เมนู

เมื่อจะประกาศความที่สัตว์โลกซึ่งยังเหลือ อันพระองค์ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว
ด้วยอำนาจการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์ จนกระทั่งถึงสมมติและพวกมนุษย์ที่
ยังเหลือ ฟุ้งขจรไปแล้ว ด้วยคำว่า สเทวมนุสฺสํ (พร้อมทั้งเทวดาและ
มนุษย์). ในบททั้งหลายมีบทว่า สเทวกํ เป็นต้นนี้ มีลำดับอนุสนธิเท่านี้.
[อรรถาธิบาย สยํ ศัพท์เป็นต้น]
อนึ่ง ในคำว่า สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทต นี้พึงทราบ
วินิจฉัยดังนี้ : -
บทว่า สยํ แปลว่า ด้วยพระองค์เอง, สยํ ศัพท์นี้ เป็นศัพท์มี
ใจความที่คนอื่นจะพึงนำไปหามิได้. บทว่า อภิญฺญา ความว่า ทรงรู้ด้วย
ความรู้ยิ่ง คือด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สจฺฉิกตฺวา คือทรงทำให้ประจักษ์,
ด้วยบทว่า สจฺฉิกตฺวา นั่น เป็นอันท่านทำการห้ามกิจมีการอนุมานเป็นต้น
เสีย. บทว่า ปเวเทติ ความว่า คือทรงยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ คือให้รู้ ได้แก่
ทรงประกาศให้รู้.

[พระธรรมงามในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด]


ข้อว่า โส ธมฺมํ เทเสติ อาทิกลฺยณํ ฯ เป ฯ ปริโยสาน
กลฺยาณํ
มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ต้องสละสุขอันเกิด
แต่วิเวกอย่างยอดเยี่ยมแล้ว ทรงแสดงธรรมอยู่ ก็เพราะทรงอาศัยความกรุณา
ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แลพระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมนั้น จะน้อยหรือมากก็ตาม
ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง 3 ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็นอาทิเท่านั้น.
คืออย่างไร ? คืออย่างนี้ ความพิสดารว่า แม้พระคาถาเดียว ก็มีความงาม
ในเบื้องต้น ด้วยบาททีแรก มีความงามในท่ามกลาง ด้วยบาทที่สองและที่สาม

มีความงามในที่สุด ด้วยบาทที่สุด เพราะพระธรรมมีความงามรอบด้าน.
พระสูตรมีอนุสนธิเดียว มีความงามในเบื้องต้นด้วยคำนิทาน. มีความงามใน
ที่สุดด้วยคำนิคม. มีความงามในท่ามกลางด้วยคำที่เหลือ. พระสูตรที่มีอนุสนธิ
ต่าง ๆ มีความงามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิแรก. มีความงามในที่สุดด้วยอนุสนธิ
ในที่สุด. มีความงามในท่ามกลาง ด้วยอนุสนธิที่เหลือ ศาสนาธรรมแม้ทั้งสิ้น
มีความงามในเบื้องต้น ด้วยศีลอันเป็นอรรถของตนบ้าง มีความงามในท่าม
กลาง ด้วยสมถะและวิปัสสนา มรรคและผลบ้าง. มีความงามในที่สุด ด้วย
พระนิพพานบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยศีลและสมาธิ. มีความงาม
ในท่ามกลาง ด้วยวิปัสสนาและมรรค, มีความงามในที่สุด ด้วยผลและพระ
นิพพาน.
* อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยความตรัสรู้ดีของ
พระพุทธเจ้า มีความงามในท่ามกลาง ด้วยความเป็นธรรมดีแห่งพระธรรม
มีความงามในที่สุด ด้วยการปฏิบัติดีของพระสงฆ์.
อีกอย่างหนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยพระอภิสัมโพธิญาณ อัน
ผู้สดับศาสนาธรรมนั้นแล้ว ปฏิบัติโดยความเป็นเช่นนั้นจะพึงบรรลุ มีความ
งามในท่ามกลาง ด้วยปัจเจกโพธิญาณ มีความงามในสุด ด้วยสาวกโพธิญาณ.
อนึ่ง ศาสนธรรมนั้น เมื่อสาธุชนสดับอยู่ ย่อมนำมาแต่ความงามฝ่ายเดียว
แม้ด้วยการสดับ เพราะจะข่มนิวรณธรรมไว้ได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีความงามในเบื้องต้น เมื่อสาธุชนปฏิบัติอยู่ ก็ย่อมนำมาแต่ความงามฝ่ายเดียว
แม้ด้วยการปฏิบัติ เพราะจะนำมาแต่ความสุขอันเกิดแต่ สมถะและวิปัสสนา
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2501

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีความงามในท่ามกลาง. และเมื่อสาธุชนปฏิบัติแล้ว
โดยประการนั้น ก็ย่อมนำมาแต่ความงามเช่นเดียวกัน แม้ด้วยผลแห่งการ
ปฏิบัติ เพราะจะนำความเป็นผู้คงที่มาให้ ในเมื่อได้สำเร็จผลแห่งการปฏิบัติ
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความงามในที่สุด.
อนึ่ง มีความงามในเบื้องต้น ด้วยความบริสุทธิ์แห่งแดนเกิด เพราะ
ศาสนธรรมมีที่พึ่งเป็นแดนเกิด มีความงามในท่ามกลางด้วยความบริสุทธิ์แห่ง
อรรถ มีความงามในสุดด้วยความบริสุทธิ์แห่งกิจ. เพราะฉะนั้น สมเด็จ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงธรรมจะน้อยหรือมากก็ตาม
พึงทราบว่า ทรงแสดงครบถ้วนทั้ง 3 ประการ มีความงามในเบื้องต้นเป็น
อาทิ.

[อรรถาธิบายศัพท์ว่า สาตฺถํ สพฺยญชนํ]


ก็ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ ดังนี้ พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้ : -
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อทรงแสดงพระธรรมนี้
ชื่อว่าทรงประกาศ คือทรงแสดงศาสนาพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์ด้วย
นัยต่าง ๆ. ก็ศาสนาพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าพรั่งพร้อม
ด้วยอรรถ เพราะถึงพร้อมด้วยอรรถ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะ
ถึงพร้อมด้วยอรรถบทที่แสดง ประกาศ เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้นและบัญญัติ,
ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยพยัญชนะ เพราะถึงพร้อมด้วยอักษร บท พยัญชนะ
อาการ นุรุตติ และนิเทศ, ชื่อว่าพรั่งพร้อมด้วยอรรถ เพราะความที่ศาสน-
พรหมจรรย์เป็นต้นนั้น ลึกโดยอรรถ และลึกโดยปฏิเวธ, ชื่อว่า พรั่งพร้อม