เมนู

อีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในสวรรค์ ประพฤติสุจริตอย่างนั้น
เหมือนกัน เพราะความบริบูรณ์แห่งสุจริต เขาย่อมเกิดในสวรรค์. คำว่า
กรรมเป็นเหตุเกิดในสวรรค์นั้นของเขา เป็นกรรมภพเป็นต้น ก็มีนัยเหมือน
กันนั้น. ส่วนอีกคนหนึ่งคิดว่า จักเสวยสมบัติในพรหมโลก ย่อมเจริญเมตตา
เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะกามุปาทานเป็นปัจจัย เขาย่อมเกิดใน
พรหมโลก เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา. คำว่า กรรมเป็นเหตุเกิดใน
พรหมโลกนั้นของเขา เป็นกรรมภพเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกันนั้น. อีกคนหนึ่ง
คิดว่า จักเสวยสมบัติในอรูปภพ จึงเจริญสมาบัติทั้งหลายมีอากาสานัญจายตนะ
เป็นต้นอย่างนั้นนั่นแล เพราะความบริบูรณ์แห่งภาวนา เขาย่อมเกิดในอรูปภพ
นั้น ๆ กรรมเป็นเหตุเกิดในอรูปภพนั้นของเขา เป็นกรรมภพ. ขันธ์ทั้งหลาย
ที่เกิดแต่กรรม เป็นอุปบัติภพ, ความเกิดแห่งขันธ์ทั้งหลาย เป็นชาติ, ความ
แก่หง่อม เป็นชรา, ความแตกทำลาย เป็นมรณะแล. ในโยชนาทั้งหลาย
แม้มีอุปาทานที่เหลือเป็นมูล ก็นัยนี้.

[ธัมมัฏฐิติญาณ]


ปัญญาในการกำหนดปัจจัย โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า อวิชชานี้
เป็นตัวเหตุ สังขารทั้งหลายเกิดมาจากเหตุ อวิชชาและสังขารแม้ทั้งสองนี้
ก็เป็นเหตุสมุปปันนธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุและเกิดจากเหตุ) ชื่อธรรมฐิติญาณ.
ปัญญาในการกำหนดปัจจัย โดยนัยที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อวิชชาทั้งที่เป็น
อตีตัทธา (อดีตกาล) ทั้งที่เป็นอนาคตตัทธา (อนาคต) เป็นตัวเหตุ
สังขารทั้งหลายเกิดมาจากเหตุ อวิชชาและสังขารแม้ทั้งสองนี้ ก็เป็นเหตุสมุป-
ปันนธรรม (ธรรมที่เป็นเหตุและเกิดจากเหตุ) ชื่อธรรมฐิติญาณและ. ทุก ๆ บท
ผู้ศึกษาพึงให้พิสดารโดยนัยนี้.

[สังเขปและอัทธาในปฏิจจสมุปบาท]


บรรดาองค์แห่งปฏิจจสมุปบาทนั้น อวิชชาและสังขารเป็นสังเขปหนึ่ง.
วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา เป็นสังเขปหนึ่ง. ตัณหา
อุปาทานและภพ เป็นสังเขปหนึ่ง. ชาติและชรามรณะเป็นสังเขปหนึ่ง. ก็ใน
สังเขป 4 นั้น สังเขปต้น เป็นอตีตัทธา. สองสังเขปกลาง เป็นปัจจุปปันนัทธา
ชาติและชรามรณะเป็นอนาคตัทธา.

[วัฏฏะและสนธิ 3 ในปฏิจจสมุปบาท]


อนึ่ง ในสังเขปต้นนั้น ตัณหาอุปาทานและภพ ย่อมเป็นอันท่านถือ
เอาแล้ว ด้วยศัพท์คืออวิชชาและสังขารนั่นแล เพราะฉะนั้น ธรรม 5 เหล่านี้
จัดเป็นกรรมวัฏในอดีต. ธรรม 5 อย่าง มีวิญญาณ เป็นต้น จัดเป็นวิปากวัฏ
ในปัจจุบัน. อวิชชาและสังขาร เป็นอันท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์คือตัณหา
อุปาทานและภพนั่นเอง เพราะฉะนั้น ธรรม 5 เหล่านี้จัดเป็นกรรมวัฏในกาล
บัดนี้. ธรรม 5 เหล่านี้ จัดเป็นวิปากวัฏต่อไป (ในอนาคต) เพราะองค์
ปฏิจจสมุปบาท มีวิญญาณ เป็นต้น ท่านแสดงไขโดยอ้างถึงชาติ ชรา มรณะ.
ปฏิจจสมุปบาท มืออวิชชาเป็นต้นนั้น ว่าโดยอาการมี 20 อย่าง.
อนึ่ง ในองค์ปฏิจจสมุปบาทมีสังขารเป็นต้น ระหว่างสังขารกับ
วิญญาณ เป็นสนธิหนึ่ง. ระหว่างเวทนากับตัณหา เป็นสมาธิหนึ่ง. ระหว่าง
ภพกับชาติ เป็นสนธิหนึ่ง ฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ ทรงเห็น
ทรงทราบ ทรงแทงตลอด ปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีสังเขป 4 อัทธา 3 อาการ
20 สนธิ 3 โดยอาการทุกอย่าง ด้วยประการฉะนี้. ความรู้นั้น ชื่อว่าญาณ
เพราะอรรถว่ารู้ (โดยสภาพตามเป็นจริง) ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด.