เมนู

เริ่มเรื่องจตุตถสังคายนา


โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ 68,000 รูป ประชุมกันที่ถูปาราม. อาสนะ
ของพระมหามหินทเถระ เขาปูหันหน้าไปทางด้านทิศทักษิณ. ธรรมาสน์ของ
มหาอริฏฐเถระ เขาจัดตั้งหันหน้าไปทางด้านทิศอุดร. ครั้นนั้นแล พระ
มหาอริฏฐเถระ อันพระมหินทเถระ เชื้อเชิญแล้วก็นั่งบนธรรมาสน์ โดยลำดับ
อันถึงแก่ตน ตามสมควร. พระมหาเถระ 68 รูป ซึ่งมีพระมหินทเถระเป็น
ประมุข ก็นั่งล้อมธรรมาสน์. พระกนิษฐภาดา แม้ของพระราชา พระนามว่า
มัตตาภยเถระ เป็นผู้เอาธุระการงาน (คือตั้งใจศึกษาเล่าเรียน) ร่วมกับภิกษุ
500 รูป นั่งล้อมธรรมาสน์ของพระมหาอริฏฐเถระนั้นแล ด้วยตั้งใจว่า จัก
เรียนเอาพระวินัย. พวกภิกษุแม้ที่เหลือ และบริษัทพร้อมด้วยพระราชา ก็ได้
นั่งบนที่นั่งอันถึงแก่ตน ๆ แล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพระมหาอริฏฐเถระ ได้แสดงนิทานแห่งพระวินัยว่า
โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาอันนเฬรุ-
ยักษ์สิง ใกล้เมืองเวรัญชา ดังนี้เป็นต้น. ก็แลเมื่อท่านพระอริฏฐเถระ แสดง
นิทานแห่งพระวินัยแล้ว อากาศก็ร้องคำรามดังสนั่น. สายฟ้าอันมิใช่ฤดูกาลก็
แลบแปลบปลาบ. พวกเทวดาได้ถวายสาธุการแล้ว. มหาปฐพีไหวหวั่น จนถึง
ที่สุดน้ำรองแผ่นดิน.
เมื่อปาฏิหาริย์หลายอย่างเป็นไปอยู่อย่างนั้น ท่านพระอริฏฐเถระ
ซึ่งมีพระมหาเถระขีณาสพ เจ้าคณะแต่ละคณะ 68 รูป อันมีพระมหามหินท์เป็น
ประมุข และภิกษุหกหมื่นรูปนอกจากนั้นห้อมล้อมแล้ว ได้ประกาศพระวินัย
ปิฎก อันแสดงซึ่งคุณมีพระกรุณาของพระศาสดาเป็นต้น ซึ่งกำจัดความดิ้นรน

ทางกายกรรมวจีกรรม ของเหล่าชนผู้ทำตามคำพร่ำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในท่ามกลางแห่งมหาวิหารถูปาราม ในวันปวารณาเดือนกัตติกาแรก. ก็ท่าน
พระอริฏฐเถระ ครั้นประกาศแล้ว บอกสอนแก่ภิกษุเป็นอันมาก คือให้ตั้ง
อยู่ในหทัยของภิกษุมากหลาย ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ แล้วก็ปรินิพพาน ด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
พระมหาเถระ 68 รูป แม้เหล่านั้นแล
อันมีพระมหามหินท์เป็นประมุข ผู้เอาธุระ
การงานมาประชุมพร้อมกันแล้วในสมาคม
นั้น, ทั้งหมดเป็นเจ้าคณะแต่ละคณะ เป็น
สาวกของพระธรรมราชา มีอาสวะสิ้นแล้ว
ได้บรรลุวสี มีวิชชา 3 ฉลาดในอิทธิฤทธิ์
รู้แจ้งอุดมอรรถอนุสาสน์พระราชา พระเถระ
ผู้แสวงหาคุณใหญ่แสดงแสงสว่าง (คือ
ความสว่างแห่งญาณ) ให้เห็นชัด ยังแผ่นดิน
(คือเกาะลังกา) นี้ให้รุ่งเรืองแล้ว ก็ปริ
นิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วดับไป
ฉะนั้น.

จำเนียรกาลต่อมาแต่กาลปรินิพพานแห่งพระมหาเถระเหล่านั้นลำดับ
สืบต่อกันมาแห่งอาจารย์ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้ คือ
พระมหาเถระแม้เหล่าอื่น ผู้เป็นอันเตวาสิกของพระเถระเหล่านั้น และพระเถระ
ทั้งหลาย มีพระติสสทัตตะ พระกาฬสุมนะ และพระทีฆสุมนะเป็นต้น ผู้เป็น
อันเตวาสิกแห่งอันเตวาสิกทั้งหลาย ของพระมหาอริฏฐเถระ ได้นำพระวินัย-
ปิฎกนี้มา จนถึงทุกวันนี้.

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ก็ถัดจากตติยสังคายนามา
พระเถระทั้งหลาย มีพระมหินท์เป็นต้น ได้นำพระวินัยปิฎกมาสู่เกาะนี้
พระเถระทั้งหลาย มีพระอริฏฐเถระเป็นต้น เรียนจาก (สำนัก) พระมหินท์
แล้ว ได้นำมาตลอดเวลาระยะหนึ่ง ตั้งแต่เวลาพระอริฏฐเถระเป็นต้นนั้นนำมา
พระวินัยปิฎกนั้น พึงทราบว่า ได้นำสืบมาโดยลำดับอาจารย์ ซึ่งเป็นการสืบ
ลำดับอันเตวาสิกของพระอริฏฐเถระเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง จนถึงทุกวันนี้.

[แก้บทมาติกาว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด]


บทมาติกาว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด ข้าพเจ้าจะเฉลย
ต่อไป:- พระวินัยปิฎกของบุคคลเหล่าใด ย่อมเป็นไปไม่พร่อง ทั้งโดยบาลี
ทั้งโดยอรรถ คือไม่เลอะเลือนแม้น้อยหนึ่ง เหมือนน้ำมันงาที่ใส่ไว้ในหม้อ
แก้วมณี ย่อมไม่ซึมออกฉะนั้น พึงทราบว่า พระวินัยปิฎกตั้งอยู่แล้วในบุคคล
เห็นปานนั้น ซึ่งเป็นผู้มีสติ คติ และธิติมีประมาณยิ่ง ผู้เป็นลัชชี มักมีความ
รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา.
[

อานิสงส์แห่งการเรียนพระวินัย 5 ข้อ

]
เพราะฉะนั้น เพื่อให้พระวินัยตั้งมั่น อันภิกษุผู้กำหนดรู้อานิสงส์แห่ง
วินัยปริยัติ (การเรียนพระวินัย) ใคร่ต่อการศึกษา ก็ควรเรียนพระวินัย.
ในอธิการว่าด้วยการพรรณนานิทานนั้น มีอานิสงส์แห่งวินัยปริยัติ (การเรียน
พระวินัย) ดังต่อไปนี้ : -
จริงอยู่ บุคคลผู้ฉลาดในวินัยปริยัติ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็น
มารดาบิดาของเหล่ากุลบุตร ผู้ได้ศรัทธาในพระศาสนา เพราะว่า บรรพชา
อุปสมบท ข้อปฏิบัติวัตรใหญ่น้อย ความเป็นผู้ฉลาดในอาจาระและโคจร
ของกุลบุตรเหล่านั้น เนื่องด้วยความฉลาดในวินัยปริยัตินั้น.