา.
8. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางใน
ธรรมนั้น ๆ.
9. ฌานุเปกขา อุเบกขาในฌาน.
10. ปาริสุทธุเปกขา อุเบกขาในความบริสุทธิ์.
อุเบกขาแม้ทั้ง 10 อย่าง ดังกล่าวมานี้ พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าว
ไว้แล้ว ในวรรณาแห่งภยเภรสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี
หรือในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัตถสาลินี โดยนัยอันมาแล้วในที่นั้น ๆ
และด้วยความสามารถแห่งสังเขปหรือภูมิ บุคคล จิต อารมณ์ ขันธสังคหะ เอกขณจิต
และกุสลติกะ. ก็อุเบกขา เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ย่อมทำนิทาน
แห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว.

[อรรถาธิบายลักษณะแห่งอุเบกขา]


ส่วนอุเบกขาที่ประสงค์เอาในอธิการนี้ โดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบ
ว่า มีความมัธยัสถ์ (ความเป็นกลาง) เป็นลักษณะ มีความไม่คำนึงเป็นรส
มีความไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสำรอกปีติเป็นปทัฏฐาน.
ในอธิการว่าด้วยตติยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็ฌานุเบกขานี้
โดยอรรถก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั่นเอง และฌานุเบกขานั้น ก็มีอยู่แม้ใน
ปฐมฌานและทุติฌาน เพราะฉะนั้น ฌานุเบกขานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ควรจะตรัสไว้แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ
วิหาสึ ดังนี้ มิใช่หรือ ? เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสฌานุเบกขานั้นไว้เล่า ?
เฉลยว่า เพราะมีกิจยังไม่ปรากฏชัด. จริงอยู่ กิจแห่งฌานุเบกขานั้น
ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น ชื่อว่ายังไม่ปรากฏชัด เพราะถูกปฏิปักขธรรม