เมนู

เพราะได้เห็นและได้ฟังว่ามีป่าไม้และมีน้ำ, สุข เปรียบเหมือนความสบายใจ
ของบุคคลผู้เหนื่อยในทางกันดาร เพราะได้เข้าไปสู่ร่มเงาแห่งป่าไม้
และได้บริโภคน้ำ ฉะนั้น, บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ก็คำที่พระอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์เป็นต้นนั้น
ก็เพราะปีติปรากฏอยู่ ในสมัยนั้น ๆ . ปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วย มีอยู่แก่ฌานนั้น
หรือมีอยู่ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ปีติสุขํ.
อีกอย่างหนึ่ง ปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่า ปีติและสุข เหมือนธรรม
และวินัยเป็นต้นฉะนั้น. ปีติและสุข เกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนั้น หรือมีอยู่
ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปีติและสุข เกิดแต่วิเวก แม้ดังพรรณนา
มาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ฌานเกิดแต่วิเวกฉันใด, ก็ในฌานนี้ ปีติและสุข
ย่อมเป็นของเกิดแต่วิเวกเหมือนกันฉันนั้น. อนึ่ง ปีติและสุขนั้น มีอยู่แก่
ฌานนั้น เพราะเหตุ1 ดังนี้นั้น จะกล่าวรวมด้วยบทเดียวกันเลยว่า วิเวกช-
ปีติสุขํ ดังนี้บ้าง ก็ใช้ได้. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ปีติสุขนั่นไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า สุขนี้ สหรคตด้วยปีตินี้2 ดังนี้. ก็เนื้อความ
แม้ในคัมภีร์วิภังค์นั้น พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แล.

[ฌานย่อมเผาผลาญธรรมที่เป็นข้าศึก]


บทว่า ปฐมํ คือที่แรก เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณ.
ฌานนี้ ชื่อว่า ทีแรก เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งแรก.
คุณธรรม ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เผาธรรมที่เป็นข้าศึก (มีนิวรณ์
1. วิสุทธิมรรค. 1 / 185 ไม่มี อิติ. 2. อภิ. วิ. 35 / 349.

เป็นต้น). พระโยคีทั้งหลาย ย่อมเผา (ธรรมที่เป็นข้าศึกมีนีวรณ์เป็นต้นนั้น)
ด้วยฌานนี้ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ฌาน. อธิบายว่า พระโยคีทั้งหลาย
ย่อมเผาธรรมที่เป็นข้าศึก หรือย่อมคิดถึงโคจร (คืออารมณ์สำหรับหน่วงมี
กสิณเป็นต้น). อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เพ่ง คือเข้าไป
เพ่งอารมณ์นั้นเสียเอง เพราะเหตุนั้นนั่นแล ฌานนั้น ท่านจึงเรียกว่า มีอัน
เข้าไปเพ่งเป็นลักษณะ.

[ฌานมี 2 นัย]


ฌานนี้นั้น มีอยู่ 2 อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่ง
อารมณ์) ลักขณูปนิชฌาน (เข้าไปเพ่งลักษณะ). บรรดาฌานทั้ง 2 นั้น
สมาบัติ 8 พร้อมด้วยอุปจาร ท่านเรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์คือกสิณ.
วิปัสสนามรรคและผล ท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาณ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพราะเข้าไปเพ่งลักษณะ.
จริงอยู่ บรรดาวิปัสสนามรรคและผลเหล่านี้ วิปัสสนา ย่อมเข้าไป
เพ่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น. ก็กิจคือการเข้าไปเพ่ง ด้วยวิปัสสนา
ย่อมสำเร็จด้วยมรรค เพราะเหตุนั้น มรรคท่านเรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน.
ส่วนผล ท่านก็เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งลักษณะ
ที่แท้จริงแห่งนิโรธ. แต่ในอรรถนี้ ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้น
ว่า ฌาน.