เมนู

ก็ท่านพระมหินทเถระ ผู้มาร่วมกับพระเถระทั่งหลาย มีพระอิฏฏิยะ
เป็นต้น ยืนอยู่อย่างนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ได้ยืนอยู่แล้วในเกาะนี้ ในปีที่
236 พรรษา นับมาแต่ปีที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน.

[ลำดับราชวงศ์ที่เสวยราชย์ในเกาะลังกาและชมพูทวีป]


ความพิสดารว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว
ในปีที่ 8 แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอชาตศัตรุราช (เสวยราชย์) . ในปีนั้นนั่นเอง
พระราชโอรสของพระเจ้าสีหกุมาร ผู้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินต้นวงศ์แห่งเกาะ
ตัมพปัณณิทวีป ทรงพระนามว่า วิชัยกุมาร เสด็จมาสู่เกาะนี้แล้ว ได้ทรง
ทำเกาะนี้ ให้เป็นที่อยู่ของมนุษย์. พระเจ้าวิชัยกุมาร (เสวยราชย์อยู่ในเกาะนี้
38 ปี)* แล้ว สวรรคตที่เกาะนี้ ในปีที่ 14 แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอุทัยภัทท์
ในชมพูทวีป. พระราชาทรงพระนามว่า บัณฑุวาสุเทพ ขึ้นครองราชย์ใน
เกาะนี้ ในปีที่ 15 แห่ง (รัชกาล) พระเจ้าอุทัยภัทท์ (ซึ่งเสวยราชย์อยู่ใน
ชมพูทวีป). พระเจ้าบัณฑุวาสุเทพ ได้สวรรคตที่เกาะนี้ ในปีที่ 21 แห่ง
(รัชกาล) พระเจ้านาคทัสสกะ (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. พระราช
กุมาร ทรงพระนามว่า อภัย ขึ้นครองราชย์ในเกาะนี้ ในปีนั้นนั่นเอง. พระ
เจ้าอภัย (เสวยราชย์อยู่) ในเกาะนี้ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในปีที่ 17 แห่ง
(รัชกาล) พระเจ้าอภัย (ผู้ครองราชย์อยู่ในคราวนั้น). พระเจ้าปกุณฑกาภัย
(ครองราชย์อยู่) ในเกาะนี้ ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ในปีที่ 16 แห่ง (รัชกาล)
พระเจ้ากาฬาโศก (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. 17 ปีเหล่านั้น
* สารตฺถทีปนี. 1/240.



รวมกันอีก 1 ปี ถัดมา จึงเป็น 18 ปี พระเจ้าปกุณฑกาภัย ได้สวรรคตใน
เกาะนี้ ในปีที่ 14 แห่ง (รัชกาล). พระเจ้าจันทรคุต (ซึ่งเสวยราชย์อยู่)
ในชมพูทวีปนั้น. (ต่อจากนั้น) พระเจ้ามุฏสีวะก็ขึ้นครองราชย์ (ในเกาะนี้)
พระเจ้ามุฏสีวะได้สวรรคตในเกาะนี้ ในปีที่ 17 แห่ง (รัชกาล) พระเจ้า
อโศกธรรมราช (ซึ่งเสวยราชย์อยู่) ในชมพูทวีปนั้น. (ต่อจากนั้น) พระเจ้า
เทวานัมปิยดิสก็ขึ้นครองราชย์ (ในเกาะนี้).
อนึ่ง เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้า
อชาตศัตรู เสวยราชย์ได้ 24 ปี. ส่วนพระเจ้าอุทัยภัทท์ เสวยราชย์ได้ 16 ปี.
(ต่อจากนั้น) พระเจ้าอนุรุทธะและพระเจ้ามุณฑะ เสวยราชย์ได้ 8 ปี.
พระเจ้านาคทัสสกะ เสวยราชย์ได้ 24 ปี. พระเจ้าสุสูนาคะ เสวยราชย์ได้
18 ปี. พระเจ้าอโศก * พระราชโอรสของพระเจ้าสุสูนาคะนั้นนั่นแล เสวยราชย์
ได้ 28 ปี. พระราชาผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน 10 พระองค์ 2 ซึ่งเป็นพระราช
โอรสของพระเจ้าอโศก1 เสวยราชย์ได้ 22 ปี. ภายหลังแต่กาลแห่งพระราชา
ผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน 10 องค์นั้น มีพระราชา 9 พระองค์3 ทรงมีพระนาม
ว่า นันทะ (ต่อสร้อยพระนามทุก ๆ พระองค์) เสวยราชย์ได้ 22 ปี เท่านั้น
พระเจ้าจันทรคุต เสวยราชย์ได้ 24 ปี. พระเจ้าวินทุสาร เสวยราชย์ได้ 28 ปี.
1. พระนามว่า พระเจ้าอโศก ทั้ง 2 แห่งนี้ ฎีภาสารัตถทีปนี และอรรถโยชนา แก้ไว้ว่า ได้แก่
พระเจ้ากาฬาโศก หรือกาลาโศกนั่นเอง. 2. พระราชาผู้เป็นพระเจ้าพี่น้องกัน 10 องค์
นั้นคือ ภัททเสน 1 โกรัณวรรณะ 1 มัคุวะ 1 สัพพัญชนะ 1 ชาลิกะ 1 อุภกะ 1 สญชัย 1
โกรัพพะ 1 นันวัฒนะ 1 และปัญจมกะ 1.
3. พระราชา 9 พระองค์ที่มีสร้อยพระนามว่านันทะ นั่นคือ อุคคเสนนันทะ 1 ปัณฑุกนันทะ 1
ปัณฑุคตินันทะ 1 ภูศปาลนันทะ 1 รัฏฐปาลกนันทะ 1 โควิสาณกนันนทะ 1 ทสสีฏิฐกนันทะ 1
เกวัฏฏกนันทะ 1 และธนนันทะ 1 นัยสารัตถทีปนี 1/244.
2. พระนามวาพระเจ้าอโศกองค์นี้ คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้า
วินทุสารหรือพินทุสารนั่นเอง. พึงดูบาลีในสมันต์ ฯ นี้ หน้า 40 และ 44.


ในที่สุด (รัชกาล) แห่งพระเจ้าวินทุสารนั้น พระเจ้าอโศกก็ขึ้นครองราชย์.
ในกาลก่อนแต่ทรงอภิเษก พระเจ้าอโศกนั้น ครองราชย์อยู่ 4 ปี. ในปีที่ 18
จากเวลาที่พระเจ้าอโศกทรงอภิเษกแล้ว พระมหินทเถระก็มายืนอยู่ที่เกาะนี้.
คำนี้ว่า พระมหินทเถระยืนอยู่ที่เกาะนี้ ในปีที่ 236 พรรษา นับมาแต่ปีที่
สมเด็จพระสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบ ตามสายราชวงศ์
(ของพระราชาในชมพูทวีป) นั่น ดังพรรณนามา ฉะนี้.

[พระเจ้าเทวานัมปิยดิสทรงพบพระมหินทเถระ]


ก็ในวันนั้น ที่เกาะตัมพปัณณิทวีป มีงานนักษัตรฤกษ์ในเชษฐมาสต้น
(คือเดือน 7). พระราชาทรงรับสั่งให้โฆษณานักษัตรฤกษ์ แล้วทรงบังคับ
พวกอำมาตย์ว่า พวกท่าน จงเล่นมหรสพเถิด ดังนี้ มีราชบุรุษจำนวนถึง
สี่หมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกไปจากพระนคร มีพระสงค์จะทรงกีฬาล่าเนื้อ
จึงเสด็จไปโดยทางที่มิสสกบรรพตตั้งอยู่. เวลานั้น มีเทวดาตนหนึ่ง ซึ่งสิงอยู่
ที่บรรพตนั้น คิดว่า เราจักแสดงพระเถระทั้งหลาย แก่พระราชา จึงแปลง
เป็นตัวเนื้อละมั่งเที่ยวทำทีกินหญ้าและใบไม้อยู่ในที่ไม่ไกล (แต่พระเถระนั้น).
พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นเนื้อละมั่งตัวนั้นแล้ว จึงทรงดำริว่า บัดนี้
ยังไม่สมควรจะยิงเนื้อ ตัวที่ยังเลินเล่ออยู่ จึงทรงดีดสายธนู. เนื้อเริ่มจะหา
ทางหนี ๆ ไปทางที่กำหนดหมายด้วยต้นมะม่วง. พระราชาเสด็จติดตามไป
ข้างหลัง ๆ แล้วเสด็จขึ้นสู่ทางที่กำหนดด้วยต้นมะม่วงนั่นเอง. ฝ่ายมฤค ก็หายตัว
ไปในที่ไม่ไกลพระเถระทั้งหลาย. พระมหินทเถระเห็นพระราชากำลังเสด็จมา
ในที่ไม่ไกล จึงอธิษฐานใจว่า ขอให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นเฉพาะเรา
เท่านั้น อย่าทอดพระเนตรเห็นพวกนอกนี้เลย จึงทูลทักว่า ติสสะ ติสสะ