เมนู

ในอรรถวิกัปแรกนั้น มีใจความเฉพาะบทดังต่อไปนี้ : - ธรรมที่ชื่อ
ว่า ตบะ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. มีคำอธิบายว่า ย่อมรบกวน คือย่อม
เบียดเบียน. คำว่า ตบะ นี้ เป็นชื่อแห่งการทำสามีจิกรรม. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตปัสสี เพราะอรรถว่า ทรงมีตบะ. ในอรรถวิกัป
ที่สอง บัณฑิต ไม่ต้องพิจารณาถึงพยัญชนะ เรียกคนกำพร้าในโลกว่า ตปัสสี.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นความมักเผาผลาญนั้น (มีอยู่) ใน
พระองค์ เพราะพระองค์ถึงการนับว่าเป็นผู้เผาผลาญ เพราะทรงละเหล่าอกุศล
ธรรมที่เรียนว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเดือนร้อน เพราะผาผลาญชาวโลก จึง
ทรงรับรองบรรยายอื่นอีก.
ในบทว่า ตปสฺสี นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ : - อกุศล
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ตบะ เพราะอรรถว่า เผาผลาญ. คำว่า ตบะ นั่น
เป็นชื่อแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย. แม้ข้อนี้ ก็สมจริงดังพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสไว้ในคาถาว่า บุคคลผู้ทำบาป เดือดร้อนอยู่ในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อม
เดือดร้อน* ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตปัสสี เพราะอรรถว่า
ทรงเหวี่ยง ทรงสลัด ทรงละ คือทรงกำจัดตบะธรรมเหล่านั้นเสีย.

[เวรัญชพราหมณ์กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้ปราศจากครรภ์]


พราหมณ์เข้าใจว่า กรรมมีการกราบไหว้เป็นต้น ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเข้าถึงพร้อมแห่งครรภ์ในเทวโลก เพื่อได้เฉพาะ ซึ่งปฏิสนธิในเทวโลก
และเห็นกรรมนั้นไม่มีในพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า
โคดมผู้เจริญ เป็นผู้ปราศจากครรภ์. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ แม้เมื่อ
* ขุ. ธ. 25/17

แสดงโทษ เพราะการถือปฏิสนธิในท้องแห่งมารดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยอำนาจความโกรธ จึงกล่าวอยางนั้น.
ในบทว่า อปคพฺโภ นั้น มีใจความเฉพาะบท ดังต่อไปนี้ : -
พระสมณโคดม ชื่อว่า อปคัพภะ เพราะอรรถว่า ปราศจากครรภ์ อธิบายว่า
พระสมณโคดม ไม่สมควรถึงความบังเกิดยังเทวโลก. อีกอย่างหนึ่ง ครรภ์
ของพระสมณโคดมนั้นเลว เหตุนั้น ท่านจึงชื่อ อปคัพภะ. อธิบายว่า พระ
สมณโคดม ชื่อว่าเป็นผู้มีส่วนได้ครรภ์ที่เลวทรามต่อไป เพราะเป็นผู้
เหินห่าง จากครรภ์ในเทวโลก, เพราะเหตุนั้น ความอยู่ในครรภ์ ในท้อง
แห่งมารดาของพระสมณโคดมนั้น จึงเป็นการเลวบ้าง. ก็เพราะความนอนใน
ครรภ์ต่อไปของพระผู้มีพระภาคเจ้าปราศจากไปแล้ว ฉะนั้น พระองค์เมื่อทรง
พิจารณาเห็นความปราศจากครรภ์นั้น (มีอยู่) ในพระองค์ จึงทรงรับรอง
บรรยายอื่นอีก.
ก็บรรดาบทเหล่านั้น ใจความแห่งบทเหล่านี้ว่า ยสฺส โข พฺราหฺมณ
อาตึ คพฺภเสยฺยา ปุนพฺภาภินิพฺพตฺติ ปหีนา
พึงทราบอย่างนี้ :-
ดูก่อนพราหมณ์ ! ความนอนในครรภ์ในอนาคต และความเกิดในภพใหม่
ของบุคคลใด ชื่อว่า ละได้แล้ว เพราะมีเหตุอันมรรคยอดเยี่ยมกำจัดเสียแล้ว.
ก็ในอธิการนี้ ชลาพุชะกำเนิด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาด้วย
คัพภเสยยศัพท์. กำเนิดนอกนี้อีก 3 ทรงถือเอาด้วย ปุนัพภวานิพพัตติศัพท์.
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในสองบทว่า คพฺภเสยฺยา ปุนพฺภาวา-
ภินิพฺพตฺติ
นี้ อย่างนี้ว่า ความนอนแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ชื่อว่า คพฺภเสยฺยา
ความบังเกิด คือภพใหม่ ชื่อว่า ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ เหมือนอย่างว่า

แม้เมื่อกล่าวว่า วิญญาณฐิติ ที่ตั้งอื่นจากวิญญาณไป ย่อมไม่มี ฉันใด
แม้ในที่นี้ ก็ฉันนั้น ไม่พึงเข้าใจความนอนอื่นจากสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ต่อไป.
ก็ขึ้นชื่อว่า ความบังเกิดที่เป็นภพใหม่ก็มี ที่ไม่ใช่ภพใหม่ก็มี แต่ในที่นี้ประสงค์
เอาที่เป็นภพใหม่ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ความบังเกิด คือภพใหม่
ชื่อ ปุนัพภวาภินิพพัตติ.
* พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นพระธรรมิศร พระธรรมราชา
พระธรรมสวามี พระตถาคต ทรงทอดพระเนตรดูพราหมณ์ แม้ผู้ด่าอยู่ด้วย
อักโกสวัตถุ 8 มีความที่พระองค์มีปกติไม่ไยดีในรูปเป็นต้น จำเดิมแต่กาลที่มา
ถึงโดยประการฉะนี้ ด้วยพระจักษุอันเยือกเย็นด้วยพระกรุณาอย่างเดียว ทรงกำ
จัดความมืด ในหทัยของพราหมณ์ ดุจพระจันทร์เพ็ญและดุจพระอาทิตย์ ใน
สรทกาล ลอยอยู่ในอากาศอันปราศจากเมฆ ฉะนั้น เพราะพระองค์ทรงแทงตลอด
ธรรมธาตุ อันใดแล้วถึงความงามแห่งเทศนา ธรรมธาตุนั้นพระองค์แทงตลอด
ดีแล้ว ทรงแสดงอักโกสวัตถุเหล่านั้นนั่นเอง โดยประการอย่างอื่นจากปริยาย
นั้น ๆ แล้ว เมื่อจะประกาศความแผ่ไปแห่งพระกรุณาของพระองค์ ลักษณะ
แห่งตาทิคุณอันพระองค์ทรงได้แล้ว โดยความที่พระองค์มิได้ทรงหวั่นไหว
เพราะโลกธรรม 8 ความที่พระองค์มีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน และความที่พระองค์
มีอันไม่กำเริบเป็นธรรมซ้ำอีก ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้ ย่อมทราบความ
ที่ตนเป็นใหญ่ ด้วยเหตุมีความเป็นผู้มีผมหงอกบนศีรษะ มีฟันหัก มีหนังเหี่ยว
เป็นต้นอย่างเดียว แต่หารู้ไม่แล ซึ่งตนอันชาติติดตาม ชรารึงรัด พยาธิ
ครอบงำ มรณะกำจัด เป็นดุจหลักตอในวัฏฏะอันจะพึงตายในวันนี้แล้ว ถึง
ความเป็นทารกนอนหงายในพรุ่งนี้อีก ก็พราหมณ์นี้มาสู่สำนักของเราด้วยความ
* องค์การศึกษาแผนกบาลีแปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2496.

อุตสาหะใหญ่แล ขอให้การมาของพราหมณ์นั้น จงเป็นไปกับด้วยประโยชน์
เถิด ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงความที่พระองค์เป็นผู้เกิดก่อน ซึ่งหาผู้เทียมถึง
พระองค์มิได้ ในโลกนี้ จึงยังพระธรรมเทศนาให้เจริญแก่พราหมณ์โดยนัยว่า
เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ เป็นต้น. * บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถา
เป็นนิบาต ลงในอรรถคืออุปมา. ปีศัพท์ เป็นนิบาต ลงในอรรถ คือสัมภาวนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ยถา นาม พฺราหฺมณ ด้วยนิบาตทั้งสอง,
ก็ในคำว่า ฟองไข่แห่งแม่ไก่ 8 ฟอง หรือ 12 ฟอง นี้ ฟองไข่แห่งแม่ไก่
ถึงจะมีจำนวนหย่อนหรือเกินไปจากประการดังที่กล่าวแล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น
ก็ควรทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำอย่างนี้ เพราะเป็นความสละสลวย
แห่งถ้อยคำ. จริงอยู่ ถ้อยคำเช่นนั้น จัดว่าเป็นคำสละสลวย ในทางโลก.
บทว่า ตานิสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ อธิบายว่า ภเวยฺยํ
แปลว่า ไข่เหล่านั้นพึงมี.
หลายบทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมา อธิสยิตานิ ความว่า ฟองไข่
ทั้งหลายอันแม่ไก่ตัวให้กำเนิดนั้น กางปีกออกนอนกกอยู่ข้างบนแห่งฟองไข่
เหล่านั้น ชื่อว่านอนกกอยู่โดยถูกต้อง.
สองบทว่า สมฺมา ปริเสทิตานิ ความว่า เมื่อแม่ไก่ให้ฟองไข่
ได้รับอุณหภูมิตามกาลเวลาอันสมควร ชื่อว่าให้อบอุ่นโดยทั่วถึงด้วยดี. มีคำ
อธิบายว่า ทำให้มีไออุ่น.
สองบทว่า สมฺมา ปริเสวิตานิ ความว่า ฟองไข่ทั้งหลายอันแม่ไก่
ฟักถูกต้องโดยทั่วถึง ตามกาลเวลาอันสมควร. อธิบายว่า ไห้ได้รับกลิ่นตัว
แม่ไก่.

[ไก่ตัวออกก่อนเรียนว่าไก่ตัวพี่]


บัดนี้ เพราะฟองไข่เหล่านั้น อันแม่ไก่นั้นบริบาลอยู่ ด้วยวิธีทั้ง 3
อย่างนี้ จึงเป็นไข่ไม่เน่า แม้ยางเมือกฟองไข่เหล่านั้นที่มีอยู่ ก็จะถึงความ
สิ้นไป กระเปาะฟองไข่จะบาง ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากจะแข็ง. ลูกไก่
ทั้งหลาย (ที่อยู่ข้างในกระเปาะฟอง) ย่อมถึงความแก่ตัว แสงสว่างข้างนอก
ย่อมปรากฏถึงข้างใน เพราะกระเปาะไข่บาง เวลาแสงสว่างปรากฏอยู่นั้น ลูกไก่
เหล่านั้นใฝ่ฝันอยู่ว่า นานแท้หนอ พวกเรานอนงอปีกและเท้าอยู่ในที่คับแคบ
และแสงสว่างข้างนอก ก็กำลังปรากฏ บัดนี้ ความอยู่อย่างสบาย จักมีแก่
พวกเราในแสงสว่างนี้ ดังนี้ มีความประสงค์จะออกมา จึงเอาเท้ากะเทาะ
กระเปาะฟองไข่ยื่นคอออกมา. ต่อจากนั้นกระเปาะฟองไข่นั้น ก็แตกออกเป็น
สองเสี่ยง. ลูกไก่ทั้งหลาย ก็ออกมาสลัดปีกพลางร้องพลาง ตามสมควรแก่
ขณะนั้น. ก็บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ที่ออกมาอยู่อย่างนั้น ตัวใดออกมาก่อน
กว่าเขา ตัวนั้นเขาเรียกกันว่า ตัวพี่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มี
พระประสงค์จะยังความที่พระองค์เป็นผู้ใหญ่กว่าเขาให้สำเร็จด้วยอุปมานั้น จึง
ตรัสถามพราหมณ์ว่า บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใด พึงเอาปลายเล็บเท้า
หรือจะงอยปากกะเทาะกระเปาะฟองไข่ออกมาได้ โดยความสวัสดีก่อนกว่าเขา
ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุฏจฺฉาปกานํ คือบรรดาลูกไก่
ทั้งหลาย.
หลายบทว่า กินฺติ สฺวาสฺส วจนีโย ความว่า ลูกไก่ตัวนั้นควร
เรียกว่าอย่างไร ? คือ ควรเรียกว่า พี่ หรือ น้อง เล่า ? คำที่เหลือมีใจความ
ง่ายทั้งนั้น.