เมนู

[ไก่ตัวออกก่อนเรียนว่าไก่ตัวพี่]


บัดนี้ เพราะฟองไข่เหล่านั้น อันแม่ไก่นั้นบริบาลอยู่ ด้วยวิธีทั้ง 3
อย่างนี้ จึงเป็นไข่ไม่เน่า แม้ยางเมือกฟองไข่เหล่านั้นที่มีอยู่ ก็จะถึงความ
สิ้นไป กระเปาะฟองไข่จะบาง ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากจะแข็ง. ลูกไก่
ทั้งหลาย (ที่อยู่ข้างในกระเปาะฟอง) ย่อมถึงความแก่ตัว แสงสว่างข้างนอก
ย่อมปรากฏถึงข้างใน เพราะกระเปาะไข่บาง เวลาแสงสว่างปรากฏอยู่นั้น ลูกไก่
เหล่านั้นใฝ่ฝันอยู่ว่า นานแท้หนอ พวกเรานอนงอปีกและเท้าอยู่ในที่คับแคบ
และแสงสว่างข้างนอก ก็กำลังปรากฏ บัดนี้ ความอยู่อย่างสบาย จักมีแก่
พวกเราในแสงสว่างนี้ ดังนี้ มีความประสงค์จะออกมา จึงเอาเท้ากะเทาะ
กระเปาะฟองไข่ยื่นคอออกมา. ต่อจากนั้นกระเปาะฟองไข่นั้น ก็แตกออกเป็น
สองเสี่ยง. ลูกไก่ทั้งหลาย ก็ออกมาสลัดปีกพลางร้องพลาง ตามสมควรแก่
ขณะนั้น. ก็บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ที่ออกมาอยู่อย่างนั้น ตัวใดออกมาก่อน
กว่าเขา ตัวนั้นเขาเรียกกันว่า ตัวพี่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มี
พระประสงค์จะยังความที่พระองค์เป็นผู้ใหญ่กว่าเขาให้สำเร็จด้วยอุปมานั้น จึง
ตรัสถามพราหมณ์ว่า บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใด พึงเอาปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปากกะเทาะกระเปาะฟองไข่ออกมาได้ โดยความสวัสดีก่อนกว่าเขา
ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุฏจฺฉาปกานํ คือบรรดาลูกไก่
ทั้งหลาย.
หลายบทว่า กินฺติ สฺวาสฺส วจนีโย ความว่า ลูกไก่ตัวนั้นควร
เรียกว่าอย่างไร ? คือ ควรเรียกว่า พี่ หรือ น้อง เล่า ? คำที่เหลือมีใจความ
ง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ควร
เรียกว่า พี่ มีอธิบายว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ลูกไก่ตัวนั้น ควรเรียกว่า
พี่.
หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า พี่ ?
แก้ว่า เพราะลูกไก่ตัวนั้น มันแก่กว่าเขา อธิบายว่า เพราะลูกไก่
ตัวนั้น เติบโตกว่าบรรดาลูกไก่ที่ออกมาภายหลังเหล่านั้น.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงเทียบเคียงข้ออุปมาแก่
พราหมณ์นั้น จึงตรัสว่า ฉันนั้นนั่นแล พราหมณ์ แม้เราก็เหมือนลูกไก่ตัวนั้น
ในบรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชา . . .
ความไม่รู้ ท่านเรียกว่า อวิชชา ในบทว่า อวิชฺชาคตาย นี้
บรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชานั้น. คำว่า ปชาย นั่น เป็นชื่อของสัตว์.
เพราะฉะนั้น ในคำว่า อวิชฺชาคตาย ปชาย นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า
บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ผู้ตกเข้าไปในภายในแห่งกระเปาะฟองคืออวิชชา.
บทว่า อณฑภูตาย ความว่า ผู้เป็นแล้ว ผู้เกิดแล้ว คือผู้เกิด
พร้อมแล้วในฟองไข่ เหมือนอย่างว่า สัตว์บางพวกผู้เกิดในฟองไข่เขาเรียกว่า
อัณฑภูตา ฉันใด หมู่สัตว์แม้ทั้งหมดนี้ ก็ฉันนั้น ท่านเรียกว่า อัณฑภูตา
เพราะความที่ตนเกิดในกระเปาะฟองไข่คืออวิชชา.
บทว่า ปริโยนทธฺาย ความว่า ผู้อันกระเปาะฟองคืออวิชชานั้น
รึงรัด คือ ผูกมัด พันไว้โดยรอบ.
บทว่า อวิชฺชณฺฑโกสมฺปทาเลตฺวา ความว่า เราได้ทำลายกระ-
เปาะฟองที่สำเร็จมาจากอวิชชานั้นแล้ว.

สองบทว่า เอโกว โลเก ความว่า ในโลกสันนิวาสแม้ทั้งสิ้น
เราผู้เดียวเท่านั้น คือไม่มีคนที่สอง.
บทว่า อนุตฺตรํ ในคำว่า อนุตฺตรํ สมฺมาสามฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ
นี้ ความว่า เว้นจากอริยมรรคอันเยี่ยมเสียแล้ว ประเสริฐกว่าธรรมทุกอย่าง.
บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วย
พระองค์เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์
เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้ ที่ปราชญ์สรรเสริญด้วย ดีด้วย.

[โพธิศัพท์หมายความถึง 4 นัย]


ต้นไม้ก็ดี มรรคก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี นิพพานก็ดี ท่านเรียกว่า
โพธิ.
จริงอยู่ ท่านเรียกต้นไม้ว่า โพธิ ในอาคตสถานทั้งหลายว่า ตรัสรู้
ครั้งแรก ที่โคนโพธิพฤกษ์ และว่า ในระหว่างแห่งต้นโพธิ์ ในระหว่าแห่ง
แม่น้ำคยา.
มรรค ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสานว่า ความรู้โพธิปักขิยธรรม
37 ประการ ในมรรคทั้ง 4.
สัพพัญญุตญาณ ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถ-
โพธิสัตว์ มีพระปัญญาประเสริฐดุจแผ่นปฐพี ทรงบรรลุพระโพธิญาณ.
พระนิพพาน ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถ-
โพธิสัตว์ ทรงบรรลุโพธิ อันเป็นอมตะเป็นอสังขตะ.
แต่ในบทว่า สมฺมาสมฺโพธึ นี้ ท่านประสงค์เอาอรหัตมรรคญาณ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ
บ้าง.