เมนู

อนุปัสสนาทั้ง 3 ให้ถึงพร้อม เปรียบเหมือนเวลาที่ลูกไก่แก่เต็มที่ ก็เพราะ
แม่ไม่ทำกิริยาทั้ง 3 ฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น ควรทราบเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้วิปัสสนา
ญาณถือเอาห้อง แล้วทำลายกระเปาะฟองคือวิชชาด้วยพระอรหัตมรรค ที่
พระองค์ได้ทรงบรรลุโดยลำดับ แล้วทรงปรบปีกคืออภิญญา จึงทรงทำให้แจ้ง
ซี่งพระพุทธคุณทั้งหมด โดยความสวัสดี ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น ทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง 3 ให้ถึงพร้อม เปรียบเหมือนแล้วเวลาที่ลูกไก่
เอาปลายเล็บเท้า และจะงอยปากกะเทาะกระเปาะฟองไข่ แล้วปรบปีกออกมาได้
โดยความสวัสดี ก็เพราะแม่ไก่ทำกิริยาทั้ง 3 ฉะนั้น.
หลายบทว่า สฺวาหํ พฺราหฺมณ เชฏฺโฐ เสฏฺโฐ โลกสฺส ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ! บรรดาหมู่สัตว์ ผู้ตกอยู่ในอวิชชาเรานั้นได้ทำลายกระเปาะ
ฟอง คือ อวิชชานั้น แล้วถึงความนับว่า เป็นผู้ที่เจริญที่สุด คือเจริญอย่าง
สูงสุด เพราะเป็นผู้เกิดแล้วโดยอริยชาติก่อนกว่าเขา เปรียบเหมือนบรรดา
ลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวที่กะเทาะกระเปาะฟองไข่ ออกมาได้ก่อนกว่าเขา ย่อม
เป็นไก่ตัวพี่ ฉะนั้น, ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าถึงความนับว่า เป็นผู้
ประเสริฐที่สุด เพราะไม่มีใครทัดเทียมได้ด้วยพระคุณทั้งปวง.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐเพราะบำเพ็ญเพียร]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งทรงประกาศความที่พระองค์ เป็นผู้เจริญ
ที่สุดและและประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยมแก่พราหมณ์อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อ
จะทรงแสดงปฏิปทา ที่เป็นเหตุให้พระองค์ทรงบรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุด
เป็นต้นนั้น จำเดิมแต่ส่วนเบื้องต้น จึงตรัสว่า อารทฺธํ โข ปน เม
พฺราหฺมณ
เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะได้สดับข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เจริญ
ที่สุดและประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยวนี้แล้ว พราหมณ์จึงเกิดความคิดอย่าง
นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงบรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐที่สุด
ด้วยปฏิปทา อะไรหนอแล ? ดังนี้ ; พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความคิด
ของพราหมณ์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า เราได้บรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุด
และประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยมนี้ ด้วยปฏิปทานี้ จึงได้ตรัสอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อารทฺธํ โข ปน เม พฺราหฺมณ
วิริยํ อโหสิ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้อที่เราเป็นผู้เจริญที่สุดและ
ประเสริฐที่สุด อย่างยอดเยี่ยมนี้ เราหาได้บรรลุด้วยความเกียจคร้าน ด้วย
ความหลงลืมสติ ด้วยความมีกายกระสับกระส่าย (และ) ด้วยความเป็นผู้มีจิต
ฟุ้งซ่านไม่. อีกอย่างหนึ่งแล เพราะเราได้ปรารภความเพียรแล้วแล เพื่อ
บรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐที่สุดนั้น คือเรานั่งอยู่แล้ว ณ
โพธิมัณฑ์ ได้ปรารภความเพียรประกอบด้วยองค์ 4 มีคำอธิบายว่า ได้
ประคอง คือให้เป็นไปไม่ย่อมหย่อน. ก็แลความเพียรนั้น ได้ชื่อว่าเป็นคุณชาติ
ไม่ย่อหย่อมเพราะเราได้ปรารภแล้วอย่างแท้จริง ทั้งมิใช่แต่ความเพียรอย่าง
เดียวเท่านั้น แม้สติเราก็ได้เข้าไปตั้งไว้เฉพาะแล้ว โดยความเป็นคุณธรรม
บ่ายหน้าตรงต่ออารมณ์ และชื่อว่าเป็นความไม่หลงลืม เพราะปรากฏอยู่เฉพาะ
หน้าทีเดียว.
สองบทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า แม้กายของเราก็เป็นของ
สงบแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความสงบกายและจิต. เพราะเมื่อนามกายสงบแล้ว
แม้รูปกาย ก็เป็นอันสงบแล้วเหมือนกัน, ฉะนั้น ในพระบาลีนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ตรัสให้พิเศษเลยว่า นามกาย รูปกาย ตรัสเพียงว่า กายสงบ
เท่านั้น.

บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็กายนั้น ชื่อว่าหาความกระสับกระส่าย
มิได้ เพราะเป็นกายอันสงบแล้วนั่นแล, มีคำอธิบายว่า เป็นกายที่ปราศจาก
ความกระวนกระวายแล้ว.
หลายบทว่า สมาหิตํ จิตฺตํ เอกคฺคํ ความว่า ถึงจิตรของเราก็ตั้ง
อยู่แล้วโดยชอบ คือดำรงมั่นดีแล้ว ได้เป็นราวกะว่าแน่นแฟ้นแล้ว, และจิต
ของเรานั้น ชื่อว่ามีอารมณ์เป็นหนึ่ง, คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ไม่มีความดิ้นรน
เพราะเป็นจิตตั้งมั่นดีนั่นแล. ข้อปฏิบัติเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งฌาน เป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยลำดับเพียงเท่านี้.


กถาว่าด้วยปฐมฌาน


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงคุณวิเศษ ตั้งต้นแต่
ปฐมณาน มีวิชชา 3 เป็นที่สุด ที่พระองค์ได้บรรลุแล้วด้วยปฏิปทานี้ จึง
ตรัสว่า โส โข อหํ ดังนี้เป็นต้น.
ในบรรดาบทเหล่านั้น ใจความแห่งบทเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วในวิภังค์นั่นแล
โดยนัยเป็นต้นว่า บรรดากามและอกุศลธรรมเหล่านั้น กามเป็นไฉน ? คือ
ความพอใจ ชื่อว่า กาม, ความกำหนัด ชื่อว่า กาม, ความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ ชื่อว่า กาม, ความดำริ ชื่อว่า กาม, ความกำหนัด ชื่อว่า กาม,
ความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริ ชื่อว่า กาม, เหล่านี้เราเรียกว่า กาม,
บรรดากามและอกุศลกรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมเป็นไฉน ? คือ ความพอใจ
ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ ความพยาบาท ความหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ความ
ฟุ้งซ่านและรำคาญ ความลังเลสงสัย. เหล่านี้เราเรียกว่า อกุศลธรรม,
พระโยคาวจร เป็นผู้สงัดแล้ว คือเงียบแล้วจากกามเหล่านี้ และจากอกุศลธรรม
เหล่านี้ ดังกล่าวมาฉะนี้, เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรนั้นเราเรียกว่า สงัด
แล้วเทียวจากกามทั้งหลาย สงบแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย* ดังนี้ แม้ก็จริง,
ถึงกระนั้น ใจความ (แห่งบทเหล่านั้น) เว้นอรรถกถานัยเสีย จะปรากฏ
ด้วยดีไม่ได้ ข้าพเจ้าจักประกาศใจความนั้น ตามอรรถกถานัยนั่นแล ต่อไป : -
ข้อนี้อย่างไรเล่า ? อย่างนี้คือ สองบทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ แปลว่า
สงัดแล้ว คือหลีกเว้นออกจากกามทั้งหลาย.
* อภิ. วิ. 35/346 บาลีเดิมไม่มี ปวิวิตฺโต.