เมนู

เวรัญชกัณฑวรรณนา


*

บัดนี้ ข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาเนื้อความแห่งบททั้งหลาย มี
บทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นอาทิ เพราะได้กล่าวไว้แล้วว่า
จักทำการพรรณนาอรรถแห่งวินัย
แสดงเนื้อความแห่งปาฐะว่า เตน เป็นอาทิ
โดยประการต่าง ๆ.

ข้าพเจ้าจักทำอรรถวรรณนาอย่างไรเล่า.

[อธิบายบทว่า เตน เป็นต้น]


บทว่า เตน เป็นคำแสดงออกโดยไม่เจาะจง. บัณฑิตพึงทราบ
ปฏินิเทศแห่งบทว่า เตน นั้น ด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งเป็นคำสรุปแม้ไม่กล่าวไว้
แต่สำเร็จได้โดยใจความในกาลภายหลัง. จริงอยู่ ความรำพึงของท่านพระ-
สารีบุตร ซึ่งเป็นเหตุแห่งการทูลวิงวอนให้บัญญัติพระวินัย สำเร็จได้ในกาล
ภายหลัง เพราะเหตุนั้น พึงทราบสัมพันธ์ในคำว่า เตน สมเยน เป็นต้นนี้
อย่างนี้ว่า ความรำพึงนั้นเกิดขึ้น โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค-
พุทธเจ้าเสด็จประทับที่เมืองเวรัญชา.
จริงอยู่ วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะแม้ในวินัยทั้งหมด คือคำว่า เตน ท่าน
กล่าวไว้ในที่ใด ๆ ในที่นั้น ๆ บัณฑิตพึงทำปฏินิเทศด้วยคำว่า เยน นี้
ซึ่งสำเร็จโดยใจความในกาลก่อนหรือภายหลัง. อุทาหรณ์พอเป็นทางวิธีที่
เหมาะตามที่กล่าวนั้นดังนี้ ภิกษุสุทินเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด ภิกษุ
* เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี ป. ธ. 9) วัดมกุฏกษัตริยาราม แปล.

ทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย มีคำ
อธิบายว่า ภิกษุสุทินเสพเมถุนธรรม เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติ.
ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความในกาลก่อน
อย่างนี้ก่อน. ปฏินิเทศ ย่อมเหมาะด้วยคำว่า เยน นี้ ซึ่งสำเร็จโดยใจความ
ในภายหลัง อย่างนี้ว่า พระธนิยะ บุตรนายช่างหม้อ ได้ถือเอาของที่เจ้าของ
เขาไม่ให้ คือไม้ทั้งหลายของพระราชา โดยสมัยใด โดยสมัยนั้น พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่กรุงราชคฤห์. เนื้อความแห่งคำว่า เตน เป็นอัน
ข้าพเจ้าจักกล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

[อธิบายบทว่า สมเยน เป็นต้น]


ส่วน สมยศัพท์ ซึ่งมีในบทว่า สมเยน นี้
ย่อมปรากฏในอรรถ 9 อย่าง คือ
สมวายะ 1 ขณะ 1 กาละ1 สมุหะ 1
เหตุ 1 ทิฏฐะ 1 ปฏิลาภะ 1 ปหานะ 1
ปฎิเวธะ 1

ก่อน
จริงอย่างนั้น สมยศัพท์มีสมวายะเป็นอรรถ ในคำทั้งหลายมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน แม้พรุ่งนี้ เราทั้งหลายพึงเข้าไปให้เหมาะกาลและความ
พร้อมกัน.* มีขณะเป็นอรรถในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย !
* ที. สี. 9/251.