เมนู

(ความตั้งใจมั่น) สมาธิ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ (ความ
รู้เห็นตามเป็นจริง), ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา
(ความเบื่อหน่าย), นิพพิทา ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ (ความสำรอก
กิเลส), วิราคะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ (ความหลุดพ้น) วิมุตติ ย่อมมี
เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ (ความรู้เห็นความหลุดพ้น), วิมุตติญาณ-
ทัสสนะ ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน (ความดับสนิทหาเชื้อ
มิได้), การกล่าว การปรึกษา กิริยานั่งใกล้ความเงี่ยโสตลงสดับ แต่ละอย่าง ๆ
มีอนุปาทาปรินิพพาน คือ ความพ้นพิเศษแห่งจิต ไม่ถือมั่น นั่นเป็นผล.*
เพราะฉะนั้น ควรทำความพยายามโดยเอื้อเฟื้อในการเล่าเรียนพระวินัย ดังนี้แล.

[คาถาสรุปเรื่อง]


ด้วยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ เป็นอันข้าพเจ้าประกาศใจความแห่ง
คาถานี้ว่า
พระวินัยปิฎกนี้ ผู้ใดกล่าวไว้ กล่าว
ไว้เมื่อใด กล่าวไว้ทำไม ผู้ใดทรงไว้ ผู้ใด
นำสืบมา และประดิษฐานอยู่แล้วในผู้ใด
ข้าพเจ้ากล่าววิธีดังนี้แล้ว ภายหลัง (จัก
พรรณนาอรรถแห่งพระวินัย)
ดังนี้
ในมาติกา ที่ข้าพเจ้าตั้งไว้ เพื่อสังวรรณนาพระนัยนั้นก่อน และการสังวรรณนา
พาหิรนิทานแห่งพระวินัย ก็เป็นอันข้าพเจ้าวรรณนาแล้ว ตามที่ได้อธิบายมา
ดังนี้แล.
พาหิรนิทานวรรณนา จบ
* วิ. ปริวาร. 8/406.