เมนู

[สังเขปและอัทธาในปฏิจจสมุปบาท]


บรรดาองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น อวิชชาและสังขารเป็นสังเขปหนึ่ง.
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นสังเขปหนึ่ง. ตัณหา
อุปาทานและภพ เป็นสังเขปหนึ่ง. ชาติและชรามรณะเป็นสังเขปหนึ่ง. ก็ใน
สังเขป 4 นั้น สังเขปต้น เป็นอตีตัทธา. สองสังเขปกลาง เป็นปัจจุปปันนัทธา
ชาติและชรามรณะเป็นอนาคตัทธา.

[วัฏฏะและสนธิ 3 ในปฏิจจสมุปบาท]


อนึ่ง ในสังเขปต้นนั้น ตัณหาอุปาทานและภพ ย่อมเป็นอันท่านถือ
เอาแล้ว ด้วยศัพท์คืออวิชชาและสังขารนั่นแล เพราะฉะนั้น ธรรม 5 เหล่านี้
จัดเป็นกรรมวัฏในอดีต. ธรรม 5 อย่าง มีวิญญาณ เป็นต้น จัดเป็นวิปากวัฏ
ในปัจจุบัน. อวิชชาและสังขาร เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์คือตัณหา
อุปาทานและภพนั่นเอง เพราะฉะนั้น ธรรม 5 เหล่านี้จัดเป็นกรรมวัฏในกาล
บัดนี้. ธรรม 5 เหล่านี้ จัดเป็นวิปากวัฏต่อไป (ในอนาคต) เพราะองค์
ปฏิจจสมุปบาท มีวิญญาณ เป็นต้น ท่านแสดงไขโดยอ้างถึงชาติ ชรา มรณะ.
ปฏิจจสมุปบาท มืออวิชชาเป็นต้นนั้น ว่าโดยอาการมี 20 อย่าง.
อนึ่ง ในองค์ปฏิจจสมุปบาทมีสังขารเป็นต้น ระหว่างสังขารกับ
วิญญาณ เป็นสนธิหนึ่ง. ระหว่างเวทนากับตัณหา เป็นสมาธิหนึ่ง. ระหว่าง
ภพกับชาติ เป็นสนธิหนึ่ง ฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงทราบ ทรงแทงตลอด ปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีสังเขป 4 อัทธา 3 อาการ
20 สนธิ 3 โดยอาการทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้. ความรู้นั้น ชื่อว่าญาณ
เพราะอรรถว่ารู้ (โดยสภาพตามเป็นจริง) ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย ชื่อธรรมฐิติญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ธรรมเหล่านั้น ตามเป็นจริง ด้วยธรรมฐิติญาณนี้แล้ว
ทรงเบื่อหน่ายคลายความพอใจจะพ้นไปในธรรมมีอวิชชาเป็นต้นนั้น จึงได้หัก
ทำลาย กำจัดเสีย ซึ่งซี่กำทั้งหลาย แห่งสังสารจักร มีประการดังกล่าวแล้วนี้.
พระองค์ทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะทรงหักกำจักรเสีย แม้ด้วยประการ
อย่างนี้.*
* อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมควรซึ่งจีวราทิปัจจัย และบูชา
วิเศษทั้งหลาย เพราะพระองค์เป็นผู้ควรซึ่งทักษิณาอันเลิศ. เพราะฉะนั้น
ในเมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เทพและมนุษย์ผู้มเหสักข์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
จึงไม่ทำการบูชาในที่อื่น. จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทรงบูชาพระ
ตถาคต ด้วยพวงแก้วเท่าเขาสิเนรุ. อนึ่ง เทพและมนุษย์เหล่าอื่น มีพระเจ้า
พิมพิสาร และพระเจ้าโกศลเป็นต้น ก็ทรงบูชาแล้วตามกำลัง. หนึ่ง พระเจ้า
อโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ถึง 96 โกฏิ ทรงสร้างพระวิหาร 84,000
หลังในสกลชมพูทวีป ทรงพระราชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพาน
แล้ว, ก็จะกล่าวอะไรถึงบูชาวิเศษเหล่าอื่น. เพาะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า
อรหํ แม้เพราะเป็นผู้ควรซึ่งปัจจัยเป็นต้น. อนึ่ง เหล่าคนพาลผู้ถือตัวว่าเป็น
บัณฑิตพวกไร ๆ ในโลก ย่อมทำบาปในที่ลับ เพราะกลัวแต่ความติเตียน
ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมทรงกระทำดังนั้น ในบางครั้งก็หาไม่
เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า อรหํ แม้เพราะไม่มีความลับในการกระทำ
บาป. ก็ในพระนามนี้ มีคาถาประพันธ์เนื้อความดังนี้ว่า
* องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. 2495

พระมุนีนั้น เพราะความที่พระองค์
เป็นผู้ไกล และทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส
ทั้งหลาย พระองค์เป็นผู้หักกำแห่งสังสาร-
จักร เป็นผู้ควรปัจจัยเป็นต้น ย่อมไม่ทรง
ทำบาปในที่ลับ เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
จึงถวายพระนามว่า อรหํ.

[อธิบายพุทธคุณบทว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ]


อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้
ธรรมทั้งปวงโดยชอบ แต่ด้วยพระองค์เอง. จริงอย่างนั้น เพราะผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น ตรัสรู้ชอบเองซึ่งธรรมทั้งปวง คือตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ถึง โดยความเป็น
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ โดยความเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้
ตรัสรู้ธรรมที่ควรละ โดยความเป็นธรรมที่ควรละ ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
โดยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมที่ควรทำให้เจริญ โดยความ
เป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระองค์จึงตรัสว่า
สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เราได้รู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่
ควรให้เจริญ เราก็ให้เจริญแล้ว และสิ่งที่
ควรละ เราก็ละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น
พราหมณ์ เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า.*

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง แม้ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า จักษุเป็นทุกขสัจ
ตัณหาในภพก่อน อันยังจักษุนั้นให้เกิด โดยความเป็นมูลเหตุแห่งจักษุนั้น
* ขุ . สุ . 25/444.